เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนวทางแก้ปัญหามลพิษจากฟาร์มหมู
   
ปัญหา :
 
 
ฟาร์มเลี้ยงหมูกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่มีปัญหาต่อกันเรื่อยมา ทำอย่างไร การเลี้ยงหมูจะสามารถอยู่คู่กับสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม่ก่อปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ในเรื่องดังกล่าว คุณสุจิตรา กันยาวิลาศ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม 5 กลุ่มเทคโนโลยีการจัดการมลพิษ ฝ่ายคุณภาพสิ่งแวดล้อมและห้องปฏิบัติการ กรมควบคุมมลพิษ ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษภายในฟาร์มหมู ซึ่งมีทั้งการป้องกันก่อนเกิดปัญหา และควบคุมเมื่อมีการปล่อยมลพิษ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย

โดยคุณสุจิตรา บอกว่า ของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงหมู ประกอบด้วย ของเสียจากตัวหมู ประกอบด้วยมูลและน้ำปัสสาวะจากหมู ของเสียจากวิธีการเลี้ยง เช่น น้ำล้างพื้นคอก เศษอาหารที่ตกค้าง ภาชนะบรรจุหรือถุงอาหารหมูที่ปนเปื้อน หากไม่มีการจัดการของเสียเหล่านี้ให้ถูกวิธี ของเสียก็จะแปรสภาพเป็นมลพิษต่างๆ จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

"โดยถ้าหากมลพิษบางประเภทอยู่ในสภาวะหนึ่งที่แบคทีเรียกลุ่มไม่ใช้อากาศสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก โดยก๊าซเหล่านี้เมื่อออกสู่บรรยากาศจะส่งผลกระทบต่อชั้นโอโซน ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น และกักเก็บความร้อนไว้ในโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน โดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก อันจะมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นนั่นเอง"

คุณสุจิตรา กล่าวต่อไปว่า ในการแก้ไขปัญหามลพิษต่างๆ จากฟาร์มหมูนั้น สามารถทำได้ด้วยหลักการจัดการมลพิษ ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่

- การลดมลพิษจากต้นทางที่แหล่งกำเนิด (Source Reduction) เป็นการลดของเสียตั้งแต่ต้นเหตุคือตัวหมู สามารถทำได้หลายอย่าง ได้แก่ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงผลผลิต เช่น การเปลี่ยนการเลี้ยงจากหมูขุนเป็นการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว มีอัตราการแลกเนื้อสูง สอง การควบคุมการผลิต เช่น การเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพเหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของหมู และช่วยลดการเกิดมลพิษจากมูลและปัสสาวะหมูได้

- การใช้ซ้ำ/ ใช้หมุนเวียน (Reuse/ Recycle) เราสามารถนำของเสียจากฟาร์มหมูมาใช้ซ้ำได้โดยตรง เช่น การนำมูลหมูและน้ำเสียจากฟาร์มมาใช้ปรับปรุงดิน หรือทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืช หรือนำไปเลี้ยงปลา การนำเศษอาหารที่ตกหล่นหรืออาหารเก่าไปเลี้ยงปลา การนำถุงอาหารสัตว์ที่ใช้แล้วมาใช้บรรจุมูลหมู เพื่อนำไปจำหน่ายและลดการใช้ถุงพลาสติค หรือการหมุนเวียนมูลสุกรตากแห้งไปผสมในอาหารสัตว์ เป็นต้น

- การบำบัดของเสีย (Treatment) เราสามารถเลือกระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับน้ำเสียที่มาจากฟาร์มหมูได้ โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการเลือกระบบ ได้แก่ ความสกปรกและปริมาณน้ำเสีย พื้นที่สำหรับจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย เงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้ แต่มีประเด็นการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

- การนำไปใช้ประโยชน์ (Utilization) เป็นกระบวนการที่นำของเสียที่ผ่านการบำบัดจากฟาร์มหมูไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรเอง เช่น การจำหน่ายน้ำหรือตะกอนที่ผ่านการบำบัดแล้วเพื่อทำเป็นปุ๋ย การผลิตไบโอแก๊สโดยระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ เป็นต้น

- การทำลาย (Disposal) คือการกำจัดของเสียให้หมดหรือเหลือน้อยที่สุด โดยวิธีการใดๆ เช่น การเผา การฝังกลบ เป็นต้น

โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูสามารถเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือผสมผสานกันเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษภายในฟาร์มของท่านให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานได้

ซึ่งหากสนใจข้อมูลการจัดการของเสียจากฟาร์มหมู ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือให้ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับฟาร์มหมู โทร. (02) 298-2558 (02) 298-2137 หรือทางเว็บไซต์ www.thaiecac.net

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 20 ฉบับที่ 434
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM