เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยง ปลาบึก เชิงพาณิชย์ แปลงงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง
   
ปัญหา :
 
 

ไม่มีใครปฏิเสธว่าปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความเชื่อว่าผู้ใดได้บริโภคปลาบึกจะประสบแต่ความโชคดี มีอายุยืนยาว สติปัญญาเฉียบคม ปลาบึกจึงมีสมญานามว่า "ปลาขงเบ้ง"

เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื้อแน่นเป็นแว่นๆ คล้ายวงปีของเนื้อไม้ มีมันแทรกรสหวานมัน จึงมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากทั้งในและนอกประเทศ ในขณะที่ปลาบึกในลำน้ำธรรมชาติกลับมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว

 ด้วยเหตุนี้ทำให้ รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย พยายามค้นคว้าวิธีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ในบ่อดิน ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ จนสามารถนำไปขยายพันธุ์เพื่อใช้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในโลก

รศ.ดร.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า โครงการวิจัยเพาะพันธุ์ปลาบึกเริ่มขึ้นจากตนมีความสนใจ จึงนำปลาบึกพ่อพันธ์แม่พันธุ์มาจากแม่น้ำโขงเข้ามาเลี้ยงเมื่อปี 2533 ต่อมาในปี 2543 ได้ทำการวิจัยอย่างจริงจัง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) จนสามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกรุ่นแรกสำเร็จเมื่อปี 2545 จากการวิจัยครั้งนั้นทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์จนเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ ซึ่งต้องทำในลูกปลารุ่นที่ 2-3 เพื่อให้เกิดมาตรฐานของสายพันธุ์

 "จุดเด่นของปลาบึกในสภาพการเลี้ยงในบ่อดินที่ดีจะสามารถโตได้ปีละ 5-10 กิโลกรัม มีผลตอบแทนจากการเลี้ยงประมาณ 5.1 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี ปัจจุบันสามารถพัฒนาการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี ขณะนี้เตรียมขยายผลสู่เกษตรกรที่สนใจ"

  เขาให้เหตุผลว่า ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้แม่โจ้ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาบึกได้นั้นคือการนำลูกปลาบึกที่เกิดเมื่อปี 2545 มาเพาะเลี้ยงควบคู่กับการทดลองใช้อาหารสำหรับปลาบึกที่ ม.แม่โจ้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับปลาบึกพ่อพันธ์แม่พันธุ์ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการกินอาหารของปลาบึกจากแม่น้ำโขง พบว่าปลาบึก ส่วนใหญ่จะกินสาหร่ายน้ำซึ่งมีโปรตีน พลังงาน แร่ธาติสูง มีกรดไขมันและวิตามิน มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก จึงนำสมมติฐานดังกล่าวมาพัฒนาสูตรอาหารเม็ดสำหรับปลาบึกสำเร็จ โดยการนำสาหร่ายสไปรูลิน่ามาผสมในอาหารเม็ดทำให้เจริญพันธุ์ได้ดีและเติบโตรวดเร็ว

 "จากการให้ปลาบึกรุ่นที่ 2 ในบ่อทดลองได้กินอาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของสาหร่าย พบว่าจากเดิมที่ปลาบึกจะสามารถขยายผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 10 ปีขึ้นไป ก็จะเจริญพันธุ์ได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 5 ปี ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำเชื้อมากพอสำหรับเจริญพันธุ์และตัวเมียก็จะมีไข่ที่พร้อมผสมพันธุ์เช่นกัน" รศ.ดร.เกรียงศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย

  สถานีวิทยุ มก.ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนา ม.แม่โจ้ จัดทริปพิเศษ "ทัวร์เกษตร 75 ปีแม่โจ้" ในวันที่ 28-30 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลาบึก พร้อมจำหน่ายพันธุ์ปลาบึก 75 ด้วย (จำนวนจำกัด) สนใจสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่โทร.0-2942-8069-71 ต่อ 114 ในวันและเวลาราชการ (รับเพียง 40 คน)

 

สุรัตน์ อัตตะ

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน 2551
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM