เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคดุสิต ประดิษฐ์ที่ปอกกระเทียม แก้ปัญหาให้แม่บ้าน-ใช้งานสะดวก
   
ปัญหา :
 
 
กระเทียม ถือว่าเป็นอาหารประจำครัวเรือน โดยเฉพาะอาหารไทยๆ ของเรา แต่การปอกกระเทียมทำให้หลายคนไม่ชอบ เพราะเสียเวลา โดยเฉพาะกระเทียมหัวเล็กๆ บางคนเกิดอาการแสบตา ยางกระเทียมติดมือและกลิ่นติดมือ

แต่ละคนหาวิธีทำอย่างไรจะปอกกระเทียมได้รวดเร็ว บางคนแกะกระเทียมเป็นกลีบ แล้วใช้มีดใหญ่บุบพอแหลก เปลือกจะล่อนหลุด บ้างก็เอากระเทียมไปใส่ไมโครเวฟ เปิดเวฟเผากระเทียมสัก 1 นาที พอเอากระเทียมออกมา ก็ลอกเปลือกออก ก็แล้วแต่วิธีแต่ละคน

หลายสถาบันการศึกษาคิดค้นเครื่องทุ่นแรงปอกกระเทียม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรม มีราคาค่อนข้างสูงเพราะใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย

สำหรับเครื่องปอกกระเทียมของวิทยาลัยเทคนิคดุสิต คิดค้นโดยนักศึกษา สาขาช่างเคหภัณฑ์ เป็นเครื่องปอกกระเทียมที่เหมาะใช้ในครัวเรือนหรือร้านอาหารที่ใช้กระเทียมประกอบอาหารแต่ไม่ถึงกับอุตสาหกรรม

มีนักศึกษาอย่าง คุณฉัตรชัย ภุมมา คุณจิรัฐ พูลประเสริฐ และ คุณนำพล อักษร นักศึกษาระดับ ปวส. ร่วมกันประดิษฐ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อาจารย์สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์ และ อาจารย์ศานิต ปันเขื่อนขัตย์ อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างเคหภัณฑ์ คอยให้คำปรึกษา



แนวความคิด

หลักการคือ ทำอย่างไรจึงจะปอกเปลือกกระเทียมได้ครั้งละหลายๆ กลีบ โดยไม่ต้องใช้มีด เพราะนอกจากแสบตา ยังมีกลิ่นติดมืออีกด้วย

เคยมีการทดลองโดยใช้แผ่นยางมาห่อกลีบกระเทียมแล้วใช้มือกดคลึงกลับไป-กลับมา ปรากฏว่าเปลือกกระเทียมร่อนหลุดออกได้ง่าย ที่สำคัญกลุ่มนักศึกษาต้องการใช้ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์ เพื่อก้าวเข้าไปสู่การประกอบอาชีพและการแข่งขันทางการค้าในสังคมยุคปัจจุบัน



สิ่งประดิษฐ์มีอะไรบ้าง

โครงสร้างทำจากไม้เนื้อแข็ง มีส่วนประกอบดังนี้

1. ส่วนฐาน ขนาด 200 มิลลิเมตร

2. ส่วนฝาครอบ ขนาด 200 มิลลิเมตร

3. ไม้แหวนครอบตัวใน ขนาด 92x8 มิลลิเมตร

4. ไม้แหวนครอบตัวนอก ขนาด 220x10 มิลลิเมตร

5. แผ่นยางซิลิโคนหล่อสำเร็จรูป ขนาด 200 มิลลิเมตร

6. แผ่นฟองยางรองแผ่นซิลิโคนตัดสำเร็จรูป ขนาด 200 มิลลิเมตร

7. แป้นหมุนทำจากโลหะกันสนิม ขนาด 2 นิ้ว

8. มือจับและปุ่มรองฐานกันเลื่อน พร้อมบรรจุภัณฑ์



ใช้หลักการหินโม่แป้ง

ในการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงครั้งนี้ ใช้หลักการเดียวกับหินบดข้าวให้เป็นแป้ง โดยใช้น้ำหนักของโม่หินเป็นตัวกด แต่ที่ปอกเปลือกกระเทียมนี้ใช้แรงมือเป็นตัวกดน้ำหนักลงไปเพียงเล็กน้อย แล้วจึงหมุนกลับไป-กลับมา ในการหมุนนี้ก็มีอุปกรณ์แป้นหมุนเป็นตัวช่วยผ่อนแรง ทำให้มีความคล่องตัวขณะหมุนกลับไป-กลับมา

ส่วนประกอบของแผ่นยางตัวล่างจะอยู่คงที่ แต่ละส่วนประกอบของแผ่นยางตัวบนนั้นจะหมุนได้รอบตัว ทั้งทวนและตามเข็มนาฬิกา ขึ้นอยู่กับจังหวะของการหมุน



ประโยชน์จากการใช้งาน

สามารถปอกกระเทียมได้ครั้งละหลายๆ กลีบ โดยที่กระเทียมไม่ช้ำ เมื่อผ่านการเสียดสีจนเปลือกกระเทียมร่อนหลุดออกมา



วิธีการใช้

1. เริ่มจากนำกระเทียมใส่ลงไปบนแผ่นยางตัวล่าง ครั้งละประมาณ 1.5-1 ขีด

2. นำส่วนประกอบของแผ่นยางตัวบน หรือฝาครอบมาสวมลงไป

3. ออกแรงกดเล็กน้อย พร้อมหมุนกลับไป-กลับมา 10 เที่ยว โดยประมาณ

4. หยุดหมุนแล้วเปิดฝาครอบออก ให้หยิบกระเทียมเฉพาะกลีบที่เปลือกหลุดออกมา ส่วนกระเทียมที่เปลือกยังไม่หลุดให้หมุนเพื่อปอกเปลือกต่อไป

5. ในแต่ละครั้งที่มีการหยิบกระเทียมที่ปอกแล้วออกนั้น สามารถเติมกระเทียมเข้าไปปอกได้อย่างต่อเนื่อง ข้อพึงระวัง กระเทียมที่จะนำมาปอกนั้น ต้องแยกขนาดเป็นเล็ก กลาง ใหญ่ ไม่ควรปนกันก่อนนำมาปอกด้วยที่ปอกกระเทียม

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ โทร. (02) 241-1317, (02) 241-0099

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 427
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM