Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิทย์ฟันธง! เครียดมากทำให้ผมหงอกก่อนวัย  

การศึกษาครั้งใหม่ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature​ แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ความเครียดสามารถทำให้เส้นผมของคนเราเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาวได้ นักวิจัยค้นพบกระบวนการทางเคมีที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีผมในช่วงเวลาที่เกิดความเครียดได้ กระบวนการนี้เชื่อมโยงกับปฏิกิริยาที่เรียกว่า "จะสู้หรือจะหนีดี" (fight-or-flight) ของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย Ya-Chieh Hsu ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาฟื้นฟูสภาวะเสื่อมและสเต็มเซลล์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า การศึกษาครั้งใหม่นี้เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่แสดงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความเครียดและผมหงอก นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูเพื่อดูว่าความเครียดมีผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดในรูขุมขนได้อย่างไร? นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ปกติคนส่วนใหญ่มีรูขุมขนบนหนังศีรษะประมาณ 100,000 รูขุมขน ซึ่งมีหน้าที่สร้างเมลาโนไซต์ (melanocyte ) หรือเซลล์สร้างสีผม เมื่อคนเราอายุมากขึ้น การผลิตเมลาโนไซต์ก็จะลดลง จึงทำให้ผมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือหงอกตามธรรมชาติ โดยนักวิจัยคาดเดาว่าความเครียดอาจส่งผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดเมลาโนไซต์ดังกล่าวได้ อีกสมมติฐานหนึ่งชี้ว่า อาจจะเป็นฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเพิ่มขึ้นในร่างกายตลอดเวลาในขณะที่เกิดความเครียดก็อาจเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองล่าสุดระบุว่าสมมติฐานทั้งสองอย่างอาจจะผิด เพราะหนูที่ขาดเซลล์เมลาโนไซต์ หรือถูกตัดต่อมผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลทิ้งไป ก็ยังคงมีขนสีขาวและสีเทาแซมขึ้นมาอยู่ดี นักวิจัยชุดนี้จึงใช้วิธีใหม่ด้วยการทดสอบระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยา “fight-or-flight” ในสภาวะคับขัน ระบบประสาทซิมพาเทติกนี้ประกอบด้วยชุดของเส้นประสาทที่แผ่ขยายไปทั่วร่างกายรวมถึงผิวหนัง เมื่อหนูถูกทำให้ได้รับความเจ็บปวดในระยะสั้น หรืออยู่ในห้องทดลองที่มีสภาพตึงเครียด เส้นประสาทเหล่านี้จะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา เรียกว่า norepinephrine ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ให้ผลิตเม็ดสีออกมามากขึ้น กระบวนการผลิตที่มากเกินไปนี้ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเซลล์สร้างสีก่อนเวลาอันควร ศาสตราจารย์ Ya-Chieh Hsu กล่าวว่าการทดลองนี้ยืนยันความเชื่อของนักวิจัยที่ว่าความเครียดเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย และการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าผลกระทบนี้ยังส่งผลในระยะยาว เพราะเมื่อเซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างเม็ดสีทั้งหมดหายไป ก็จะไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้อีกเป็นการถาวร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การวิจัยนี้อาจนำไปสู่การบำบัดรักษาแบบใหม่ในอนาคต รวมไปถึงการขยายผลของการศึกษาวิจัยเพื่อดูว่า ความเครียดส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกายซึ่งนำไปสู่กระบวนการชราภาพได้หรือไม่ Voice of America 29.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร