Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“โจเซลีน เบลล์” ผู้พบพัลซาร์ส่งต่อแรงบันดาลใจสู่เส้นทางนักวิทย์  

“โจเซลีน เบลล์ เบอร์เนล” นักดาราศาสตร์หญิงผู้พบสัญญาพัลซาร์ เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจสร้างฝันสู่เส้นทางนักวิทยาศาสตร์ พร้อมร่วมเสวนานักวิทยาศาสตร์หญิงซึ่งสะท้อนมุมมองว่า เพศไม่ใช่ตัวกำหนดบริบททางสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ กรุงเทพฯ (British Embassy Bangkok) บริติชเคานซิล (British Council) ลอรีอัล ประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ภาพสะท้อนบริบทนักวิทยาศาสตร์หญิงในยุคปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 30 ม.ค.63 ณ โรงแรมคอมพาส สกายวิว สุขุมวิท 24 การเสวนาดังกล่าว ท่านผู้หญิงโจเซลีน เบลล์ เบอร์เนล (Dame Jocelyn Bell Burnell) นักดาราศาสตร์หญิงผู้พบสัญญาณพัลซาร์ (Pulsar) เป็นคนแรกของโลกได้ร่วมเสวนา และร่วมเล่าประสบการณ์ผ่านการทำงานทางด้านดาราศาสตร์ร่วม 50 ปี และในขณะที่เธอยังเป็นนักศึกษาก็ได้ค้นพบปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกในขณะนั้น โจเซลีน เบลล์ได้อธิบายเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนั้นไว้ว่า พัลซาร์เป็นดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองเร็วมาก และเปล่งพลังงานในทิศทางชี้มายังโลกเป็นจังหวะซ้ำๆ กัน พัลซาร์จะเกิดขึ้นหลังจากเกิดซูเปอร์โนวา (Supernova) เมื่อดาวฤกษ์มวลมากระเบิด จะเหลือแก่นกลางดาวที่เคยอยู่ภายใต้สภาวะความดันสูงที่กลายเป็นวัตถุที่หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว และมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูงมาก พัลซาร์จะปล่อยลำรังสีที่เราจะตรวจพบได้เมื่อลำรังสีชี้ในทิศทางพุ่งมายังโลกเท่านั้น การที่ดาวนิวตรอนหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลำรังสีกวาดผ่านโลกเป็นสัญญาณที่มีจังหวะซ้ำๆ กัน คล้ายสัญญาณชีพจร (Pulse) ดังนั้น พัลซาร์จะดูคล้ายคลึงกับการมองเห็นแสงที่สาดส่องจากประภาคาร ที่จะปรากฏสว่าง-มืดสลับกันเป็นจังหวะ ช่วงเวลาระหว่างสัญญาณแต่ละครั้งที่มาจากพัลซาร์จะมีตั้งแต่ 0.0014 – 8.5 วินาที หรือจะกล่าวได้ว่าพัลซาร์เหล่านี้หมุนรอบตัวเองเร็วมากเมื่อเทียบกับโลกที่ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง ในบางกรณีนั้นพัลซาร์จะหมุนรอบตัวเองได้มากกว่า 500 ครั้งใน 1 วินาที และวัตถุเหล่านี้มีขนาดความกว้างเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตร แต่มีมวลพอๆ กับดวงอาทิตย์ พัลซาร์ดวงแรกถูกค้นพบใน พ.ศ.2510 โดย โจเซลีน เบลล์ เบอร์เนล และแอนโทนี ฮูวิช (Antony Hewish) แต่เนื่องจากสภาพทางธรรมชาติของพัลซาร์ ทำให้กลุ่มผู้ค้นพบรู้สึกประหลาดใจว่า สัญญาณพัลซาร์ที่ตรวจพบเป็นสัญญาณจากอารยธรรมนอกโลกหรือไม่ พวกเขาจึงตั้งชื่อพัลซาร์ดวงแรกว่า LGM-1 (LGM ย่อมาจาก Little Green Men) แต่ในปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสัญญาณดังกล่าวไม่ได้มาจากอารยธรรมนอกโลก พร้อมกันนี้ โจเซลีน เบล์ ยังได้ร่วมเสวนากับนักวิทยาศาสตร์หญิงในไทยเกี่ยวกับภาพสะท้อนบริบทนักวิทยาศาสตร์หญิงในยุคปัจจุบัน ซึ่งมี ดร.อัญชลี มโนนุกุล หัวหน้าทีมห้องปฏิบัติการวิจัยโลหะขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. รศ.ดร.สุชานา ชวนิชย์ รองกรรมการผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมเสวนา นักวิทยาศาสตร์หญิงได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลว่า ในปัจจุบันจำนวนนักศึกษาหญิงที่สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์มีจำนวนมากคิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่กลับกันกับในสมัยก่อน ที่มีจำนวนนักศึกษาเพศหญิงที่สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์เพียงร้อยละ 20 ของการรวบรวมสถิติทั้งหมด และในสมัยนี้บริบทของนักวิทยาศาสตร์หญิงได้พัฒนาเป็นที่ประจักษ์ว่า เพศไม่ใช่ตัวกำหนดบริบททางสังคมอีกต่อไป “การที่เราเป็นเพศหญิงแต่สามารถพิสูจน์ความสามารถผ่านผลงานและการสั่งสมประสบการณ์นั้นเป็นเรื่องที่ดีและควรค่าแก่การได้รับการยอมรับและนับถือ ซึ่งในปัจจุบันนี้ การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และหลายงานวิจัยที่เกิดขึ้น ก็เกิดจากนักวิจัยหญิงที่ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์ในองค์กร ผ่านหลายๆ โครงการวิจัยในองค์กรใหญ่ระดับประเทศ” ข้อสรุปจากวงเสวนาของนักวิทยาศาสตร์ ทว่าการร่วมเสวนาของ โจเซลีน เบลล์ ไม่เพียงแค่ส่งแรงบันดาลใจให้เฉพาะนักศึกษาหญิงสู่ความฝันในการเป็นนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจไปถึงผู้ที่มีความฝันและความมุ่งมั่นในด้านวิทยาศาสตร์ หรือเรื่องอื่นๆ เพราะการที่ประเทศหรือแม้แต่องค์กรหนึ่งจะพัฒนาจนประสบความสำเร็จนั้น ต้องเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน และปัจจัยหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ องค์กรเหล่านั้นต้องมีผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และอยากจะเห็นความสำเร็จขององค์กร จนนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศในที่สุด Manager online 31.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร