ที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีเกษตรกรนำไผ่กิมซุ่งมาปลูกเมื่อก่อนหน้านี้ มาจนถึงทุกวันนี้ก็ได้รับข้อสรุปว่า เป็นไผ่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทยเป็นอย่างดีคือ ปลูกง่าย โตไว หน่อดกตรงตามความต้องการของตลาด ไม่ต้องขัดขนออก ทำให้ลดแรงงานและเวลาในการขัดขน อีกทั้งทุกส่วนขายได้หมด นับตั้งแต่หน่อไม้ กิ่งพันธุ์ และลำไผ่ สวนเกษตรทิพยสมบัติ สวนเกษตรเชิงอนุรักษ์ ในเครือพิกุลทองล่ำซำ ได้ใช้พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ปลูกไผ่ด้วยการปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น ๆ อาทิ ขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ไผ่กิมซุ่ง เป็นพันธุ์ไผ่จากประเทศจีน ทำการทดลองปลูกรวมทั้งศึกษาและสังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์การให้ผลผลิตในพื้นที่ แห่งนี้ ซึ่งพบว่าเป็นไผ่ที่มีคุณลักษณะดีพันธุ์หนึ่ง เมื่อทำ การขยายพันธุ์เพียงไม่นานก็ได้ผลอย่างดีเยี่ยม นับเป็นไผ่ที่ น่าสนใจอีกพันธุ์หนึ่งที่เหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทยและผู้ที่ต้องการปลูกเพื่อ เป็นอาชีพและเสริมรายได้เชิงพาณิชย์ คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของไผ่กิมซุ่งคือ โตไว ให้ผลผลิตภายในอายุ 7 เดือนหลังปลูก หน่อไม่มีขน ไม่มีหนาม ประหยัดแรงงานในการขัดขน ให้หน่อดก น้ำหนักเฉลี่ย 1.7-3.0 กิโลกรัมต่อหน่อ มีเปลือกบาง เนื้อหนา น้ำหนักดี รสหวานกรอบรับประทานอร่อย ไม่มีเสี้ยน และให้หน่อได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังเป็นไผ่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมได้หลายอย่างเนื่องจากลำไผ่มีเนื้อหนา รูในกระบอกเล็ก ให้เนื้อไม้ปริมาณมาก น้ำหนักดี เนื้อหน่อแน่น เหมาะในการใช้ทำเยื่อกระดาษ สามารถนำไปเผาทำเป็นถ่าน ใช้ประโยชน์ด้านการดูดกลิ่น หรือนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรม ทำตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน และผลิต ภัณฑ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี หรือ จะใช้เป็นไม้ค้ำกิ่งในสวนไม้ผลก็สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากมีความแข็งแรงดี การปลูกไผ่กิมซุ่งนั้นเกษตรกรควรวางแนวระยะปลูกที่ 4x4 เมตร โดยปลูกไร่ละประมาณ 100 กอ โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมหลุมกว้าง 30 ซม. ลึก 30 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 22-7-12 เดือนละครั้ง หลังปลูก 7 เดือน ก็ให้ผลผลิต แล้ว และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับไผ่ทั่วไปจะสามารถเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น ไผ่ศรีปราจีนหรือ ไผ่ตงดำ จะมีราคาประมาณ 25-28 บาทต่อกิโลกรัม และต้องขัดขน ซึ่งจะใช้แรงงานเพื่อล้างหน่อไม้ถึง 10 คนต่อหน่อไม้ 1 ตัน เป็นต้น.
ย้อนกลับ
Download Acrobat Reader Best view with IE 5.0 or later version at 800x600 All comments please mail to Webmaster