Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อว.ย้ำไม่โฟกัสแค่วิทยาศาสตร์ แต่ให้ความสำคัญด้านสังคมด้วย  

อว.ย้ำ ให้ความสำคัญด้านสังคม เชิญคณาจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ถอดรหัสนำองค์ความรู้ด้านสังคมแก้ปัญหาฝังรากลึกประเทศ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดประชุมหารือการกำหนดประเด็นวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 63 อาคารอุดมศึกษา ถ.ศรีอยุธยา การประชุมดังกล่าว ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้มอบนโยบายการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนแผนงานสำคัญด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ก่อนจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากอาจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า เวทีที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณาจารย์ และดึงเอาองค์ความรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัยในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ มาสู่การจับต้องได้ และเพื่อเป็นการตอกย้ำว่า อว. ไม่ได้มีภารกิจหรือโฟกัสแค่เรื่องวิทยาศาสตร์อย่างเดียว แต่ อว. ให้ความสำคัญกับเรื่องสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ที่ป็นรากสำคัญที่จะปลดล็อกเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันจะนำมาสู่การพัฒนาประเทศได้ “ยกตัวอย่างเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ตอนนี้ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องการแข่งขัน ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องเชิงสังคมด้วย เพราะการจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้นั้น ต้องคำนึงถึงความร่วมไม้ร่วมมือ ความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของประชาชน ความกินดีอยู่ดี รวมถึงองค์ความรู้ในประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้องค์ความรู้แบบข้ามศาสตร์ เพื่อมาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ” “โจทย์สำคัญที่ชวนอาจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาหารือครั้งนี้ เพื่อชวนคุยใน 3 เรื่องสำคัญของประเทศ คือ ความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้งที่รุนแรง และการสร้างนวัตกรรมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เราเชื่อมั่นในภาคอุดมศึกษาเรื่ององค์ความรู้และความคิดที่มีความแหลมคม แต่ส่วนใหญ่ความคิดเหล่านั้นมักจะอยู่ในกระดาษ ทำอย่างไรที่เราจะนำองค์ความรู้ที่เหล่าคณาจารย์มี มาสู่การลงมือทำ เพื่อให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์ประเทศ ดร.สุวิทย์กล่าวว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาฝังลึกของไทย ส่วนด้านการทำงานยุทธศาสตร์องค์ความรู้ ต้องสร้างสมดุลอย่างน้อย 3 มิติ คือ สร้างความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง สร้างความเชื่อมโยงจากโจทย์ Quick win ไปสู่โจทย์ระยะยาว และการทำให้สิ่งที่อยู่ในอุดมคติมาสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น เราจะมีการประชุมด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้จบครั้งนี้ครั้งเดียว ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เผยว่าการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะขยับไม่ได้เลยหากขาดการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และแฝงอยู่ในทุกๆ มิติของการพัฒนาประเทศ การประชุมครั้งนี้เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อมาช่วยกันเซ็ตโครงสร้าง แนวทางที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศอย่างมีระบบ อันจะนำมาสู่การออกแบบนโยบายเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนในหลากหลายประเด็น อาทิ การพัฒนาการสร้างระบบการเรียนรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความเกื้อกูล ความอาทร ท่ามกลางการขยายตัวของสังคมเมือง เสนอให้มีการสร้างองค์ความรู้เชิงลึก ปลูกฝังความรู้รากเหง้าของประเทศ แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ปฏิเสธองค์ความรู้จากภายนอก นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้เสนอให้นำเอาความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity มาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าตั้งแต่การตั้งโจทย์ การลงมือปฏิบัติ จนกระทั่งเมื่อออกมาเป็นผลลัพธ์ หลังจากการประชุม รัฐมนตรี อว.ยังได้ชวนมองเป้าหมายร่วมกันทั้งเรื่องการนำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง ที่ไม่ใช่เพียงด้านวัตถุ แต่หมายรวมถึงความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม ความมั่งคั่งในการสร้างคุณค่าให้เกิดในสังคม นอกจากนี้ สิ่งที่เราคิดร่วมกันต้องนำไปสู่ Sustainability Growth และ Inclusive Growth ตลอดจนเป้าหมายในการสร้างให้สังคมไทยเป็น Balancing Economy ให้มีความสมดุลของความเป็นไทยภายใต้บริบทโลก อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมว่า เสรีภาพทางวิชาการเป็นสิ่งสำคัญ นักวิชาการจำเป็นต้องมีอิสระในการวิจัยองค์ความรู้ใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการวิจัยเชิงปฏิบัตินิยมอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic pragmatism) โดยต้องมีการออกแบบกลไก เช่น การสร้าง Platform เพื่อเชื่อมโยงและใช้ความรู้ที่ข้ามศาสตร์ และเพื่อเป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างภาควิชาการ และภาคนโยบาย เพื่อนำไปสู่การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ได้จริง ทั้งนี้ ประชาคมได้เสนอโจทย์ท้าทายของสังคม ที่ต้องการการบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น การสร้างความรู้เพื่อเข้าใจคนรุ่นใหม่ในโลกที่เปราะบาง โดยใช้มุมมองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง รวมถึงการเข้าใจความขัดแย้งในสังคม ทั้งจากอารมณ์และเหตุผลประกอบกัน ในด้านศิลปกรรมศาสตร์นั้น มีความเห็นว่า ศิลปะแม้จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ได้ แต่ต้องตระหนักถึงบทบาทในการพัฒนามนุษย์ในระยะยาว แสดงคุณค่าที่หลากหลาย ซึ่งระบบวิจัยต้องประเมินโดยรับรู้ความหลากหลายนี้ด้วย Manager online 21.02.63

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร