Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิดตัว ‘เรือนไม้ประหยัดพลังงาน’ ใช้สถาปัตยกรรมไม้แบบญี่ปุ่น  

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดตัวต้นแบบ ‘เรือนไม้ประหยัดพลังงาน’ ศาสตร์สถาปัตยกรรมไม้แบบญี่ปุ่น ชูเทคโนโลยีวัสดุ ชนวนกันความชื้น-ความร้อน ลดใช้พลังงาน รับเทรนด์บ้าน Eco สู่ความยั่งยืน มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดตัว "ต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion” เมื่อวันที่ 25 ก.พ.63 เรือนไม้ดังกล่าวสร้างขึ้นภายใต้รูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดใช้พลังงาน ตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจยั่งยืนในอนาคต เบื้องต้น ดร.ณัฐวุฒิ อิศวโกวิทวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อธิบายว่าไม้ที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมบ้านประหยัดพลังงานมาจาก เมืองมิซุเอะ ประเทศญี่ปุ่น จากโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากญี่ปุ่น ทำให้เกิดนวัตกรรมนี้ และได้สร้างบุคคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างบ้านด้วยไม้จากเมืองมิซุเอะ เป็นการสร้างโอกาศทางธุรกิจ ทางโครงการทำเป็น Showcase บ้านต้นแบบ ออกแบบให้เหมาะสมกับภูมิอากาศและทักษะช่างในไทย ระแนงไม้หน้าบ้านถูกออกแบบให้เหมาะสมกับแสงและเงาเพื่อกันความร้อนจากแสงแดด มีการใช้ฉนวนกันความร้อนภายในตัววัสดุของผนังบ้านและหลังคา ออกแบบให้สามารถรับลมถูกทิศ และตัวไม้ได้เคลือบสารกันการผุกร่อน และให้น้ำฝนที่ตกมากระทบพื้นไม้สามารถทะลุร่องไม้ที่ออกแบบมาเพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านสู่พื้นดินได้สะดวก ด้านอาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเสริมว่า คณะสถาปัตยกรรม ม.ศรีปทุม ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยสสุกิยามะ (Sugiyama) , มหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัยริวกิว (Ryukyus) เมืองมิตซึเอะ จ.นาระ และภาคเอกชนประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม “ทักษะช่างไม้ในงานก่อสร้างแบบญี่ปุ่น” อันมีรูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดใช้พลังงาน ตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจยั่งยืนในอนาคต โดยร่วมกันจัดตั้ง Wood training center หลักสูตรระยะสั้นผ่านฝึกปฏิบัติโครงการสหกิจศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน และระยะยาวในรูปแบบ Dual Degree "ถือเป็นโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจด้านการก่อสร้างอาคารไม้ ในรูปแบบ ของการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีความเชี่ยวชาญทางทักษะช่างไม้ และการออกแบบสถาปัตยกรรมไม้แบบญี่ปุ่น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของไม้สนญี่ปุ่น คุณสมบัติ จุดเด่น ข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงทักษะการผลิตชิ้นส่วน อาทิ การเตรียมไม้ การไสไม้ ตลอดจนการออกแบบโครงสร้าง พร้อมกันนี้ยังได้เรียนรู้นวัตกรรมและชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ชาวญี่ปุ่นติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งสามารถต่อยอดและขยายสู่โอกาสทางวิชาชีพสถาปนิกที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคตได้อีกด้วย" อาจารย์ธีรบูลย์กล่าว สำหรับต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion นี้ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม ประกอบด้วย 2 อาคาร คือ อาคารศาลาพักผ่อน ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นบ้านเรือนพักอาศัยได้ และอาคารดื่มน้ำชา เพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น ที่ถือเป็นวัฒนธรรมสำคัญระดับโลก โดยนำเข้าไม้สนจากประเทศญี่ปุ่นนำมาก่อสร้างทั้งหมด ชื่อว่า “ไม้สุกิ” มีลักษณะพิเศษ คือมีกลิ่นหอมและมีคุณค่าเทียบเท่าไม้สักของคนไทย "นอกจากนี้ตัวอาคารยังมีการติดตั้งนวัตกรรมและวัสดุที่น่าสนใจ ประกอบด้วย นวัตกรรมป้องกันแผ่นดินไหว อุปกรณ์ป้องกันปลวก แผ่นป้องกันเสียง ป้องกันความร้อนและความเย็น โดยใช้เทคโนโลยีวัสดุด้าน Insulation ที่ทำงานร่วมกับผนังได้เป็นอย่างดี และป้องกันทุกพื้นผิวตั้งแต่พื้น ผนัง ฝา ตอบโจทย์กระแสความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างในปัจจุบัน ที่นอกจากความสวยงามของอาคารแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการลดใช้พลังงานตามเทรนด์ผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้ไฟฟ้า" อาจารย์ธีรบูลย์ กล่าว ด้านนายสหรัฐ พหลยุทธ์ ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ควบคุมการก่อสร้างต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน - Japanese Tea Pavilion กล่าวต่อว่า ความพิเศษของการออกแบบและก่อสร้างในครั้งนี้ คือการผสานองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการก่อสร้างอาคารไม้ญี่ปุ่นร่วมกับการก่อสร้างแบบไทย โดยเฉพาะวิธีการเข้ารอยต่อไม้โบราณแบบญี่ปุ่น ซึ่งต่างจากของไทยตรงที่สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้ตะปูยึด การปูพื้นไม้ให้ลงล็อคได้โดยที่ไม่ต้องเลื่อยไม้ทิ้ง ผสมกับนวัตกรรมปัจจุบันที่ชาวญี่ปุ่นนำมาติดตั้ง ซึ่งมีทั้งแผ่นกันชื้น กันความร้อนช่วยลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่แตกต่างสุดขั้วในฤดูหนาวและฤดูร้อน และแผ่นป้องกันปลวกศัตรูสำคัญของบ้านไม้ทั่วโลก ติดตั้งระหว่างคานปูกับพื้นไม้ให้มีช่องว่างอากาศถ่ายเทป้องกันปลวกกินเนื้อไม้ ขณะที่ในเชิงโครงสร้างของอาคาร มีการพัฒนาถึงขั้นทนต่อแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว โดยติดตั้งอุปกรณ์ Sujikai หลังแผ่นยิปซั่มบอร์ด ซึ่งแม้ว่าในบ้านเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีสร้างแบบเขาทั้งหมด แต่ก็มีเทคนิคที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากันได้ และประยุกต์ออกมาให้สวยงามด้วยรูปแบบการผสมผสานที่ลงตัว “ช่วงเวลาที่ได้ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น มีโอกาสได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านแกะสลัก ทำมือ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลวก ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ที่สนุกที่สุดคือการสร้างแบบจำลองและทำโมเดล โดยที่นั่นให้เราเรียนรู้วิธีสร้างบ้านไม้แบบญี่ปุ่นผสานกับการสร้างบ้านไม้แบบไทย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การประมูลต้นไม้ รวมถึงติดตามทีมงานขึ้นไปดูการตัดไม้ เลือกไม้ แปรรูปไม้ ก่อนส่งกลับยังมหาวิทยาลัยศรีปทุม นำมาสร้างเรือนไม้ต้นแบบเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงนวัตกรรมการก่อสร้างแบบญี่ปุ่น ซึ่งทุกอย่างเป็นระบบมากๆ และเมื่อกลับมายังประเทศไทยก็มีโอกาสได้เข้ามาช่วยควบคุมดูแลการก่อสร้างและให้คำแนะนำต่างๆ กับช่างก่อสร้างชาวไทย” นายสหรัฐ กล่าว ด้าน ศ. ชิน มูราคามิ (Prof. Shin Murakami) ผู้อํานวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย Sugiyama กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผสานองค์ความรู้ทางวิชาการครั้งสำคัญ ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งสองประเทศจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในด้านทักษะการออกแบบและการใช้ไม้ มาเป็นส่วนประกอบในงานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรายละเอียดการออกแบบงานไม้แบบญี่ปุ่นและแบบไทย ซึ่งทั้งสองศาสตร์ถือว่ามีเอกลักษณ์และเทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์เข้ากันได้ ช่วยให้โครงสร้างออกมาสวยงามเหมาะสมกับสภาพอากาศสภาพแวดล้อม ที่น่ายินดีคือเมื่อนักศึกษาที่จบจากโปรแกรมนี้ ยังมีโอกาสในอนาคตสำหรับการเข้าร่วมทำงานกับบริษัทก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย Manager on line 25.02.63

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร