Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โอ้โห! สุดยอดการค้นพบระดับโลก "กิ้งกือมังกรสีชมพู" อยู่ในไทย  

โอ้โห! “กิ้งกือมังกรสีชมพู” สัตว์ตัวจิ๋วแต่แจ๋ว เพราะสร้างชื่อให้ประเทศไทยด้วยการติดอันดับโลกของสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในโลก นักวิจัยเผยพบในไทยเพียงแห่งเดียว แต่ไม่ระบุจังหวัด หวั่นถูกมนุษย์จับไปขายต่างชาติที่พิสมัยสัตว์แปลกพิสดาร หวังคนสนใจกิ้งกือไส้เดือนมากขึ้นเพราะเป็นสัตว์หน้าดินที่มีประโยชน์ยิ่ง
       
       ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) แถลงข่าวสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของไทยที่ติดอันดับโลกเป็นครั้งแรก จากการค้นพบ "กิ้งกือมังกรสีชมพู" (Shocking Pink Millipede) โดยกลุ่มสมาชิกชมรมคนรักกิ้งกือ และศึกษาวิจัยจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติโดยคณะวิจัยของ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2551 ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์และสื่อมวลชนอื่นๆ ได้ร่วมในงานแถลงด้วย
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ เปิดเผยว่า คนทั่วไปมักไม่ค่อยชอบและไม่สนใจสิ่งมีชีวิตจำพวกกิ้งกือและไส้เดือน และมีไม่น้อยที่สัตว์เหล่านี้ถูกคนส่วนใหญ่เหยียบตายอย่างไม่ใยดี เพราะไม่เป็นคุณค่าและประโยชน์ของพวกเขา อีกทั้งบางส่วนยังเข้าใจผิดว่ากิ้งกือกัดคนได้ แท้ที่จริงแล้วไม่มีกิ้งกือชนิดไหนที่กัดคนจนเป็นอันตรายได้ อีกทั้งกิ้งกือไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงเกิดการรมกลุ่มเป็นชมรมคนรักกิ้งกือและพยายามเปลี่ยนทัศนคติของคนทั่วไปให้เห็นความสำคัญของกิ้งกือด้วย ซึ่งศ.ดร.สมศักดิ์ ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกและอุปนายกของชมรม
       
       กิ้งกือมังกรสีชมถูกค้นพบโดยสมาชิกในชมรมคนรักกิ้งกือเมื่อเดือน พ.ค. 2550 พบในบริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง และพบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เมื่อ ศ.ดร.สมศักดิ์ นำมาศึกษาวิจัยภายใต้โครงการวิจัยกิ้งกือและไส้เดือนดิน และร่วมกับ ศ.เฮนริค อิงฮอฟ (Henrik Enghoff) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือมือหนึ่งของโลกแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พบว่าเป็นกิ้งกือชนิดใหม่ของโลกและให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดสโมไซเตส เพอร์พิวโรเซีย (Desmoxytes purpurosea) และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ ซูแทกซา (Zootaxa) ตั้งแต่ปี 2550
       
       กระทั่งเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) สหรัฐฯ ประกาศให้กิ้งกือมังกรสีชมพูเป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาและการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐฯ ซึ่งได้อันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
       
       เหตุที่ได้ชื่อว่ากิ้งกือมังกรสีชมพูนักวิจัยอธิบายกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์และสื่อมวลชนว่า เพราะอยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกรหรือพาราดอกโซโซมาติดี (Paradoxosomatidae) และมีสีชมพูสดใสแบบช็อคกิงพิงค์ (shocking pink) และมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนามคล้ายมังกร พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู
       
       อย่างไรก็ดี ศ.ดร.สมศักดิ์ เตือนว่าสารไซยาไนด์ที่กิ้งกือมังกรสีชมพูขับออกมามีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะเป็นอันตรายต่อคนได้ แต่ทางที่ดีก็ควรป้องกันไว้ก่อนโดยไม่ไปแตะต้องหากพบเห็นในธรรมชาติ
       
       ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ถามย้ำอีกครั้งว่าสถานที่ค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพูแห่งแรกอยู่ในจังหวัดใด นักวิจัยบอกว่าไม่อยากระบุให้ชัดเจน เนื่องจากกังวลว่ากิ้งกือชนิดนี้จะถูกรบกวนจากกลุ่มบุคคลที่ลักลอบจำหน่ายสัตว์แปลกประหลาดหายาก ศ.ดร.สมศักดิ์ บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่ากิ้งกือมังกรสีชมพูนี้ถูกตั้งราคาขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตไว้ประมาณ 30 ยูโร หรือราว 1,500 บาท
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้าการค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพู นักวิจัยในโครงการวิจัยกิ้งกือและไส้เดือนดิน เคยพบกิ้งกือชนิดใหม่ของโลกมาแล้วหนึ่งชนิดคือกิ้งกือหินปูนใน จ.สระบุรี เมื่อปี 2549 ซึ่งขณะนี้ก็กำลังศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากกิ้งกือในการทำปุ๋ยอินทรีย์อยู่ด้วย
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์อีกว่าการค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพูติดอันดับโลกจะสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสามารถ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์อยู่อีกมาก
       
       ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผอ.โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (บีอาร์ที) กล่าวเพิ่มเติมว่า สัตว์หน้าดินขนาดเล็กอย่างกิ้งกือและไส้เดือนช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุอาหารต่างๆ ได้ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติ และมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศน์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานที่สร้างความมั่นคงให้กับดิน น้ำ และระบบนิเวศน์ เป็นฐานในการพัฒนาด้านการเกษตรที่จะพัฒนาประเทศชาติต่อไป
       
       “อยากให้การค้นพบสัตว์เล็กๆ อย่างกิ้งกือมังกรสีชมพูเป็นสิ่งที่จุดประกายให้คนหันมาสนใจและใส่ใจกับทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น” ศ.ดร.วิสุทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร