ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ
ฮัมฟรี เดวี่ : Humphrey Davy
 


เกิด        วันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 ที่เมืองเพนแซนซ์ คอร์นเวล (Penzance Cornwell) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829 ที่เมืองเจนีวา (Geneva) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
ผลงาน   - ค้นพบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide)
             - บุกเบิกการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
             - ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย (Safety Lamp)


        ก่อนหน้าที่เดวี่จะประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัยได้สำเร็จ มักเกิดการระเบิดภายในเหมืองขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากภายในเหมืองแร่ใช้
ตะเกียงแบบธรรมดาซึ่งมีประกายไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้กับก๊าซไวไฟที่อยู่ภายในเหมืองอย่างรวดเร็วและเกิดการระเบิดขึ้น
และจากเหตุการณ์นี้ทำให้กรรมกรเหมืองเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนที่รอดชีวิตก็เกิดความหวานกลัวจนไม่กล้าเข้าไปทำงาน
ภายในเหมือง ส่งผลให้อุตสาหกรรมหลายประเภทต้องหยุดชะงักลง นำความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างมาก จนกระทั่งเดวี่ได้
ประดิษฐ์ ตะเกียงนิรภัย (Safety Lamp) ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดการระเบิดภายในเหมืองแร่อีกเลย นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งทาง
ด้านวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม

        เดวี่เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 ที่เมืองเพนแซนซ์ คอร์นเวล ประเทศอังกฤษในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน บิดาของ
เดวี่เป็นช่างแกะสลักไม้ ในปี ค.ศ. 1784 เดวี่ได้เข้าเรียนขั้นต้นที่โรงเรียนเพนแซนซ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1794 พ่อของเดวี่เสียชีวิต
อีกทั้งยังทิ้งหนี้สิ้นไว้ให้เขาต้องชดใช้อีกจำนวนหนึ่งทำให้เดวี่ต้องลาออกจากโรงเรียนและหางานทำเดวี่ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วย
ปรุงยาของศัลยแพทย์อยู่หนึ่งระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือจำนวนมากรวมถึงหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ด้วย ทำให้เขามีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เดวี่ได้เริ่มทำการทดลองวิทยาศาสตร์โดยใช้ห้องทดลองของเจ้านายที่อยู่ชั้นบนสุด
ทำการทดลองในครั้งแรก ๆ เดวี่ได้ทำการทดลองตามอย่างในหนังสือเท่านั้น แต่ต่อมาเดวี่ได้ทำการทดลองในเรื่องที่เขาสนใจซึ่ง
เป็นผลที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ

         เดวี่มีโอกาสได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เจมส์ วัตต์ จูเนียร์ (James Watt Jr.) และ ดร.กิลเบิร์ต
(Dr.Gillbert) ประธานราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) ต่อมาในปี ค.ศ. 1798 เดวี่ได้เข้าทำงาน
ในตำแหน่งผู้ช่วย และผู้ดูแลห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของ ดร.โทมัส เบดดัส (Dr.Thomas Beddoes) ที่เมืองคลิฟตัน
ในระหว่างที่เดวี่ทำงานอยู่กับเบดดัส เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาเคมี การใช้ยา และวิธีการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทำให้เดวี่เป็นผู้ที่
มีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี

         ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เริ่มต้นการทดลองเกี่ยวกับสมบัติของก๊าซในการรักษาโรค และในที่สุดเดวี่ก็ได้ค้นพบสมบัติของก๊าซ
ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีพิษร้ายแรงมาก การทดลองจึงต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นเดวี่จึงได้
ทำการทดลองกับตัวเอง เมื่อเขาทดลองสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปจึงพบว่า มันทำให้เขารู้สึกสดชื่นและอยากหัวเราะ ดังนั้นเขาจึงตั้งชื่อ
ก๊าซชนิดนี้ใหม่ว่า "ก๊าซหัวเราะ" ต่อมาเขาได้พบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์เพิ่มเติมว่าเมื่อสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปมาก ๆ จะทำ
ให้หมดสติไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นจากเดวี่ได้สูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ ทำให้เขาหมด
สติไป การค้นพบครั้งนี้ของเดวี่ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการแพทย์ เนื่องจากแพทย์ได้นำก๊าซชนิดนี้มาทำให้ผู้ป่วยหมด
สติในระหว่างการผ่าตัด หรือรักษาแผลฉกรรจ์มาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดอีกต่อไป แต่ต่อมาไม่นาน
นักเดวี่ได้หยุดการทดลองไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากการทดลองในลักษณะเดียวกันนี้ ทำให้เขาล้มป่วยจากการสูดดมก๊าซที่มีพิษชนิด
ร้ายแรงเข้าไป

         จากการค้นพบสมบัติของก๊าซไนตรัสออกไซด์ทำให้เดวี่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและในปี ค.ศ. 1800 เขาได้รับเชิญให้ดำรง
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ครั้งแรกที่เดวี่พบกับรัมฟอร์ด รัมฟอร์ดยังไม่มีความ เชื่อถือในตัวเดวี่เท่าไหร่นัก เพราะเดวี่ยังดูอ่อนทั้งประบการณ์และความรู้ รัมฟอร์ดจึงขอทดสอบเดวี่ก่อน ซึ่งเดวี่สามารถ แสดงให้
รัมฟอร์ดเห็นถึงความสามารถในการแสดงปาฐกถาได้เป็นอย่างดี การที่เดวี่สามารถพูดปาฐกถาได้ดีก็เพราะเขาหัดพูดต่อหน้า
กระจกมาตั้งแต่เด็ก เมื่อรัมฟอร์ดยอมรับในตัวเดวี่แล้ว เขาได้มอบหมายงานให้กับเดวี่หลายอย่าง ได้แก่ ทำการทดลองวิทยาศาสตร์
จัดแสดงปาฐกถา และสอนหนังสือให้กับคนยากจน และด้วยความสามารถของเดวี่ ภายใน 1 ปี เขาได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็น
ศาสตราจารย์ประจำสถาบัน และผู้อำนวยการห้องทดลอง เดวี่ได้เดินทางไปปาฐกถาที่ราชบัณฑิตยสภา ก็มักจะมีคนเข้าชมกันอย่าง
หนาแน่นล้นหลามทุกครั้งไป เดวี่ได้แสดงปาฐกถาในหลายหัวข้อ หัวข้อการปาฐกถาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การฟอกหนัง
อีกทั้งการบรรยายเรื่องนี้ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกของราชสมาคมเกษตร (Agriculture of the Royal
Institution) ในปี ค.ศ. 1802 นอกจากการแสดงปาฐกถาแล้วเดวี่ยังใช้เวลาส่วนที่เหลือในการค้นคว้าทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขา
ทุ่มเทให้กับงานทดลองอย่างมาก แม้ว่าการทดลองในครั้งแรก ๆ จะล้อมเหลวอยู่บ่อยครั้ง แต่เดวี่ก็ไม่ละความพยายาม

         การค้นคว้าความลับเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อน เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แม้แต่
เดวี่เองก็ให้ความสนใจเช่นกัน เดวี่ได้ทำการทดลองหาความร้อนโดยการนำน้ำแข็งสองก้อนมาถูกัน ปรากฏว่าน้ำแข็งบริเวณที่
เสียดสีกันละลาย จากผลการทดลองเดวี่ตั้งข้อสังเกตว่า ความร้อนน่าจะเป็นตัวที่ทำให้น้ำแข็งละลาย แต่ความร้อนมาจากที่ใด จากนั้น
เดวี่จึงสร้างเครื่องสำหรับการทดลองขึ้นมา โดยมีลักษณะเป็นหลอดแก้วสุญญากาศ สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในจุดเยือกแข็งได้
จากนั้นจึงใส่น้ำแข็งลงไป 2 ก้อน โดยใช้กลไกควบคุมให้น้ำแข็ง 2 ก้อนนี้ เสียดสีกัน ปรากฏว่าเมื่อน้ำแข็งเสียดสีกันน้ำแข็งละลาย
จากผลการทดลองเดวี่สรุปได้ว่าความร้อนเป็นตัวการที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของอะตอมของสสารที่เกิด
จากการเสียดสี

         ในระหว่างนี้มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านให้ความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า พร้อมทั้งค้นพบประโยชน์ของไฟฟ้า เดวี่เป็นนัก
วิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้าเช่นกัน เดวี่ได้ทดลองโดยการนำลวดมาต่อเข้ากับขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่
ขนาดใหญ่ที่เขาพบในห้องทดลองของรัมฟอร์ด เมื่อเอาปลายของลวดทั้งสองเข้ามาใกล้ ๆ กัน ปรากฏว่าเกิดประกายไฟกระโดดข้าม
ไปมา โดยประกายไฟกระโดดมีลักษณะโค้งเล็กน้อยอีกทั้งมีแสงสว่างออกมาด้วยต่อมาเขาได้ทำการทดลองเช่นนี้ในสุญญากาศและ
ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกันจากผลการทดลองครั้งนี้ เดวี่ได้นำหลักการนี้ไปประดิษฐ์หลอดไฟ เขาตั้งชื่อหลอดไฟฟ้าชนิดนี้ว่า Arc
Light

         การทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าของเดวี่ ยังดำเนินต่อไปหลังจากประสบความสำเร็จในครังแรกเดวี่ได้ทำการทดลองแยกธาตุด้วย
กระแสไฟฟ้า ซึ่งเขานำแบบอย่างมาจากนิคอสัน ที่สามารถแยกก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ แต่เดวี่ทำการทดลองอย่างจริงจัง
และสามารถแยกธาตุได้มากกว่านิคอสันเสียอีก ธาตุที่เดวี่สามารถแยกได้ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium
hydroxide) ซึ่งเป็นของแข็ง สีขาว น้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ เมื่อถูกน้ำจะระเบิด และลุกเป็นไฟได้ อีกทั้งต้องเก็บรักษา
ไว้ในน้ำมันเนื่องจากสารชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เปลี่ยนสีสารชนิดนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในวงอุตสาหกรรม
เพราะใช้ประโยชน์ในการหาความบริสุทธิ์ของน้ำมัน และทำก๊าซเพื่อบรรจุในหลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง ผลงานที่สำคัญอีก
อย่างหนึ่ง คือ การแยกสารประกอบของน้ำได้ เดวี่พบว่าน้ำประกอบไปด้วยธาตุ 2 ชนิด คือ ออกซิเจน และไฮโดรเจน นอกจากนี้
ยังมีแมกนีเซียม แคลเซียมและโพแทสเซียม เป็นต้น

         จากผลงานการแยกธาตุด้วยไฟฟ้าของเดวี่ ในปี ค.ศ. 1812 เดวี่ได้รับพระราชทานเหรียญทองจากราชบัณฑิตยสภาแห่ง
ฝรั่งเศส (Royal Institute of France) และได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมนี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสำหรับเดว
ี่ อย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงครามกันอยู่ แต่ความสามารถของเขาก็แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์
อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ต่อมาเดวี่ได้รับพระราชทานยศอัศวิน (Knight) จากกษัตริย์

         ในปี ค.ศ. 1815 หลังจากที่เขาเดินทางกลับจากท่องเที่ยวในทวีปยุโรป เจ้าของเหมืองและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
หลายแห่งได้มาขอร้องให้ราชบัณฑิตยสภา ช่วยแก้ไขปัญหาเหมือนถ่ายหินระเบิด เนื่องจากภายในเมืองมีก๊าซที่สามารถติดไฟได้
ซึ่งคนงานเหมือนเรียกก๊าซชนิดนี้ว่า "ไฟอับ" และเมื่อก๊าซทำปฏิกิริยากับเปลวไฟทำให้เกิดการระเบิดขึ้นภายในเหมือง ซึ่งส่งผล
ให้คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์แต่ละครั้งจำนวนมาก แต่ก็ไม่สามารถเลิกใช้โคมไฟชนิดนี้ได้เนื่องจากภายในเหมืองมืดมาก และไม่มี
อุปกรณ์ชนิดอื่นทดแทน เมื่อเกิดระเบิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้กรรมกรเหมือนหวาดกลัว และไม่ยอมทำงาน ส่งผลกระทบต่อวงการ
อุตสาหกรรมอย่างมากเมื่อเดวี่เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภา และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและผลงานยอดเยี่ยมที่สุด
ในขณะนัน จึงเป็นผู้รับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหานี้ เดวี่เริ่มต้นศึกษาสาเหตุของเหมืองระเบิดว่าเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนและคาร์บอน
ซึ่งเป็นก๊าซที่ไวไฟมากเมื่อถูกเปลวไฟจะลุกไหม้และลุกลามอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเดวี่จึงออกแบบตะเกียงชนิดหนึ่งขึ้น ชื่อว่า
ตะเกียงนิรภัย หรือ ตะเกียงเดวี่ (Safety Lamps or Davy Lamps) โดยลักษณะตะเกียงของเดวี่จะล้อมรอบด้วยตะแกรง
ลวดเส้นบาง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เปลวไฟแลบออกมา และแม้ว่าก๊าซจะสามารถเข้าไปในตะเกียงได้ตะแกรงลวดก็จะป้องกันเปลวไฟ
ไม่ให้ลุกลามออกมาข้างนอกได้ แม้จะมีตะแกรงลวดกั้นตะเกียงชนิดนี้ก็ยังให้แสงสว่างได้ตามปกติ ตะเกียงนิรภัยของเดวี่สามารถ
ป้องกันเหตุการณ์เหมือนระเบิดได้เป็นอย่างดี จากผลงานชิ้นนี้เดวี่ได้รับพระราชทานตำแหน่งบาโรเนต (Baronet) และต่อมา
เดวี่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานราชบัณฑิตยสภาอีกด้วย

         เดวี่ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงตะเกียงนิรภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่วล้มป่วย หมอแนะนำให้เขาเดินทาง
ไปตากอากาศในที่ที่มีอากาศเย็นสบายกว่าที่อังกฤษ เดวี่ได้ทำตามคำแนะนำของหมด เขาได้เดินทางไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี
แต่นั้นก็ไม่ทำให้สุขภาพของเขาดีขึ้น แต่อาการกลับหนักขึ้นจนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829 ที่เมืองเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, November 30, 2010 10:03 AM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร