ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ
Rumford's Photometer
เบนจามิน ทอมป์สัน : Benjamin Thomson
 

เกิด        วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 ที่เมืองโวเบิร์น (Woburn) แมสซาซูเซส (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา
             (United State of americal)
เสียชีวิต วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1814 ที่เมืองโอทิวอี (Auteuil) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน
   - ก่อตั้งราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution)
             - ค้นพบสาเหตุของการเกิดความร้อน
             - เครื่องวัดอุณหภูมิการนำความร้อนของผ้า
             - สร้างเครื่องวัดความเข้มของแสง หรือโฟโตมิเตอร์ ของรัมฟอร์ด (Rumford's Photometer)


          ทอมป์สัน หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เคานท์ รัมฟอร์ด (Count Rumford) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 ที่เมือง
โวเบิร์นรัฐแมสซาซูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา มารดาของทอมป์สันส่งเขาไปทำงานเป็นพนักงานเสมียนตั้งแต่อายุ 13 ปี ในร้านขาย
สินค้าแห่งหนึ่งในเมืองซาเลม (Salem) เพราะมารดาต้องการให้เขารู้จักการค้าขาย และฐานะของครอบครัวที่แร้นแค้นทอมป์สัน
ทำงานอยู่ที่ร้านแห่งนี้ได้เพียง 3 ปี เท่านั้น ร้านค้าที่เขาทำงานอยู่นั้นเป็นอันต้องปิดกิจการอันเนื่องมาจากการคัดค้านการเก็บภาษีจาก
ร้านค้าอย่างรุนแรงของรัฐบาลอังกฤษแต่ทอมป์สันก็ยังโชคดี เพราะได้รับการติดต่อจากเจ้าของร้านค้าแห่งหนึ่งที่เมืองบอสตัน
ให้เข้าไปทำงานในร้านของเขา โดยเจ้าของร้านแห่งนี้เป็นเพื่อนเก่าของเจ้านายเขา ดังนั้น ทอมป์สันจึงได้เดินทางไปยังเมืองบอสตัน
และในระหว่างนี้เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องที่เขามีความสนใจมากที่สุด คือ เรื่องดินปืน ประทัด
และจรวด และการทดลองเกี่ยวกับจรวดครั้งหนึ่งของเขาก็ทำให้เขาถูกไล่ออกจากงาน เพราะจรวดส่งเสียงดังมาก อีกทั้งเขาไม่เอาใจ
ใส่เรื่องการทำงานเท่าไรนัก

         หลังจากที่ทอป์สันถูกไล่ออกจากงานแล้ว เขามีโอกาสได้พบกับนายแพทย์คนหนึ่งชื่อจอห์น เฮย์ (John Hay) ได้ชักชวนเขาไป
ทำงานด้วย ทำให้เขามีความรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์จากนายแพทย์ผู้นี้ ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่กับนายแพทย์ผู้นี้ เขาได้ใช้เวลาว่างส่วน
หนึ่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่เขาสนใจมากที่สุด เขาได้ศึกษาวิชาฟิสิกส์จาก
เพื่อนรุ่นพี่ผู้หนึ่งชื่อว่า ลอมมิ บอล์ดวิน (Loammi Baldwin) และเข้าฟังการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัย
ฮาร์วาร์ด (Harvard University) นอกจากนี้เขาได้ร่วมมือกับบาล์ดวินทดลองวิทยาศาสตร์ ต่อมาทอมป์สันได้ลาออกจากงานของ
นายแพทย์เฮย์และทำงานเป็นครูรับจ้างสอนหนังสือไปตามที่ต่าง ๆ และได้เข้าทำงานเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองคอนคอร์ด
(Concord) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (New Hampshire) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1772 เขาได้รับเชิญให้เข้าเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่ง
หนึ่งที่เมืองรัมฟอร์ด รัฐแมสซาซูเซส จากบาทหลวงทิมอตี้วอล์คเกอร์ (Reverend Timothy Walker) ในขณะนั้นทอมป์สันมี
อายุเพียง 19 เท่านั้น และจากจุดนี้เองที่ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไป เมื่อเจอกับซาราห์ วอล์คเกอร์ (Sarah Walker) แม่หม้ายวัย
30 ปี ผู้ร่ำรวยมหาศาล ซึ่งเป็นลูกสาวของบาทหลวงที่เชิญเขามานั่นเอง ต่อมาทอมป์สันได้แต่งงานกับซาราห์และลาออกจากงาน
เนื่องจากต้องมาดูแลทรัพย์สินให้กับซาราห์

         ตระกูลวอล์คเกอร์ถือได้ว่าเป็นตระกูลที่มีฐานะร่ำรวย และมีอิทธิพลมากในเมืองรัมฟอร์ด ซาราห์ได้ใช้ความสนิทสนมกับ
ข้าหลวงของรัฐ ได้ฝากฝังให้ทอมป์สันได้เข้าทำงานเป็นที่ปรึกษาของข้าหลวงปกครองรัฐ ต่อมาอีกเพียง 6 เดือน เท่านั้น เขาได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นพันตรีแห่งกองทหารอาสาสมัครแห่งนิวแฮมป์เชียร์ อีกทั้งเป็นที่โปรดปรานของท่านข้าหลวงอย่างมากทั้งหมด
นี้เนื่องมาจากความรู้ ความสามารถของเขา ที่ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอังกฤษ ด้วยความดีความชอบต่อมาไม่นาน
เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารแห่งกองทัพบกอังกฤษ แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเขาได้รับตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยการ
ประจบสอพลอ งานอีกอย่างหนึ่งที่ทอมป์สันทำ คือ การเป็นสายลับให้กับกองทัพอังกฤษ เนื่องจากในขณะนั้นกองทัพกู้อิสระภาพ
กำลังทำการต่อต้านกองทัพอังกฤษอยู่ในปี ค.ศ. 1774 ทอมป์สันถูกจับกุมไปสอบสวนจากกองทัพกู้อิสรภาพ เนื่องจากเขาถูกต้อง
สงสัยว่าเป็นสายลับและนำความลับของกองทัพกู้อิสรภาพไปบอกแก่รัฐบาลอังกฤษ แต่กองทัพกู้อิสรภาพก็ต้องปล่อยตัวเขาออกมา
เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกเกลียดชังจากชาวเมืองเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงหนีไปอยู่ที่เมืองบอสตัน และ
ได้เข้าทำงานกับนายพลเกจ (General Gage) แม่ทัพแห่งกองทัพอังกฤษที่ทำการปกครองสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
ในขณะนั้น โดยทอมป์สันมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่มีพฤติกรรมต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ แต่การส่งเอกสารในขณะนั้นจะได้รับการ
ตรวจสอบอย่างละเอียดจากองทัพกู้อิสรภาพ แต่เอกสารของทอมป์สันสามารถผ่านมาได้อย่างสบาย เนื่องจากเขาใช้หมึกชนิดพิเศษ
ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

         ในปี ค.ศ. 1776 กองทัพกู้อิสรภาพได้ทำการยึดเมืองต่าง ๆ คืนได้เป็นผลสำเร็จหลายเมืองรวมถึงเมืองบอสตันที่ทอมป์สันหนี
ไปอยู่หลังจากที่หายป่วยจากโรคไทฟอยด์ กองทัพอังกฤษได้ถอนกำลังออกจากเมืองบอสตันกลับอังกฤษ ซึ่ง ทอมป์สันได้หนีมากับเรือ
นี้ด้วย เมื่อมาถึงกรุงลอนดอนทอมป์สันได้เข้าทำงานเป็นเลขานุการของท่านลอร์ดจอร์จ เยอเมน (Lord George Germain)
ครั้งหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ทดลองอานุภาพการระเบิดของดินปืน ทอมป์สันได้ดัดแปลงเครื่องมือทดสอบแรงระเบิด ทำให้เขาได้รู้ เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงระเบิดว่า แรงของระเบิดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับก๊าซที่เกิดจากเผาไหม้อย่างเดียว หรือจำนวนดินปืนที่ใช้ในการจุด
ระเบิด แต่ขึ้นอยู่กับความไวในการเผาไหม้ของดินปืนอีกด้วย ทอมป์สันได้นำผลงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า An Account
of Some Experiment Upon Gun Power และจากผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1781 เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
ของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London)

         ในปี ค.ศ. 1783 เขาได้รับการชักชวนจากเจ้าชายแมกซิมิเลียน (Prince Maximilian) ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารประจำ
กองทัพ เจ้าชายได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับทอมป์สันไปส่งให้กับ คาร์ล ทีโอดอร์ (Karl Theodore) ผู้ปกครองแคว้น
บาวาเรีย (Elector of Bavaria) ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในประเทศเยอรมนี แต่ก็ยังคงทำงานให้กองทัพอังกฤษอยู่ โดยทอมป์สัน
มีหน้าที่ส่งข่าวสารความเคลื่อนไหวให้กับรัฐบาลอังกฤษ ทอมป์สันเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับกองทัพของบาวาเรีย อย่างมาก
เขาได้ปรับปรุงกองกำลังที่ไร้สมรรถภาพให้มีกำลังแข็งแกร่งเช่นเดิมทอมป์สันสังเกตว่าทหารในกองทัพมีสภาพอ่อนแอไม่เข้มแข็ง
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากสาเหตุ 2 ข้อคือ เครื่องแบบทหารที่ไม่เหมาะสมกับอากาศที่ร้อนในภูมิภาคนั้น และอาหารที่ไม่มี
คุณภาพ เขาได้ค้นคว้าหาเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับทหาร และในการทดลองครั้งนี้เข้าได้สร้างเครื่องวัดอุณหภูมิการนำความร้อนของผ้า
จากผลการทดสอบพบว่าผ้า ใยสังเคราะห์ เป็นผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนที่สุด เนื่องจากสามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้า
ชนิดอื่น ส่วนผ้าขนสัตว์เป็นผ้าที่ไม่เหมาะสมที่สุดเพราะไม่สามารถระบายความร้อนได้ แต่เหมาะสมกับอากาศหนาวมากกว่า หลัง
จากนั้น เขาได้ขออนุมัติเงินจากรัฐเพื่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องแบบทหารขึ้น ทางรัฐได้อนุมัติเงินซึ่งคนงานในโรงงานแห่งนี้
ทอมป์สันได้รับคนจรจัดที่ไม่มีอาชีพเข้ามาทำงาน ส่วนบุตรหลานของคนเหล่านี้เขาได้จัดสร้างโรงเรียนเพื่อเด็กทุกคนจะได้รับการ
ศึกษาที่เท่าเทียมกัน

         ส่วนเรื่องอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ทอมป์สันได้ทำการตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิดว่าชนิดใดเหมาะสมกับการ
เลี้ยงคนจำนวนมาก เขาได้พบว่าซุปคืออาหารที่มีประโยชน์ และราคาถูกเหมาะสมกับการเลี้ยงดูคนจำนวนมาก แต่ซุปจะต้องประกอบ
ไปด้วย ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว มันฝรั่ง เกลือ ขนมปัง น้ำส้ม และน้ำ เมื่อคิดสูตรอาหารได้แล้ว ปัญหาที่ตามก็คือ เตาที่ใช้ในการปรุงอาหาร
จำนวนมาก ดังนั้นทอมป์สันจึงได้สร้างเตาซึ่งมีปล่องไฟสำหรับถ่ายเทอากาศ และช่วยในการลุกไหม้ได้ดีด้วย เรื่องต่อมาที่ทอมป์สัน
ได้ปรับปรุง คือ สภาพบ้านเรือน และโรงงานที่มืดเกินไปไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน เนื่องจากมีหน้าต่างน้อย และวัสดุที่ให้แสง
สว่างไม่มีคุณภาพพอ ทอมป์สันได้สร้างเครื่องมือสำหรับวัดความเข้มของแสงที่เหมาะสมกับการทำงานเรียกว่า "โฟโตมิเตอร์ของ
รัมฟอร์ด (Rumford's Photometer)" จากเครื่องมือชนิดนี้เขาพบว่าตะเกียงให้แสงสว่างได้ดีกว่าเทียน แต่ตะเกียงน้ำมันพืชที่
ใช้กันอยู่มักมีเขม่าเกาะที่ปล่องแก้วทำให้ได้แสงสว่างได้น้อยลง ดังนั้นทอมป์สันจึงปรับปรุงโดยการเจาะรูให้อากาศเข้าไปช่วยในการ
ลูกไหม้ ให้ดีขึ้น และมีเขม่าน้อยลง จากผลงานต่าง ๆ ที่เขาสร้างขึ้นให้กับแคว้นเบาวาเรียนเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้เขามีหน้าที่ดูแลกรมวัง และกรมตำรวจอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 ลีโอโปด
จักรพรรดิเยอรมนีสวรรคตฟรานซิสได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิและแต่งตั้งคาร์ล ทีโอดอร์ ขึ้นเป็นอุปราช และทอมป์สันในฐานะที่ปรึกษา
คนสนิทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท่านเคานท์ ชื่อว่า เคานท์ รัมฟอร์ด (Count Rumford)

         ในปี ค.ศ. 1793 เขาได้เดินทางกลับมาจากการพักผ่อนที่ประเทศอิตาลี และได้เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเรื่อง
เกี่ยวกับทฤษฎีแคลอริก (Caloric Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อนที่ว่า "ความร้อนเป็นของไหลชนิดหนึ่งที่ไม่มีน้ำหนัก
และไม่สามารถมองเห็นได้แคลอริกนี้จะไหลเข้าไปในวัตถุเมื่อวัตถุมีความน้อนและจะไหลออกเมื่อวัตถุนั้นเย็น เช่น เมื่อต้มน้ำสาเหตุ
ที่น้ำร้อนก็คือแคลอริกหรือความร้อนไหลจากไฟไปสู่น้ำ และเมื่อน้ำเย็นก็คือแคลอริกไหลออกมานั่นเอง" ซึ่งทอมป์สันไม่เชื่อถือทฤษฎี
ข้อนี้เลย เนื่องจากเขาสังเกตุพบตั้งแต่แม่เขาทำงานเป็นผู้อำนวยการสร้างปืนใหญ่ที่เมืองมิวนิค เขาได้สร้างปืนใหญ่ขึ้นเพื่อให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นและเมื่อเขาใช้สว่านเจาะรูกระบอกปืนใหญ่ที่เป็นทองเหลือ ปรากฏว่าขี้สว่านและลำปืนเกิดมีความร้อนเกิดขึ้น
แต่ขี้สว่านมีความร้อนน้อยกว่า ซึ่งตามทฤษฎีแคลกริกแสดงว่าความร้อนจะต้องไหลมาจากขี้สว่าน ดังนั้นทอมป์สันจึงทำการทดสอบ
ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ โดยการนำสว่านไปเจาะแท่งทองเหลือง จากนั้นนำขี้สว่านและแท่งทองเหลืองแช่ลงในอ่างน้ำพร้อมกัน
ปรากฏว่าเมื่อวัดอุณหภูมิจากอ่างทั้ง 2 ใบ มีอุณหภูมิเท่ากันเพราะฉะนั้นความร้อนต้องไม่ได้มาจากขี้สว่าน ทอมป์สันได้ทำการทดลอง
ต่อไป โดยการใช้น้ำหล่อขณะที่ทำการเจาะรูกระบอกปืนปรากฏว่าน้ำที่หล่อมีความร้อนมากขึ้นจะกระทั่งเดือด เขาทำการทดลอง
ซ้ำอีกหลายครั้งจนมั่นใจทอมป์สันได้สรุปสาเหตุของการเกิดความร้อนในครั้งนี้ว่า "เกิดจากการเสียดสีของสว่านและตัวโลหะคือ
กระบอกปืน และความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ ไม่ใช่เป็นสสารอย่างที่เข้าใจกันมา" แต่ผลงาน
ชิ้นนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1850 เจมส์ เพรสคอท จูล (James Prescott Joul) ได้นำหลักการอันนี้ ของทอมป์สันไปทำการทดลองเกี่ยวกับพลังงานกลที่เปลี่ยนเป็นพลังงามความร้อน ซึ่งทำให้ทฤษฎีความร้อนของทอมป์สันเป็นที่ ยอมรับไปด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาได้ประโยชน์จากการทดลองครั้งนี้คือ ในระหว่างที่เขาเจาะรูกระบอกปืนแล้วใช้น้ำหล่อขณะ
เจาะ ทำให้ปืนมีความเสียหายน้อยลง อีกทั้งได้ปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

         ในปี ค.ศ. 1795 ทอมป์สันได้เดินทางกลับประเทศอังกฤษเพื่อนำผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้ทำการทดลองลงตีพิมพ์
ในวารสารของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน โดยใช้ชื่อเรื่องว่า Proceeding of the Royal Society ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับ
ความนิยมและยกย่องมากชิ้นหนึ่งในระหว่างที่เขาอยู่ในอังกฤษเขาได้แก้ไขปัญหาเตาผิงที่มีควันมาก อีกทั้งสิ้นเปลื้องพลังงาน
ทอมป์สันได้แก้ไขปัญหาโดยการสร้างปล่องไฟ เพื่อช่วยในการระบายควัน และให้อากาศเข้ามาช่วยในการลุกไหม้ ทำให้สิ้นเปลือง
พลังงานน้อยลง แต่ทอมป์สันอยู่ในอังกฤษได้เพียงปีเศษก็ต้องเดินทางกลับแคว้นบาวาเรียอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเกิดสงครามระหว่าง
ออสเตรียและฝรั่งเศสขึ้นเมื่อเดินทางมาถึงแคว้นบาวาเรีย เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพผู้มีอำนาจเต็มในการ
บัญชาการ เขาได้แก้ไขสถานการณ์ในขณะนั้นด้วยสันติวิธีเมื่อกองทัพของทั้งสองฝ่ายยกมาถึงเขาได้ขอร้องให้กองทัพทั้งสอง ตั้งทัพอยู่นอกกำแพงเมืองคนละด้าน จากนั้นเขาก็ออกเยี่ยมเยียนทหารทั้ง 2 ประเทศ สลับกันไปคนละวัน ในที่สุดเขาก็เจรจา
ให้ทหารทั้งสองยกทัพกลับไปได้

         อีก 2 ปี ต่อมา ทอมป์สันก็ต้องเดินทางกลับประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ
เยอรมนี ในช่วงนี้เขาเกิดความท้อแท้ และต้องการใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบที่บ้านเกิดของเขาในสหรัฐอเมริกา แต่เขาก็ต้องผิดหวัง
เมื่อได้รับจดหมายตอบกลับมาว่า "รู้สึกจะเป็นการลำบากอย่างยิ่งในการที่สุภาพบุรุษผู้หนึ่งซึ่งหนีออกนอกประเทศโดยถูกกล่าวหา
ว่าเป็นจารกรรมจะกลับมาพักอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิมของตน" เขาจึงจำเป็นต้องอยู่ในอังกฤษต่อไป และในปี ค.ศ. 1801 เขาได้ร่วม
กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ไมเคิล ฟาราเดย์ และฮัมฟรี เดวี่ เป็นต้น ก่อตั้งราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution)
ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สถาบันทางวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีความสำคัญมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจาก
สถาบันแห่งนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1799 ทอมป์สันได้ก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ขึ้นที่ มิวนิคชื่อว่า สถาบันบาวาเรียนแห่งมิวนิค (Bavarian
Academy at Municah)

         ในปี ค.ศ. 1802 ทอมป์สันได้เดินทางมาอยู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้แต่งงานกับแม่หม้ายมารี ลาวัวซิเยร์ (Mary
Lavoisier) ซึ่งเป็นภรรยาของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า อังตรวน ลอเรนต์ ลาวัวซิเยร์ (Anton Laurent Lavoisier) แต่ภาย
หลังก็ต้องเลิกรากันไป ทอมป์สันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่ง ทอมป์สันเสียชีวิตในวันที่
21 สิงหาคม ค.ศ. 1814 หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว เขาได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard
University) นอกจากนี้เขาได้มอบเอกสารทางการทหารให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาระลึกถึงประเทศบ้าน
เกิดอยู่เสมอ แม้ว่าผลงานของทอมป์สันจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ แต่เขาก็ได้รับการยกย่องว่า
เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความสามารถและฉลาดปราดเปรื่องมากผู้หนึ่ง อีกทั้งยังทำงานส่วนใหญ่เพื่อประชาชน

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, November 30, 2010 10:03 AM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร