เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หลังคาจากยางพารา-ป่านศรนารายณ์ เพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐกิจ
   
ปัญหา :
 
 
นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ในขณะเดียวกันก็น่าเสียดายที่ประเทศไทยกลับต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (ยางพารา) จากยุโรป (ที่ซื้อยางพาราจากไทยไปแปรรูป) ปีหนึ่งๆ นับเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท

จะดีขนาดไหน ถ้าประเทศไทยหันมาแปรรูปวัตถุดิบที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ของตัวเองอย่างที่ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศบ้าง

แนวความคิดดัง กล่าว คงมีคนไทยหลายๆ คนที่กำลังคิดอยู่แล้ว อาทิ นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ที่เล็งเห็นความสำคัญและไม่อาจมองข้ามทรัพยากรที่มีอยู่มากในประเทศและไม่ ปล่อยโอกาสที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใช้เองภายในประเทศอย่างที่ไม่ต้องนำ เข้าอีกต่อไป

คุณเถลิงเกียรติ เขตบุญพร้อม คุณสันติสุข บุตรน้อย และ คุณพิจิตรา สุจริต นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี คือ 3 นักศึกษา ที่นำเอาข้อดีของยางพารามาคิดค้นวิจัยกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่เป็นผล สำเร็จ โดยมี รศ.สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

เจ้า ของผลงานบอกว่า จริงแล้วผลิตภัณฑ์ที่คิดได้คือ หลังคายางพารา แต่ไม่ได้ผลิตจากยางพารา 100% ยังมีเส้นใยจากธรรมชาติอีกชนิดที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ คือ ป่านศรนารายณ์ ซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ คือมีความแข็งแรงสูง ทนต่อแสงแดด ทนต่อความร้อน ทนต่อเชื้อราและแมลง

"ดังนั้น พวกตนจึงนำเอาข้อดีดังกล่าว มาคิดค้นร่วมกับยางพารา กระทั่งได้ "หลังคายางพาราจากวัสดุธรรมชาติกับเส้นใยป่านศรนารายณ์" เส้นใยป่านศรนารายณ์เป็นตัวเสริมแรง ในการขึ้นรูป"

หลังคาจาก ยางพารา-ป่านศรนารายณ์ เป็นการขึ้นรูปแบบผสมผสาน มี 2 ลักษณะ

ลักษณะ ที่ 1 คือ ผสมน้ำยางเข้มข้นกับสารเคมีตีให้เข้ากัน แล้วนำไปหมัก จากนั้นนำเส้นใยป่านศรนารายณ์ที่ไม่ได้ตัดลงในแม่พิมพ์แล้วเทน้ำยางที่ผสม สารเคมีแล้วลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมเส้นใยป่านไว้ นำไปอบความร้อน จากนั้นแกะออกและได้ผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคา

ส่วน ลักษณะที่ 2 มีขั้นตอนที่เหมือนกับลักษณะที่ 1 แตกต่างตรงที่ ขั้นตอนการวางป่านศรนารายณ์ลงในแม่พิมพ์ ซึ่งต้องตัดเส้นใยป่านศรนารายณ์ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร

จากการทดสอบพบว่า กระเบื้องมุงหลังคายางพารา-ป่านศรนารายณ์ แบบไม่ตัดในปริมาณ 20 กรัม ดีกว่าอย่างอื่น เนื่องจากมีความสามารถตามมาตรฐาน มอก. ไม่ว่าการทนต่อแรงอัด ซึ่งสามารถทนต่อแรงอัดได้สูงสุดที่ 181,920.67 นิวตัน ซึ่งมาตรฐานของกระเบื้องมุงหลังคาโดยทั่วไป อยู่ที่ไม่น้อยกว่า 450 นิวตัน

ส่วน การกันน้ำ ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องมุงหลังคายางพารา-ป่านศรนารายณ์ ลักษณะใด หรือปริมาณเท่าใด ก็สามารถกันการรั่วซึมของน้ำได้เช่นเดียวกับมาตรฐาน มอก. ของกระเบื้องมุงหลังคาที่ต้องกันการรั่วซึมของน้ำได้

แต่กระเบื้อง มุงหลังคายางพารา-ป่านศรนารายณ์ กลับไม่สามารถทนไฟได้ตามมาตรฐาน มอก. ทีมงานผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรใส่สารเคมีที่มีคุณสมบัติกันไฟ เพื่อให้กระเบื้องมุงหลังคายางพาราไม่ติดไฟ และอาจเพิ่มปริมาณเส้นใยป่านศรนารายณ์ให้มากขึ้น หรืออาจลองเปลี่ยนวัสดุเสริมแรงแทนป่านศรนารายณ์

ทั้งนี้ นอกจากหลังคายางพารา-ป่านศรนารายณ์ ที่คิดค้นขึ้น จะเป็นการใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์ ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศแล้ว หลังคายางพารา-ป่านศรนารายณ์ ยังเป็นหลังคาที่ช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

สำหรับผู้ใดที่สนใจ สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดจากผู้คิดค้นและวิจัยได้ ที่ โทร. (086) 233-5420, (080) 659-5275 และ (086) 036-5227
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 480
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM