เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สถาบันข้าวอีรี่มีความเป็นมาอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจเมื่ออ่านข่าวในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอีรี่นั้นมีความสำคัญอย่างไร มีข่าวว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคนเอาไปใช้ประโยชน์นำไปจากที่นี่ ขอเรียนถามว่า อีรี่ มีความเป็นมาอย่างไร ประเทศไทยได้อะไรจาก
วิธีแก้ไข :
 
    อีรี่ หรือ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute-IRRI) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2503 โดยการสนับสนุนของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และมูลนิธิฟอร์ด เป็นสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร สำนักงานตั้งอยู่ที่ ลอสมันยอส ลากูนา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มี ดร.แชลเนอรี ชาวอเมริกัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องข้าวโดยเฉพาะในระดับนานาชาติ แต่ละปีจะมีนักวิจัยจากทั่วโลกมาร่วมวิจัย ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ข้าว การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช การจัดการดินและปุ๋ย การจัดการน้ำ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มีการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการปลูกข้าวแบบครบวงจร ให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศต่าง ๆ ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ความสำเร็จที่ดังกระฉ่อนไปทั่วโลก คือการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ไออาร์ 8 หรือ IR 8 ที่เรียกว่า พันธุ์ข้าวมหัศจรรย์ เนื่องจากเป็นข้าวต้นเตี้ย ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง แต่ข้อเสียเมื่อนำมาหุงต้มเมล็ดจะแข็งร่วน ไม่เป็นที่นิยมของคนไทย นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยจึงนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ข้าว กข 1 กข 2 และ กข 3 คุณภาพหุงต้มดีกว่า ไออาร์ 8 ทุกประการ ประโยชน์จากอีรี่ที่มองเห็นได้ชัด ประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยข้าว ได้นำข้าวลูกผสมเด่น ๆ จาก อีรี่มาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ข้าวของไทยที่มีคุณภาพดีให้ผลผลิตสูง เช่น พิษณุโลก 1 ได้จากเลือด ไออาร์ 56, สุพรรณบุรี 60 ได้จาก ไออาร์ 48, สุพรรณบุรี 90 ได้จาก ไออาร์ 4422-98-3-6-1, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ได้จาก ไออาร์ 841-85-1-1-2 และมีอีกหลายพันธุ์ที่ได้จากสายเลือดของอีรี่ แรกเริ่มเดิมทีนั้นสถาบันแห่งนี้ต้องการมาก่อตั้งสำนักงานที่ประเทศไทย แต่เนื่องจากนักบริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้นไม่ยินยอม ด้วยเกรงว่าโรคระบาดใหม่ ๆ ที่มีการทดลองในสถาบันจะมีโอกาสเล็ดลอดไปทำลายต้นข้าวในนาของเราได้ อีกทั้งเกรงว่าพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเราจะถูกบังคับขอไปทั้งหมด แต่ก็ถูกรบเร้าอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่บริหารของอีรี่เพื่อจะให้เกิดที่เมืองไทย ในที่สุดประเทศไทยทิ้งไม้ตายว่า ประเทศไทยพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี อาจจะเกิดปัญหากับบุคลากรและคนงาน อาจส่งผลให้การบริหารงานไม่ราบรื่น เมื่อฝรั่งเจอไม้นี้เข้าจึงหันไปที่ฟิลิปปินส์ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา เทคนิคการเพาะเห็ดโคนน้อย
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
สำโรงทาบ
จังหวัด :
สุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 14 ฉบับที่ 276
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM