ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ
เจมส์ วัตต์ : James Watt
 


เกิด        วันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1735 ที่เมืองกรีนน็อค (Greenox) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1819 ที่ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน
  - พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
             - บัญญัติศัพท์คำว่า แรงม้า (horse power)

        เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนามของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้วงการ
อุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้า

        วัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน
พ่อของเขาชื่อว่า โทมัส วัตต์ (Thomas Watt) เป็นช่างไม้และดำเนินกิจการเกี่ยวกับไม่ทุกชนิด ซึ่งทำให้วัตต์ไม่ได้รับการศึกษา
มากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งความฉลาดและ
มักชอบเรียนรู้ในสิ่งแปลก ๆ อยู่เสมอ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องชาวไม้ที่เขาได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อของเขาด้วย เขายังเคย
ช่วยงานในร้านของบิดาอยู่ระยะหนึ่งทำให้เขามีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดี เขาทำงานอยู่กับบิดาได้ไม่นาน
เขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตที่จำเจซ้ำซาก

        ต่อมาในปี ค.ศ. 1754 ขณะที่เขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เดินทางไปยังเมืองกลาสโกว ์(Grassgrow) เพื่อหางานทำในที่สุด
เขาก็ได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่งส่วนเวลาช่วงเย็นหลังจากเลิกงานเขาได้ไปเรียนต่อทำให้สุขภาพ
เขาอ่อนแอลงอย่างมาก เพราะกลางวันต้องทำงาน ส่วนกลางคืนก็ต้องเรียนอีก ทำให้เขาต้องลาออกจากงาน และเดินทางไปยังกรุง
ลอนดอน เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างจริงจัง วัตต์ได้สมัครเข้าเรียนเกี่ยวกับการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในระหว่างที่วัตต์อยู่ที่
กรุงลอนดอน ได้เกิดสงครามยุโรปขึ้น รัฐบาลมีคำสั่งให้เกณฑ์ชายหนุ่มข้าฝึกทหาร แต่วัตต์ไม่ชอบเป็นทหาร จึงได้เดินทางกลับไป
ที่เมืองกรีนน็อคอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1756 เขามาถึงบ้านเขาต้องการจะเปิดร้านรับซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ แต่เขาขาดคุณสมบัติ
เนื่องจากกฎหมายของเมืองนี้ผู้ที่จะประกอบการค้าได้นั้นต้องจะทะเบียนกับสมาคมพ่อค้า ซึ่งผู้ที่จะสามารถจดทะเบียนได้ต้องเป็น
บุตรของพ่อค้า หรือต้องเคยทำงานในร้านค้ามาก่อน ทำให้วัตต์ต้องหางานอย่างอื่นทำ ในที่สุดวัตต์ก็ได้งานทำในตำแหน่งช่างซ่อม
เครื่องมือในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ โดยได้รับค่าจ้างปีละ 35 ปอนด์

        วันหนึ่งเครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งานได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักร
ไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยและจากเหตุนี้เองทำให้วัตต์มีความคิดที่จะสร้างเครื่องจักรไอน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ
ดีกว่าของนิวโคแมนที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งทำงานก็ล่าช้า ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยได้รับการ
สนับสนุนด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค (John Roebuck) วัตต์ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำโดยนำเครื่องยนต์ทั้งหมดมาใส่
ไว้ใน โลหะทรงกระบอกเพื่อทำให้เครื่องจักรมีขนาดเล็กลง แล้วต่อท่อให้ไอน้ำเข้าในในเครื่องจักรโดยตรง ซึ่งไอน้ำจะเข้าไปดัน
ลูกปืน เพื่อให้เครื่องทำงาน ในระยะแรกเครื่องจักรไอน้ำชนิดนี้ยังมีปัญหา เพราะเมื่อไอน้ำกลายเป็นน้ำ จะทำให้ไอน้ำที่ส่งเข้าไป
ใหม่ กลายเป็นหยดน้ำไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ผลไม่เต็มที่ หรือไม่ก็หยุดทำงานไปเลยทำให้โรบัคไม่สนับสนุน
เงินทุนให้เขา เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าวัตต์จะประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก
แมทธิว โบลตัน (Mathew Bolton) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม

        วัตต์หาวิธีแก้ปัญหาอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดเขาก็สามารถแก้ปัญหาได้ในปี ค.ศ.1776 วิธีแก้ปัญหาของเขา คือ การต่อท่อที่ให้
ไอน้ำเข้าไปใหม่แยกออกมาต่างหาก สร้างท่อที่ให้ไอน้ำออกมาและกลายเป็นหยดน้ำอีกท่อหนึ่งซึ่งทำให้เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์มี
ประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าวัตต์จะไม่ใช่บุคคลแรกที่สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ
แต่เครื่องจักรไอน้ำของ วัตต์ก็มีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมมากกว่า เมื่อวัตต์สามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เขาได้นำผลงาน
ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและร่วมมือกับโบลตันผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกจำหน่าย เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์เป็นที่นิยม อีกทั้งทำ
ให้วงการอุตสาหกรรมทั้งในยุโรป และสหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรของวัตต์ยังเป็นต้นแบบของ
เครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบันอีกด้วย

        วัตต์ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้น เขายังประดิษฐ์เครื่องมืออีกหลายชนิดในปี ค.ศ. 1784 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่อง
จักรช่วยตีเหล็กและในปี ค.ศ.1785 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย วัตต์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับ
ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้วงการอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, November 30, 2010 10:03 AM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร