Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัย มทร.ธัญบุรี พัฒนา "สีกันไฟชนิดพองตัว" ตอบโจทย์อุตสาหกรรม สู่บีโอไอ  

อาจารย์ นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่รับโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม พัฒนา ‘ผลิตภัณฑ์สีกันไฟชนิดพองตัว’ ผลักดันธุรกิจอุตสาหกรรมสีคุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยีคนไทย ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เผยว่า นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ต่อยอดองค์ความรู้จากการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม หรือโครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชนและโครงการตามยุทธศาสตร์ของประเทศ (Talent Mobility) นำโดย ผศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ และ ผศ.ดร.ฉันท์ทิพ สกุลเขมฤทัย นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงพื้นที่รับโจทย์ปัญหาจริงจากภาคอุตสาหกรรมกับบริษัท ไทยนครเพนท์แอนด์เคมีคอล จำกัด วิจัยและพัฒนาในโครงการ ‘การพัฒนาผลิตภัณฑ์สีกันไฟชนิดพองตัว’ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ 2 คน คือนายกมลทรรศน์ เวชกรณ์ และนายณัฏฐพัฒน์ ชฎาจิตร ซึ่งดำเนินการสำเร็จแล้วกว่า 90% ได้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานและจัดจำหน่ายต่อไปในอนาคตอันใกล้ และจากความสำเร็จดังกล่าวนี้ยังเป็นการผลักดันธุรกิจอุตสาหกรรมสีของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการการส่งเสริมการลงทุน ที่เกิดประโยชน์ต่อบริษัท สถานประกอบการต่าง ๆ และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีของนักวิจัยไทยในมหาวิทยาลัยร่วมกับนักวิจัยของผู้ประกอบการไทย โดยรับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ผศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ทำงานร่วมและวิเคราะห์กับทางบริษัท พบว่า ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่มุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะการป้องกันอัคคีภัยต่อบ้านเรือน ทรัพย์สิน อาคารพาณิชย์ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม นั่นคือสารเคลือบผิวอินทูเมสเซนต์ประเภทสีกันไฟชนิดพองตัว ซึ่งสามารถสรุปปัญหาและโจทย์วิจัยคือ ปัญหาเรื่องเทคโนโลยีในการสังเคราะห์วัสดุนาโน และปัญหาการขยายตัวของสารเคลือบผิวอินทูเมสเซนต์ประเภทสีกันไฟชนิดพองตัวที่มีอัตราการขยายตัวต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการเป็นชั้นฉนวนป้องกันความร้อนที่ส่งผ่านสู่เหล็กโครงสร้างไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดช้าลง จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว จึงมีแนวความคิดเห็นร่วมกันในการวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุนาโนเพื่อนำมาใช้เพิ่มอัตราการขยายตัวของสีกันไฟชนิดพองตัว และเกิดเป็นโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีกันไฟชนิดพองตัว ผศ.ดร.สรพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์สีกันไฟชนิดพองตัว ทำหน้าที่เสมือนฉนวนกันไฟ ยกตัวอย่างเมื่อนำไปใช้ทาโครงสร้างเหล็ก จะป้องกันความร้อนที่ส่งผ่านสู่เหล็กโครงสร้างไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดช้าลงในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งอาจช่วยส่งผลต่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้วัสดุนาโนเป็นส่วนประกอบสำคัญ และได้ทำการทดสอบสมบัติการทนไฟตามมาตรฐานสากล ทดสอบการขยายตัว อนุภาคพื้นผิวและทดลองนำไปใช้งานเบื้องต้น ซึ่งมีผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ และเตรียมผลักดันร่วมกับบริษัทเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตอันใกล้ “ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยดังกล่าว ทำให้บริษัทหรือสถานประกอบการได้กระบวนการผลิตวัสดุนาโน เพื่อวางแผนการผลิตสีนาโนและสีกันไฟชนิดพองตัว สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทในการผลิตระดับอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันยังลดการนำเข้าวัสดุนาโนเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ และที่สำคัญอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาได้ร่วมปฏิบัติงานจริง ซึ่งทำให้เพิ่มพูนประสบการณ์การทำงานทักษะที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการ” ขณะที่ นายภูมิภัทร์ ตรรกสกุลวิทย์ กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไทยนครเพนท์แอนด์เคมีคอล จำกัด กล่าวว่า ไทยนครเพนท์แอนด์เคมีคอล เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมสีของคนไทย ซึ่งมีการวิจัยค้นคว้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพ การที่ทีมอาจารย์และนักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี ได้เข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าว ซึ่งมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบริษัทเป็นแกนหลัก นำโดย นายประสาน ไชยแสนฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ซึ่งโครงการนี้ช่วยให้บริษัทมีแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาความรู้ร่วมกันในเรื่องวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยี ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ หวังว่าในอนาคตจะได้รับความร่วมมือที่ดีในด้านการวิจัยและพัฒนาเช่นนี้ต่อไป Manager online 25.02.63

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร