เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
อาการผิดปกติเกิดขึ้นในส้ม
   
ปัญหา :
 
 
    ปลูกส้มไว้เพื่อบริโภคในบ้านหลายต้น แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับต้นส้ม สิ่งสำคัญอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในส้มเนื่องจากขาดธาตุอาหารชนิดต่างๆ นั้น จะแสดงอาการอย่างไร ผมจึงขอความกรุณาให้คุณหมอเกษตรอธิบายโดยละเอียด
วิธีแก้ไข :
 
    ส้ม การผลิตส้มให้ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด จำเป็นต้องมีการจัดการดินและปุ๋ยอย่างเหมาะสม การขาดธาตุอาหารชนิดต่างๆ ส้มจะแสดงอาการผิดปกติ ดังนี้

ธาตุ ไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารที่เร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น การขาดธาตุไนโตรเจน ใบจะมีสีเขียวซีดหรือเหลือง ต้นแคระแกร็น ติดผลน้อยและมีขนาดเล็กลง

ฟอสฟอรัส ทำหน้าที่เร่งการเจริญเติบโตของรากและการออกดอก การขาดฟอสฟอรัส ใบยอดเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การแตกยอดใหม่น้อย เนื่องจากระบบรากไม่พัฒนา เนื้อผลกลวง ฟ่ามและเปลือกหนา

โพแทสเซียม มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลจากใบและลำต้น ทำให้ผลมีรสหวานและสีสวยงาม การขาดโพแทสเซียม ใบแก่จะหนา เส้นใบมีจุดสีเหลือง ต่อมาแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลุกลามถึงกิ่งทำให้แห้งตายและมียางไหล ผลมีขนาดเล็กลงและร่วงง่าย

แมกนีเซียม เมื่อขาด ปลายใบมีสีเหลือง แต่ส่วนโคนยังเขียว เป็นรูปสามเหลี่ยม

แมงกานีส การขาดพบที่ใบอ่อน ปรากฏสีเหลืองเป็นหย่อมๆ คล้ายร่างแห ใบยังมีขนาดปกติ

การขาด สังกะสี พบว่า ใบอ่อนมีสีเหลืองเป็นหย่อม ใบจะแคบและมีขนาดเล็ก ปลายใบม้วนงอ ติดผลน้อย รสชาติด้อยลง

ธาตุเหล็ก พบอาการแสดงออกที่ใบอ่อน โดยเฉพาะระหว่างเส้นใบมีสีเหลือง แต่เส้นใบยังมีสีเขียว อาการขาดรุนแรงใบจะร่วง กิ่งแห้งตายในที่สุด ผลเล็กและเนื้อผลแข็ง

การขาด ทองแดง ใบอ่อนและยอดอ่อนมีสีเขียวเข้ม ขอบใบโค้งขึ้นคล้ายเรือพาย กิ่งอ่อนคดงอ ใบเรียวยาว เปลือกแตกยางไหล ต้นแคระแกร็น เปลือกของผลเกิดมีจุดสีน้ำตาล เมื่อผ่าผลส้มจะพบว่า แกนกลางมียางใสและเหนียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีผลทำให้ผลแตกและร่วงเสียหาย

ขาด โบรอน ใบอ่อนและยอดอ่อนบิดงอ ใบบาง เส้นกลางใบหนาและกร้าน ผิวใบด้านไม่มัน มียางไหลออกจากลำต้น ผลมีขนาดเล็ก แข็งและหนา ต่อมีผลจะแตกและร่วงหล่นในที่สุด

และการขาด แคลเซียม พบที่ใบอ่อนได้ชัดเจนคือ ใบมีสีเหลือง เริ่มจากขอบใบเข้ามายังเส้นกลางใบ ต้นส้มชะงักการเจริญเติบโต เนื่องจากระบบรากไม่สมบูรณ์ และผลจะแตกง่าย ตามที่ผมอธิบายมาตามลำดับ จะเห็นว่าธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก หรือธาตุอาหารรองก็ตาม ซึ่งล้วนมีความสำคัญไม่แพ้กัน จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็คือ ปริมาณและเวลาของความต้องการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นนำค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกส้มว่า มีปริมาณธาตุอาหารที่สำคัญอยู่ในระดับพอเพียง หรือไม่พอเพียงความต้องการของต้นพืชอย่างไร ขณะเดียวกันยังต้องวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบพืช เพื่อจะได้ทราบว่าต้นพืชมีความต้องการปริมาณเท่าใด จากนั้นจึงนำค่าวิเคราะห์ของดินและใบพืชมาศึกษาถึงความต้องการธาตุอาหารแต่ละชนิด แล้วคำนวณปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชอย่างแท้จริง ประโยชน์ที่ได้รับคือ จะได้ทั้งคุณภาพของผลผลิตแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีความจำเป็นลง ทั้งนี้ขอเรียนเพิ่มเติมว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
หมู่ 3
ตำบล / แขวง :
หนองหาร
อำเภอ / เขต :
สันทราย
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
50290
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 19 ฉบับที่ 392
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM