เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ชะอมไร้หนาม พืชสร้างรายได้ตลอดทั้งปี
   
ปัญหา :
 
 
ชะอม หลายคนจะต้องนึกถึงเมนูอาหารที่แสนอร่อยจากผักพื้นบ้านชนิดนี้ที่มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว ชะอมจึงจัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีคนไทยบริโภคเป็นประจำและมีความต้องการในแต่ละวันไม่น้อยไปกว่าผักพื้นบ้านชนิดอื่น เกษตรกรไทยมักจะมองว่า การปลูกพืชผักสวนครัวจะเป็นเพียงอาชีพเสริม ไม่สามารถสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวได้ ตัวอย่างแหล่งปลูกชะอมพื้นที่ใหญ่แห่งหนึ่งของ จ.พิจิตร อยู่ที่ อ.ตะพานหิน ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปลูกชะอมพันธุ์ไร้หนาม ตัวอย่างเกษตรกร นางดอกไม้ อินอ้น หรือ ป้าดอกไม้ วัย 80 ปี ที่ถือเป็นเกษตรกรที่เริ่มปลูกชะอมไร้หนามรายแรก ๆ ของ อ.ตะพานหิน เป็นประธานกลุ่ม ผู้ปลูกชะอมไร้หนามบ้านคลองข่อย บ้านเลขที่ 31/6 หมู่ 6 บ้านคลองข่อย ซอย 13 ต.ไผ่หลวง อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ปลูกชะอมไร้หนามที่หลายคนมองเป็นเพียงอาชีพรองนั้นกลับสร้างรายได้หลักให้กับป้าดอกไม้ อินอ้นและครอบครัว มายาวนานมากกว่า 20 ปี ปลูกชะอมไร้หนาม เริ่มต้นในพื้นที่ 3 ไร่ สร้างรายได้ดีกว่าทำนา 10 ไร่ ก่อนที่ป้าดอกไม้ จะปลูกชะอมไร้หนามก็ทำนามาก่อน ปัจจุบันก็ยังคงทำนาควบคู่ไปซึ่งนากลายเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น ป้าดอกไม้เล่าย้อนกลับไปว่าได้พันธุ์ชะอมไร้หนามมาปลูกแบบสวนครัวหลังบ้านเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว วัตถุประสงค์แรกของการปลูกชะอมไร้หนามในตอนนั้นเพียงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และต่อมาเลยตอนกิ่งชะอมเพื่อขยายต้นปลูกเพื่อเก็บยอดชะอมจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านและตลาดในชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว หลังจากเก็บยอดชะอมขาย ผลปรากฏว่าปริมาณของความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนเกือบทุกวัน เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาที่ป้าดอกไม้ บอกว่าค่อนข้างเหนื่อยกว่ามากและยังมีค่าใช้จ่ายต่อไร่สูง แล้วการปลูกข้าวยังประสบปัญหาในความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศ และราคา เมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการเก็บยอดชะอมไร้หนามขายในพื้นที่เพียง 3 ไร่ที่เริ่มต้นทำนั้นดีกว่าปลูกข้าวในพื้นที่ 10 ไร่ ปัจจุบัน ป้าดอกไม้และครอบครัว ได้ขยายพื้นที่ปลูกชะอมไร้หนามออกไปถึง 6 ไร่ หรือราวเกือบ 10,000 ต้น และแปลงปลูกกล้วยกับไผ่ เพื่อนำกาบกล้วยและไม้ไผ่มาใช้ในการมัดกำชะอมที่จะต้องใช้เกือบทุกวัน ป้าดอกไม้ยังได้บอกว่าโรคและแมลงศัตรูชะอมมีน้อยมากและใช้เพียงแรงงานในครอบครัว ในแต่ละครอบครัวที่ปลูกชะอมไร้หนามในพื้นที่ 1- 2 ไร่หรือมากกว่านั้น จะมียอดให้เก็บหมุนเวียนได้ทุกวัน มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัววันละ 200-300 บาทอย่างสบาย ชนิดของชะอมที่ปลูกในบ้านเรา ชะอมที่ปลูกกันในขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆตามลักษณะคือ ชะอมมีหนาม กับ ชะอมไม่มีหนาม (ชะอมไร้หนาม) ต้นชะอมมีหนามจะมีหนามทั่วทั้งต้นและกิ่งก้านสาขา รวมถึงส่วนของยอดอ่อนด้วย ในขณะที่ต้นชะอมไร้หนามเกือบจะไม่มีหนามเลย หรือจะพบหนามบ้างเหมือนกันแต่น้อยมาก จะพบเพียงหนามอ่อนห่าง ๆ เท่านั้น ข้อแตกต่างของชะอมทั้ง 2 ชนิด ป้าดอกไม้ อธิบายว่า ยอดชะอมที่มีหนามจะมีกลิ่นแรงกว่ายอดชะอมไร้หนาม แต่สำหรับรสชาติเมื่อนำไปประกอบอาหารใกล้เคียงกันจนแยกไม่ออก แต่กลับรู้สึกว่าชะอมไร้หนามทานง่ายกว่า เพราะไม่มีหนามให้กวนใจเวลาทาน สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกชะอมนั้น ชะอมไร้หนามจะสะดวกในเรื่องของการเก็บเกี่ยวยอดเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ต้นหรือกิ่งไม่มีหนามทำให้เก็บได้ค่อนข้างรวดเร็วและไม่ถูกหนามทิ่มแทงมือหรือร่างกาย ลักษณะของการแตกยอดพบว่าพันธุ์ที่มีหนามจะให้ยอดน้อยและแตกยอดช้ากว่าชะอมไร้หนาม ป้าดอกไม้ได้ย้ำว่าลักษณะของการแตกยอดจะเห็นได้ชัดมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดชะอมมีราคาแพงที่สุด ราคาจะสูงถึงกำละ 10-15 บาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชะอมในท้องตลาดมีน้อย จะเห็นได้ชัดเลยว่าต้นชะอมไร้หนามให้ยอดที่ดีกว่าอย่างชัดเจน.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ไผ่หลวง
อำเภอ / เขต :
ตะพานหิน
จังหวัด :
พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 23 ก.ค.61
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM