เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ฝรั่งกิมจูที่ ห้วยองคต
   
ปัญหา :
 
 
นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานมอบเอกสารสิทธิทำกิน (สทก.) โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ให้การต้อนรับและร่วมมอบเอกสารสิทธิฯ เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ปัจจุบันราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาพอนามัย อาชีพ การคมนาคม การสื่อสาร มีการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงสุกร มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดแปลงสาธิตการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยทางโครงการฯ ได้จัดแบ่งที่ดินทำกินครอบครัวละ 8 ไร่ ครอบครัวใหญ่ 16 ไร่ รวม 907 แปลง และแปลงที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ รวม 780 แปลง โดยมีหลักเกณฑ์ห้ามซื้อขายและให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานเท่านั้น และฝรั่งกิมจู เป็นพืชให้ผลอีกชนิดหนึ่งที่มีการส่งเสริมให้เพาะปลูกเป็นพืชเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรในโครงการฯ เนื่องจากใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นานก็ให้ผลผลิตและมีตลาดรองรับแน่นอน จำหน่ายได้ตลอดทั้งปี เพราะเป็นฝรั่งที่มีเมล็ดน้อย ติดผลดก ผลผลิตมีราคาดีไม่แตกต่างจากฝรั่งไร้เมล็ด และมีข้อได้เปรียบคือ ติดผลง่าย ออกผลดก เมล็ดมีน้อย รสชาติหวานกรอบ ผลมีขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป ประมาณ 400-800 กรัมต่อผล ปลูกได้ทุกพื้นที่ ดินเค็มก็ปลูกได้ เกษตรกรในโครงการห้วยองคตฯ ปลูกในลักษณะสวนโดยจัดระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 3x 3 เมตร ในเนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประ มาณ 160 ต้น ก่อนปลูกมีการปรับปรุงดินโดยตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคและเมล็ดวัชพืช หลังจากขุดหลุมปลูก ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในปริมาณเท่า ๆ กันอัตราปุ๋ย 1 ส่วนต่อดิน 2 ส่วน เพื่อให้ดินร่วนซุย หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์ที่ชำไปปลูกลงในหลุม กลบดินให้แน่นพอสมควร แล้วใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกกันลมโยกและรดน้ำทันที จากนั้นใช้ทางมะพร้าวมาคลุมพรางแสงแดดให้แก่ต้นฝรั่งจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้งตัวได้ รดน้ำในช่วงระยะแรกจนกว่าต้นฝรั่งตั้งตัวได้หลังจากนั้นสังเกตดูความชุ่มชื้นของดิน ถ้าดินแห้งมากก็ให้น้ำ และถ้ามีฝนตกหนักก็ระบายน้ำออก การให้น้ำจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความต้องการของต้นฝรั่ง ปริมาณความชื้นของดินในระหว่างการออกผลมีความสำคัญ เพราะจะก่อให้เกิดการร่วง การแตก เกษตรกรที่นี่ใส่ปุ๋ยคอกให้กับฝรั่งเมื่อออกดอกประมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ควบคู่กับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่พรวนดินลึก เพราะจะทำให้รากของต้นฝรั่งขาดได้ ฝรั่งจะเริ่มออกผลเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน จากนั้นจะใช้ไม้ไผ่ปักไว้เพื่อพยุงผลฝรั่ง โดยใช้ปลายหรือแขนงไม้ไผ่ขนาดเล็กยาว 1 เมตร หรือมากกว่านั้นปักใกล้กับกิ่งที่ออกผลแล้ว โดยผูกยึดกับกิ่งไว้ บางสวนจะผูกขั้วผลกับกิ่งหรือไม้ปักเพื่อไม่ให้ผลถ่วงต้น เพราะน้ำหนักผลฝรั่งมาก ถ้ามีลมพัดแรงต้นจะเฉาตายและรากจะขาดได้ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะตัดแต่งกิ่งเพราะจะช่วยให้ฝรั่งเกิดกิ่งอ่อน และมีช่อดอกออกมาทันที ด้วยการทำให้ทรงพุ่มโปร่ง ได้สัดส่วน อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง สะดวกในการเก็บผล ทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน ผลมีขนาดใหญ่ จะตัดแต่งกิ่งทุกปีเพื่อกระตุ้นการเจริญ และการสร้างตาดอก ใน ต้นที่สมบูรณ์จะตัดกิ่งก้านออก 25-30% สำหรับต้นที่ไม่แข็งแรงตัดกิ่งก้านออกประมาณ 20% นอกจากการตัดแต่งกิ่งแล้วเกษตรกรที่นี่ปลิดผลทิ้งให้เหลือประมาณ 2-6 ผล ต่อกิ่งเท่านั้น ซึ่งจะดีต่อการได้มาซึ่งลูกฝรั่งที่ต้องการบริโภคผลสด แต่ถ้าต้องการผลขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี ก็จะให้เหลือเพียง 1 ผลต่อกิ่งเท่านั้น ที่สำคัญเกษตรกรจะห่อผลฝรั่งเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูฝรั่ง และทำให้ผลฝรั่งมีผิวสวยน่ารับประทาน โดยใช้ถุงพลาสติกหรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อก่อนแล้วจึงสวมถุงพลาสติกทับอีกชั้นหนึ่ง โดยจะเริ่มห่อผลฝรั่งเมื่อมีขนาดเท่าลูกมะนาวหรือหลังดอกบานแล้ว 1 เดือน.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 14 กันยายน 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM