เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สับปะรดนางแล ของดีขึ้นชื่อจังหวัดเชียงราย รสหวานกรอบ ปลูกง่าย ให้ผลผลิตมีคุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
สับปะรด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี รวมทั้งปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกแห่งของประเทศไทย มีช่อดอกที่ส่วนยอดของลำต้น เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไป นอกจากนี้ ตาที่ลำต้นยังสามารถเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่างๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน ส่วนสับปะรดที่ใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือสามารถเก็บน้ำได้ตามซอกใบได้เล็กน้อย มีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานต่อความแห้งแล้ง พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์อินทรชิต พันธุ์ขาว พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี และพันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง สับปะรด พันธุ์นางแล ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย ปลูกกันมากในพื้นที่ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด และตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตามสันเขาดอยนางแลที่ขนานไปกับถนนสายเชียงราย-แม่จัน คุณ ปรีชญา พุดน้อย หัวหน้ากลุ่มงานบริหารกองทุน FAT สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า พื้นที่เพาะปลูกสับปะรดสายพันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) ในประเทศไทยมีประมาณ 5 แสนไร่ ผลิตสับปะรดสดได้ จำนวน 2,278,566 ตัน ส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเพื่อส่งออกโดยมีมูลค่าการส่งออก เมื่อปี 2551 ประมาณ 122,511 ล้านบาท ประเทศไทยมีการส่งออกสับปะรดผลสด แช่เย็น แช่แข็ง โดยมีตัวเลขในการส่งออกเมื่อเดือนมกราคม-มีนาคม 2552 จำนวนเพียง 958 ตัน และมีมูลค่าการส่งออก ประมาณ 13.8 ล้านบาท ตลาดหลักที่ส่งออกสับปะรดผลสดไทย ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา อิหร่าน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ ปัจจุบัน ประเทศไทยได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 5 ข้อตกลง ได้แก่ อาเซียน-จีน ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) สินค้าเกษตรภายใต้พิกัดศุลกากร 0804.30 ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้ประเทศไทยส่งออกสับปะรดผลสดไปจำหน่ายได้ โดยคิดอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ (0) จากเดิมการนำเข้าสับปะรดผลสดของประเทศไทยจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 17 โดยให้โควต้าในการส่งออกสับปะรดผลสดปีที่ 1 จำนวน 100 ตัน ปีที่ 2 จำนวน 200 ตัน ปีที่ 3 จำนวน 300 ตัน ปีที่ 4 จำนวน 400 ตัน และปีที่ 5 จำนวน 500 ตัน และเป็นสับปะรดผลสดที่มีน้ำหนักผลรวมทั้งเปลือก 900 กรัม มีหรือไม่มีจุกก็ได้ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จึงเป็นเครื่องมือที่ประเทศไทยควรนำมาใช้เพื่อช่วงชิงโอกาสและขยายช่องทาง การตลาดของสินค้าสับปะรดผลสดไทยโดยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ เกษตรกรผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ไทย ตลอดห่วงโซ่การผลิตและการตลาด เพื่อส่งออกสับปะรดผลสดของไทย ดังนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์จึงได้ขอความร่วมมือจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดให้ได้ตามเกณฑ์ที่ญี่ปุ่นได้กำหนดไว้ รศ.ดร.พิทยา สรวมศิริ หัวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตและการตลาดเพื่อการส่งออกสับปะรดผลสด ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น ภายใต้สิทธิประโยชน์ทางการค้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) กล่าวว่า "การทำโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากข้อตกลง เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ตลอดจนเสริมสร้างความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร ผู้ส่งออกของไทยให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการตลาด ไปสู่การผลิตสับปะรดผลสดคุณภาพเพื่อการส่งออกอย่างครบวงจร รวมถึงขยายโอกาสทางการค้าของสับปะรดผลสดจากประเทศไทยด้วยกระบวนการผลิตภาย ใต้มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice, GAP) และภายใต้มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของประเทศญี่ปุ่น (JAS) ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการกับกระทรวงพาณิชย์ โดยการพัฒนาคุณภาพผลผลิตภายใต้การเปิดเสรีทางการค้า ได้ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสับปะรดในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูก สับปะรดไว้พอสมควร โดยคาดว่าในช่วงเดือนเมษายน 2553 จะมีผลผลิตที่มีคุณภาพส่งไปประเทศญี่ปุ่นได้" คุณสิงห์แก้ว และ คุณยุพินทร์ หัตถะผสุ สองสามีภรรยา เกษตรกรผู้นำ ซึ่งได้รับรางวัลที่ 1 การประกวดผลผลิตสับปะรดระดับจังหวัด อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ที่ 12 ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เล่าว่า "ตนเองปลูกสับปะรดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์นางแล มีลักษณะของพันธุ์นางแล ผลทรงกลม ตานูน เปลือกบาง รสหวาน ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด และพันธุ์ภูแล มีลักษณะให้ผลเล็กเท่ากำปั้น แต่เนื้อในกรอบและหวาน ไม่ฉ่ำน้ำ พื้นที่ปลูก 13 ไร่ โดยเมื่อเริ่มปลูกจะทยอยปลูกแต่ละแปลงไม่ให้พร้อมกัน เพื่อให้ผลผลิตออกตลอดทั้งปี การปลูกสับปะรดเริ่มจากการเตรียมดิน โดยการไถพรวนดินให้ลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร เป็นการเปิดหน้าดินเพื่อระบายน้ำและอากาศ หลังจากนั้นปรับระดับหน้าดินให้เท่ากันเพราะถ้าหน้าดินไม่เท่ากันจะเกิดน้ำ ขังได้ ภายหลังจากไถหน้าดินเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10-30 วัน แล้วจึงนำเอาหน่อสับปะรดที่เตรียมไว้มาปลูก ซึ่งการปลูกสับปะรดต่อไร่ใช้หน่อ ประมาณ 3,000-3,500 ต้น หลังจากปลูกเรียบร้อยแล้วสับปะรดจะให้ผลผลิตเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 โดยแต่ละต้นให้ผลผลิตเพียง 1 ลูก ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกแล้วจะทำการบำรุงดูแลต้นเพื่อให้ลำต้น แตกหน่อออกผลผลิตในรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ซึ่งอายุของสับปะรดที่ปลูกแต่ละครั้งมีอายุประมาณ 4-5 ปี หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ครบอายุแล้ว จะรื้อสับปะรดในแปลงออกแล้วไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 10-30 วัน เพื่อให้เชื้อโรคที่อยู่ในแปลงที่ปลูกสับปะรดมาก่อนนั้นตาย จึงจะทำการปลูกสับปะรดต้นใหม่ ส่วนการดูแลรักษาต้นสับปะรดนั้นไม่ยาก แทบไม่ต้องใส่ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เพราะสับปะรดแทบไม่มีศัตรูพืช หากฉีดพ่นยาฆ่าแมลงก็จะทำให้รสชาติเสียไป การลงทุนน้อยเพียงแต่ตัดหญ้า พรวนดินและบำรุงด้วยปุ๋ยคอกตลอดทั้งปี ก็จะทำให้ผลผลิตออกผลได้เป็นอย่างดี ถือได้ว่าสับปะรดเป็นพืชที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เมื่อออกผลเล็กๆ ใช้ใบห่อผลไว้เพื่อให้ต้นและใบหล่อเลี้ยงผลอย่างเต็มที่ ไม่แตกยอดใบเพิ่ม กระทั่งผลสุกจึงแกะใบออกเก็บผลผลิต ผลที่สุกมากจัดให้อยู่ในระดับเกรดเอหรือน้ำหนึ่ง โดยใช้นิ้วดีดจะมีเสียงแน่นและลดหลั่นเสียงกันลงไปซึ่งเกษตรกรจะทราบเทคนิค นี้กันดี ด้วยภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษทำให้ทราบว่าถ้าจะให้ผลผลิตเลิศรส ต้องเก็บเฉพาะช่วง 4-5 เดือน (เมษายนถึงสิงหาคม) เท่านั้น ทำให้ช่วงเดือนเมษายนผลผลิตจะผลิตไม่พอกับตลาด ผลผลิตที่ได้แต่ละ ครั้งจะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลงและนำไปส่งให้กับผู้จำหน่ายตามสองข้างทาง เชียงราย-แม่จัน ส่วนของราคาโดยประมาณของสับปะรดพันธุ์นางแล กิโลกรัมละ 5-15 บาท เฉพาะเกรดเอหรือที่เรียกว่าน้ำหนึ่งได้ราคากิโลกรัมละ 15 บาท และราคาของสับปะรดพันธุ์ภูแล กิโลกรัม 8-20 บาท น้ำหนึ่งได้ราคากิโลกรัมละ 20 บาท" ผู้สนใจโครงการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตและการตลาดเพื่อ การส่งออกสับปะรดผลสดไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น ภายใต้สิทธิประโยชน์ทางการค้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หรือสนใจปลูกสับปะรดพันธุ์นางแล และพันธุ์ภูแล รสชาติดี ติดต่อสอบถามได้ที่ รศ.ดร.พิทยา สรวมศิริ โทร. (081) 672-4151 หรือคุณสิงห์แก้ว คุณยุพินทร์ หัตถะผสุ โทร. (053) 705-388 และ (084) 741-0264
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงราย
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 479
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM