Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ต้อนรับกลับสู่โลก “คริสตินา คอช” หญิงที่ใช้ชีวิตในอวกาศยาวนานที่สุด  

ยินดีต้อนรับกลับโลก "คริสตินา คอช" มนุษย์อวกาศหญิงคนแรกที่ทำสถิติอยู่ในอวกาศนานที่สุด 328 วัน โคจรรอบโลก 5,248 รอบ คิดเป็นระยะทาง 223.7 ล้านกิโลเมตร หรือเป็นระยะทางไป-กลับโลกและดวงจันทร์ 291 เที่ยว คริสตินา คอช (Christina Koch) มนุษย์อวกาศจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เพิ่งกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย พร้อมๆ อเลกซานเดอร์ สควอร์ตซอฟ (Alexander Skvortsov) มนุษย์อวกาศองค์การอวกาศรัสเซีย และ ลูกา ปาร์มิตาโน (Luca Parmitano) มนุษย์อวกาศองค์การอวกาศยุโรป ด้วยแคปซูลโซยุซของรัสเซีย ที่แลนดิงลงคาซัคสถาน เมื่อเวลา 16.12 น.วันที่ 6 ก.พ.2020 คอชออกเดินทางจากโลกเมื่อ 14 มี.ค.2019 พร้อมๆ กับ นิค เฮค (Nick Hague) และ อเล็กซีย์ ออฟชินิน (Alexey Ovchinin) มนุษย์อวกาศรัสเซีย ซึ่งการประจำการนาน 328 วันของเธอ ทำให้เธอกลายเป็นมนุษย์อวกาศคนที่ 2 ของสหรัฐฯ ที่ใช้ชีวิตบนเที่ยวอวกาศยาวนานที่สุด และเป็นผู้มีชั่วโมงประจำการในอวกาศสะสมมากเป็นอันดับ 7 ของสถิติมนุษย์อวกาศอเมริกัน ภารกิจที่ยืดออกไปของคอชนี้ เปิดโอกาสให้ทีมนักวิจัยได้สังเกตผลกระทบ จากเที่ยวบินอวกาศอันยาวนานที่เกิดกับผู้หญิง เนื่องจากนาซามีแผนที่จะส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ด้วยโครงการอาร์ทีมิส (Artemis) และเตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจดาวอังคารโดยมนุษย์ ตลอด 328 วันในอวกาศคอชได้เห็นการไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติและการจากลานับสิบๆ ครั้ง พร้อมๆ กับการโคจรไปรอบโลก 5,248 รอบ คิดเป็นระยะทาง 223.7 ล้านกิโลเมตร คิดเป็นระยะทางไป-กลับระหว่างโลกและดวงจันทร์ 291 เที่ยว และระหว่างประจำการบนสถานีอวกาศ 11 เดือน เธอได้ปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ 6 ครั้ง รวมถึงการเดินอวกาศครั้งประวัติศาสตร์ที่ปฏิบัติการโดยผู้หญิงทั้งหมด รวมเวลาที่อยู่นอกสถานีอวกาศ 42 ชั่วโมง และ 15 นาที ในขณะที่ปาร์มิตาโนและสควอร์ตซอฟ ปฏิบัติภารกิจในอวกาศครบ 201 วัน โคจรรอบโลก 3,216 รอบ คิดเป็นระยะทาง 137 ล้านกิโลเมตร โดยมนุษย์อวกาศทั้งสองคนเพิ่งเดินทางไปยังสถานีอวกาศเมื่อเดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา พร้อมกับ แอนดรูว มอร์แกน (Andrew Morgan) มนุษย์อวกาศนาซา แต่มอร์แกนยังคงประจำการอยู่บนสถานีอวกาศ และจะกลับโลกในวันที่ 17 เม.ย. ปาร์มิตาโนเป็นมนุษย์อวกาศจากองค์การอวกาศยุโรปหรืออีซา ที่ใช้เวลาในอวกาศยาวนานที่สุดคือนาน 367 วัน โดยเขาประจำการบนสถานีอวกาศในเที่ยวบินประจำการที่ 60 และ 61 ซึ่งเที่ยวบินประจำการครั้งหลังนั้นเขารับหน้าที่ผู้บังคับการสถานีอวกาศ และได้เดินอวกาศ 4 ครั้ง โดยใช้เวลารวม 25 ชั่วโมงกับอีก 30 นาที นับรวมตอนนี้เขาเดินอวกาศครบ 6 ครั้งแล้ว รวมเวลาเดินอวกาศทั้งหมด 33 ชั่วโมง 9 นาที ส่วนสควอร์ตซอฟนั้นปฏิบัติภารกิจบนอวกาศครบ 3 รอบ และใช้เวลาในอวกาศรวมทั้งหมด 546 วัน ทำให้เขามีเวลาสะสมในการปฏิบัติภารกิจบนเที่ยวบินอวกาศยาวนานเป็นลำดับที่ 15 หลังจากแลนดิงสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย มนุษย์อวกาศทั้งสามคนต้องได้รับการตรวจทางการแพทย์ จากนั้นจะโดยสารเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซีย เพื่อเข้ารับการฟื้นฟูในเมืองคารากานดาของคาซัคสถาน ซึ่งเป็นเมืองสำหรับการฟื้นฟูมนุษย์อวกาศโดยเฉพาะ จากนั้นคอชและปาร์มิตาโนจะโดยสารเครื่องบินของนาซากลับไปยังเมืองโคโลญในเยอรมนี ซึ่งปาร์มิตาโนจะเข้าพบเจ้าหน้าที่ของอีซาที่ต้อนรับการกลับบ้าน ส่วนคอชจะเดินทางตรงกลับบ้านที่ฮิวส์ตัน และสควอร์ตซอฟจะโดยสารเครื่องบินของศูนย์ฝึกมนุษย์อวกาศกาการิน เพื่อกลับไปยังบ้านที่เมืองสตาร์ซิตี รัสเซีย บนเที่ยวบินประจำการสถานีอวกาศเที่ยวที่ 61 มีการทดลองหลายร้อยการทดลองทางด้านชีววิทยา โลกวิทยา การวิจัยมนุษย์ กายวิภาคศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงปรับปรุงเครื่องวัดสนามแม่เหล็กแมกเนติดสเปกโตรมิเตอร์ เพื่อยืดอายุเครื่องวัดและสนับสนุนภารกิจค้นหาหลักฐานของสสารมืด พร้อมทั้งทดสอบเครื่องพิมพ์สามมิติ สำหรับพิมพ์เนื้อเยื่อคล้ายอวัยวะภายในสภาพแวดล้อมที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำ ตอนนี้ปฏิบัติการของเที่ยวบินประจำการสถานีอวกาศเที่ยวที่ 62 ได้เริ่มขึ้นแล้ว หลังจากคอซและเพื่อนร่วมทางปลดตัวออกจากสถานีอวกาศ ซึ่งตอนนี้บนสถานีอวกาศมีมนุษย์ประจำการ 3 คน โดยมีวิศวกรเที่ยวบินจากนาซา 2 คน คือมอร์แกน และเจสสิกา มีร์ (Jessica Meir) ส่วนผู้บังคับการประจำสถานีอวกาศของเที่ยวบินนี้คือ โอเล็ก สกรีพอชกา (Oleg Skripochka) มนุษย์อวกาศรัสเซีย พวกเขาจะอยู่กัน 3 คนไปจนถึงต้นเดือน เม.ย. หลังจากนั้นมนุษย์อวกาศจากนาซา คือ คริส แคสสิดี (Chris Cassidy) และมนุษย์อวกาศรัสเซีย คือ นิโคลาอิ ทิโคนอฟ (Nikolai Tikhonov) และ แอนเดรอิ แบบกิน (Andrei Babkin) จะเดินทางขึ้นไปเสริมทัพบนสถานีอวกาศ Manager online 7.02.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร