ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ
ปิแอร์ คูรี่ : Pierre Curie
 

เกิด        วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1859 ที่กรุงปารีส (paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน   - ค้นพบคลื่นเสียง
             - ค้นพบธาตุเรเดียม

        เมื่อพูดถึงปิแอร์ คูรี่ แล้วอาจโด่งดังไม่เท่ากับมารี คูรี่ ภรรยาของเขา แต่ปิแอร์ก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการค้นพบธาตุเรเดียมด้วย
เพียงแต่เขาเสียชีวิตไปก่อน การค้นพบของเขาทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับมารี อีกทั้งเขายังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมาก
ในการค้นพบประโยชน์ของธาตุเรเดียม

         ปิแอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษา
ขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonn University) หลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้า
ฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ.1878
ปิแอร์ก็ได้รับรางวัลไซแอนซิเอท (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงาน
ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

         ต่อมาในปี ค.ศ.1880 ปิแอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างผลึกหินควอทซ์ กับเกลือโรเชลลี ภายใต้ความกดดันสูง จากผลการทดลองเขาพอว่า ความกดดันมีผลกระทบต่อความต่างศักย์ ซึ่งปิแอร์เรียกสั้น ๆ ว่า "ปิแอร์โซ
อิเล็กทริคซิตี้ (Pierre so Electricity)" และเขาได้พบเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเพิ่มค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าให้มากขึ้น จะทำให้
พื้นผิวของผลึกเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่คนปกติจะได้ยิน แต่ก็มีประโยชน์ เพราะต่อมา
นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงหลายชนิดได้แก่ ไมโครโฟน และเครื่องบันทึกเสียง
เป็นต้น

         ในปี ค.ศ.1895 ปิแอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นกับแม่เหล็ก จากผลการทดลองปิแอร์พบว่าที่อุณหภูมิระดับ
หนึ่ง แม่เหล็กไม่สามารถแสดงสมบัติออกมาได้ โดยปิแอร์เรียกอุณหภูมิระดับนี้ว่า "คูรีพอยท์ (Cury Point)" และจากการทดลอง
ครั้งนี้ เขาได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า อิเล็กโทรมิเตอร์ (Electrometer) สำหรับใช้ในการทดลองครั้งนี้ด้วย จากผลงาน
ชิ้นนี้เขาได้รับมอบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการประจำห้องทดลองเคมี และฟิสิกส์
ประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับมารียา สโคลดอฟสกา (Marja Sklodowskaป และแต่งงานกัน
ในปี ค.ศ.1895

         ในขณะที่ปิแอร์มีชื่อเสียง และประสบความสำเร็จทั้งด้านการงานและครอบครัวเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ในขณะที่เขา
กำลังเดินไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อตรวจต้นฉบับ ได้มีรถบรรทุกคันหนึ่งวิ่งเข้ามาขนเขาล้มลง และทับศีรษะ ทำให้ปิแอร์เสียชีวิตทันที
ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, November 30, 2010 10:03 AM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร