เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สารหอมระเหย ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นชนิดเดียวที่พบในใบเตย
   
ปัญหา :
 
 
เป็นคนชอบรับประทานข้าวหอมมะลิ จากการพูดคุยกับเพื่อนๆ เกิดมีคำถามขึ้นมาว่า ความหอมของข้าวพันธุ์นี้ เกิดจากสารอะไร บางครั้งอ่านหนังสือมีความสงสัยว่า พันธุ์ข้าวหอมมะลิ กับ ขาวดอกมะลิ 105 เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
ขอเล่าถึงความเป็นมาของข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อความเข้าใจก่อนครับ ย้อนกลับไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2493 กรมการข้าว ในขณะนั้น มีนโยบายให้รวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกหาพันธุ์ที่ดีที่สุดในเชิงคุณภาพหุงต้ม ปรากฏว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด โดย คุณสุนทร สีหะเนิน พนักงานข้าวอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ จำนวนทั้งสิ้น 199 รวง จากหลายอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่งมอบให้กรมการข้าว ต่อจากนั้นทางกรม ส่งเมล็ดพันธุ์ไปคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี มี คุณโอภาส พลศิลป์ เป็นหัวหน้าสถานี และ คุณมังกร จูมทอง พนักงานเกษตรประจำสถานี เป็นผู้รับผิดชอบ คัดเลือกไปจนถึง ปี พ.ศ. 2502 พบว่า รวงที่ 105 มีคุณภาพหุงต้มดีที่สุด มีเมล็ดเรียวยาว ขาวใส ไม่มีท้องไข่ และมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย คณะกรรมการรับรองพันธุ์ให้ชื่อใหม่ว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้อ่านว่า พันธุ์ขาวดอกมะลิ หนึ่งศูนย์ห้า ตามระบบการใช้เลขรหัส เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกในช่วงกลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว หรือเรียกว่า ข้าวพันธุ์ฤดูปลูกได้ปีละหนึ่งครั้งในฤดูนาปี จะออกดอกในเดือนพฤศจิกายนและไปเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม ความสูงของลำต้น เฉลี่ย 140 เซนติเมตร รวงยาว 33 เซนติเมตร เปลือกข้าวมีสีฟาง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนักประมาณ 27.9 กรัม เมล็ดข้าวกล้อง หรือ ข้าวกะเทาะเปลือกออกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัดสี ยาวประมาณ 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.1 มิลลิเมตร และให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 49-55 ถัง ต่อไร่ ในข้อดีย่อมมีข้อด้อยตามมาเสมอ คือข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ไม่ทนต่อโรคไหม้ อย่างไรก็ตาม แหล่งปลูกที่ดีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ กลิ่นหอมของข้าวพันธุ์นี้ เกิดจากมีสารหอมระเหยที่เรียกว่า 2-อาซิตีล-1-ไพโรลีน (2-acetyl-1-Pyroline) ในข้าวสาร 1 กรัม มีสารดังกล่าวอยู่ 0.04-0.09 ไมโครกรัม สารหอมระเหยชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกับที่พบในใบเตย และดอกชมนาด ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้จาก สำนักพัฒนาข้าว กรมการข้าว ผมขอถือโอกาสขอบคุณเป็นอย่างสูงมาในโอกาสนี้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ฉะเชิงเทรา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM