เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
อินทผลัม ปลูกในประเทศไทย ได้ผลดีหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นคนที่ชอบรับประทานอินทผลัมมาก เนื่องจากมีรสหวานหอมถูกใจ โดยเฉพาะช่วงที่หิวกระหายมากๆ เมื่อได้รับประทานทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที ผมจึงขอเรียนว่า อินทผลัมชนิดนี้สามารถนำมาปลูกในบ้านเราจะได้ผลดีหรือไม่ ขอคำอธิบายด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    อินทผลัม (Date) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีความสูงระหว่าง 15-25 เมตร ต้นเพศผู้และเพศเมียแยกคนละต้น การผสมเกสรในธรรมชาติ ต้องอาศัยกระแสลมและแมลงช่วย ปัจจุบันความก้าวหน้าในทางวิชาการมีมากขึ้น จึงมีการใช้เครื่องมือพ่นละอองเกสรเพศผู้ให้กับต้นเพศเมีย เพื่อช่วยให้การผสมเกสรของอินทผลัมได้ผลดียิ่งขึ้น อินทผลัมเป็นพืชท้องถิ่นในแถบทะเลทรายของทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งต้องการความชื้นในฤดูใบไม้ผลิและน้ำใต้ดิน จากโอเอซิส ชาวอียิปต์รู้จักการปลูกต้นอินทผลัมมาแล้วกว่าพันปี ผลอินทผลัมใช้บริโภคระหว่างการเดินทางในทะเลทรายที่แห้งแล้งและกันดาร ต่อมามีผู้นำอินทผลัมไปปลูกในประเทศสเปนและแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รูปทรงของพืชชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว แต่อาจมีบางสายพันธุ์ที่แตกแขนงออกได้ 2-3 ต้น ก็มี มีทางใบยาวประมาณ 3 เมตร และมีใบย่อย 150 ใบ ที่กว้าง 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ฤดูเก็บเกี่ยวของอินทผลัมเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนไปจนถึงธันวาคมของทุกปี อินทผลัมจะเริ่มให้ผลตั้งแต่อายุ 3 ปี ไปจนถึง 7 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการขยายพันธุ์ คือหากขยายพันธุ์ด้วยหน่อจะให้ผลเร็วกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด อินทผลัมเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ต้องระบายน้ำได้ดีและไม่ต้องการอากาศหนาวจัด ในทางตรงข้ามในช่วงผลสุกจะต้องการอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม หากมีการให้น้ำเสริมในช่วงติดผล จะช่วยให้ผลผลิตและคุณภาพของผลเพิ่มขึ้น ขนาดผลอินทผลัมยาว 3-7 เซนติเมตร และมีเส้น 2-3 เซนติเมตร ผลมีสีแดง หรือเหลืองส้ม เมื่อสุกแก่จะมีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากผลสุกแก่ไม่พร้อมกันในทะลาย จึงต้องเก็บผลหลายครั้ง ขณะติดผลบางประเทศห่อทะลายด้วยกระดาษ บางแห่งห่อด้วยถุง ทำจากตาข่ายไนลอนสีฟ้า ป้องกันความชื้นจากน้ำฝนและน้ำค้าง ระยะการพัฒนาของผลแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะผลดิบ ระยะผลสมบูรณ์เต็มที่ ระยะผลสุกแก่ และระยะผลแห้ง ระยะสุดท้ายจะมีปริมาณน้ำตาลสูงถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2 เปอร์เซ็นต์ และอุดมไปด้วยวิตามิน ซี ด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงนี่เอง ในประเทศอาหรับหลายแห่ง จึงนิยมบริโภคผลอินทผลัมราดด้วยนมอูฐ หลังจากพระอาทิตย์อัสดงในเดือนรอมมาดอนของทุกปี ปัจจุบันมีปริมาณการผลิตอินทผลัมรวมประมาณ 3.7 ล้านตัน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ผลิตได้มากที่สุด 760,000 ตัน ส่วนปากีสถาน แอลจีเรีย ซูดาน โอมาน ลิเบีย และประเทศอื่นๆ ผลิตได้ 650,000, 450,000, 330,000, 240,000, 140,000 และ 1,140,000 ตัน ตามลำดับ (เอฟเอโอ, 2547) พันธุ์อินทผลัมเด่นของแต่ละประเทศ พันธุ์อาเบล ของลิเบีย อเบอร์ฮาจจ์ ของอิรัก อาบิดราฮิม ของซูดาน เด็คเล็ตนัวร์ ของแอลจีเรีย ฮายานี ของอียิปต์ โรคสำคัญของอินทผลัม คือโรคเกิดจากเชื้อรา เมื่อเข้าทำลายจะทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉาตาย เคยพบการระบาดรุนแรงมาแล้วที่ประเทศโมร็อกโก และแอลจีเรีย ตามที่ผมเล่ามาทั้งหมดข้างต้น ทำให้สรุปได้ว่า ประเทศไทยยังไม่เหมาะที่จะปลูกอินทผลัมให้ได้คุณภาพ เนื่องจากมีปริมาณฝนและความชื้นในบรรยากาศค่อนข้างสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเชื้อราที่ผลอินทผลัมได้ง่าย ผมและทีมงานเคยเดินทางไปดูต้นอินทผลัมที่อำเภอกำแพงแสน ซึ่งมีเพียงต้นเดียวและเป็นต้นเพศผู้ แต่น่าเสียดายที่ต้นอินทผลัมดังกล่าวตายเสียแล้ว เมื่อประมาณ 6-7 ปีก่อน อินทผลัมเพียงต้นเดียวทำให้ทราบว่าเคยมีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปแสวงบุญในตะวันออกกลางมาเป็นเวลานานหลายสิบปีมาแล้ว มีคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูงว่า มีผู้นำอินทผลัมไปปลูกที่กาญจนบุรีในเชิงธุรกิจ และกำลังจะให้ผลผลิตในเร็วๆ นี้ หากมีความก้าวหน้าอย่างใด ผมจะมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบต่อไปครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
6
ตำบล / แขวง :
ท่าทราย
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 380
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM