Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สูตรยาหมอไทยรักษาโรคจาก "ไวรัสโคโรนา 2019" ได้ยังไง  

นับเป็นข่าวที่สร้างความหวัง ท่ามกลางการระบาดของ "ไวรัสโคโรนา 2019" เมื่อหมอไทยผสมสูตรยาที่มีใช้อยู่แล้ว รักษาจนผู้ป่วยวิกฤตหนักฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยาจากแพทย์โรงพยาบาลราชวิถีจนหายดีนั้นเป็นผู้ป่วยชาวจีนที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลหัวหิน และมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยรายอื่น โดยแพทย์ได้ใช้ยาขนานที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าผู้ป่วยรายอื่น แต่ไม่ใช่สูตรยาใหม่ เนื่องจากเป็นยาที่มีใช้อยู่แล้ว ยาที่แพทย์โรงพยาบาลราชวิถีนำมาใช้กับผู้ป่วยชาวจีนที่มีอาการหนักคือ ยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ตัว ได้แก่ ยาโลพินาเวียร์ และยาริโทนาเวียร์ และยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ช่วยรักษาโรคเมอร์สจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน ปรากฏว่าได้ผลฟื้นตัวได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าคาดการณ์ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ ยังเกิดขึ้นมาบนโลกไม่ถึง 2 เดือน ตอนนี้ยังไม่มีวิธีการรักษามาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นการรายงานเคส ซึ่งจีนมีการรายงานการรักษาครั้งแรก 40 กว่าคน โดยใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ไทยจึงทดลองใช้ยาต้านไวรัสเอดส์เช่นกัน สำหรับกลไกการทำงานของยาต้านไวรัสเอดส์ คือ ไปช่วยยับยั้งการขยายตัวของไวรัสในเซลล์ แต่ไวรัสในเลือดยังเข้าไปในเซลล์ได้อยู่ดี ดังนั้นยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งใช้รักษาไข้หวัดใหญ่นั้นจะช่วยทำให้เชื้อไวรัสใหม่ไม่เข้าไปในเซลล์ จึงเป็นการลดทอนไวรัส ทีมแพทย์โรงพยาบาลราชวิถีรับผู้ป่วยชาวจีนที่มีอาการหนักจากโรงพยาบาลหัวหินเมื่อวันที่ 29 ม.ค.63 และเริ่มใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่จีนรายงานผลการรักษาด้วยกลุ่มยาเดียวกันนี้ในวารสารต่างประเทศ แต่ทีมแพทย์ไทยยังไม่ได้อ่านวารสารดังกล่าว เนื่องจากเวลาไทยเร็วกว่าอังกฤษ 6 ชั่วโมง ซึ่ง นพ.สมศักดิ์กล่าวว่าเป็นการคิดตรงกัน ในการรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่มีอาการหนักนั้น แพทย์ไทยได้ใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ครั้งละ 2 เม็ด 2 เวลาเช้าเย็น และยาโอเซลทามิเวียร์ 2 เม็ด 2 เวลาเช้า-เย็น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นเร็ว โดยไข้ลดใน 12 ชั่วโมง และผลตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการเป็นลบใน 48 ชั่วโมง ซึ่งการให้ยาขนาดสูงนี้ นพ.สมศักดิ์ระบุว่า เพราะพิจารณาแล้วว่า คนไข้มีอาการหนักและตัวใหญ่ ซึ่งการให้ยาขนาดดังกล่าวนั้นเป็น 2 เท่าของจีน ที่ให้ยาต้านไวรัสเอดส์แค่ครั้งละ 1 เม็ด จำนวน 2 เวลาเช้าเย็น และโอเซลทามิเวียร์ 1 เม็ด 2 เวลาเช้าเย็น "วิธีการรักษาด้วยยาสูตรดังกล่าวนี้ เรากำลังส่งไปตีพิมพ์ที่ต่างประเทศ และกำลังนำเข้าที่ประชุมแนวทางการดูแลรักษา ซึ่งมีการนำรายงานการรักษาต่างๆ จากทั่วโลกมาพิจารณา ซึ่งสูตรยานี้ที่ใช้ก็อาจเสนอเป็นทางเลือกในการรักษาต่อไปว่าหากเจอผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และใช้ยาสูตรอื่นที่มีการนำเสนอแล้วไม่ได้ผลก็เอาสูตรนี้มาใช้เพิ่ม ก็ถือเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ แต่จะต้องเก็บข้อมูลการใช้ให้มากขึ้น แต่ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน" นพ.สมศักดิ์กล่าว ทั้งนี้ สถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยัน 19 ราย ซึ่งทุกคนมีอาการดีขึ้นและรักษาหายแล้ว 8 ราย โดยกำลังจะหายและปล่อยตัวให้กลับบ้านอีก 4 ราย ส่วนที่เหลืออาการดีขึ้นเป็นลำดับ Manager online 4.02.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร