เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคโนโลยีฝากท้องมะม่วงหรือที่ชาวสวนเรียกว่าวิธีการ 'อุ้มบุญ'
   
ปัญหา :
 
 

เป็นที่ทราบกันดีว่าในขณะนี้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง  เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมากที่สุด ถ้าชาวสวนมะม่วงสามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้ได้คุณภาพดีและปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขตามที่ตลาดต้องการได้ อาทิ ผิวสวยไม่มีร่องรอยการทำลายของโรคแมลง และที่สำคัญจะต้องไม่มีสารเคมีตกค้างทุกชนิด ราคาขายผลผลิตมะม่วงจะได้ราคาสูงมาก มากกว่าผลไม้อีกหลายชนิด ดังนั้นการขยายพื้นที่ปลูกมะม่วงในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดจะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นหลัก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นอยู่แล้วไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ ขณะนี้มีเทคโนโลยีฝากท้องมะม่วงหรือที่ชาวสวนมักจะเรียกว่าวิธีการ “อุ้มบุญ” ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์มะม่วงด้วยวิธีการเสียบยอด ที่เกษตรกรไม่ต้องตัดต้นแม่ทิ้งในช่วงปีแรก สามารถเก็บต้นแม่สายพันธุ์เดิมไว้ให้ผลผลิตขายได้ก่อน รอจนกว่ายอดพันธุ์ดี (ยอดพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง) ที่เสียบไว้โตพอที่จะให้ผลผลิตได้เต็มที่จึงจะตัดต้นแม่ทิ้งออกทั้งหมด
 
คุณจตุพร พึ่งประดิษฐ์ บ้านเลขที่ 1/1 ต.วังทับไทร กิ่ง อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร พบปัญหามะม่วงกินดิบ (มะม่วงมัน) ที่ปลูกไว้ขายผลผลิตได้ราคาตกต่ำมากในช่วงปี พ.ศ. 2539-40 ขายผลผลิตจากสวนได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3-5 บาทเท่านั้น จึงได้ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีฝากท้องมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบนต้นมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย, หนองแซง, ลิ้นงูเห่า ฯลฯ โดยซื้อยอดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองราคายอดละ 1-2 บาท มาเสียบบนต้นมะม่วงมันดังกล่าว ผลปรากฏว่าหลังจากใช้วิธีการอุ้มบุญเมื่อยอดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองติดดีและแตกยอดออกมาเจริญเติบโตเร็วมาก เนื่องจากต้นตอมะม่วงกินดิบเดิมมีอายุ 6-7 ปี มีลำต้นใหญ่และรากหาอาหารได้เก่ง หลังจากเสียบยอดไปได้เพียง 2 ปี เริ่มให้ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองขายส่งตลาดได้และผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันได้เปลี่ยนยอดเป็น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองทั้งหมด
 
คุณจตุพรได้ให้รายละเอียดเคล็ดลับในการอุ้มบุญว่า ขณะที่ทำการเสียบยอดนั้นต้นมะม่วงพันธุ์เดิมจะต้องไม่มีการแตกใบอ่อน ถ้าพบมีการแตกใบอ่อนอยู่การเสียบยอดจะไม่ค่อยติด, ยอดพันธุ์ดีที่นำมาเสียบนั้นจะต้องเป็นยอดที่ไม่เป็นโรคและต้องเป็นยอดอวบอ้วนและมีตาเต่ง ตำแหน่งที่ทำการเสียบควรอยู่บนกิ่งหลัก ๆ ประมาณ 3-5 กิ่งต่อต้น หลังจากนำยอดเสียบแล้วการพันพลาสติกจะต้องพันจากล่างขึ้นบนเหมือนกับการมุงหลังคาและจะต้องใช้มือกดให้แน่น ๆ หลังจากพันพลาสติกเสร็จจะต้องเอาใบมะม่วง 1 ใบ มาปิดที่ยอดเสียบเพื่อป้องกันแดดส่องมายังตายอดมะม่วง (ถ้ายอดที่เสียบโดนแดดอาจทำให้ไหม้และยอดไม่ติด)
 
คุณจตุพรยังได้บอกว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเสียบยอดแบบอุ้มบุญนั้นควรจะเป็นช่วงปลายฤดูฝน ไม่ควรเสียบในช่วงฤดูหนาว วิธีการสังเกตหลังจากเสียบยอดไปได้ 7 วัน ถ้ายอดยังเขียวอยู่แสดงว่ามีโอกาสติดสูงมาก.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 9 เมษายน 2550
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM