เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
"ลองกอง" ระยอง วิศิษฐ์ ลี้ปัทมากุล แนะเทคนิคเก็บผลก่อน ขายก่อน กำไรก่อน
   
ปัญหา :
 
 
"ลองกอง" ผลไม้ยอดฮิตตามฤดูกาล แต่ก่อนมีเฉพาะเขตภาคใต้ ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศ ปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ว่าไปตามเรื่อง แต่สำหรับที่จังหวัดระยองแล้วมีการพัฒนาคุณภาพลองกองอยู่ตลอดเวลา จนสามารถผลิตลองกองคุณภาพดีออกจำหน่าย แข่งกับทางภาคใต้ได้แล้ว เพียงแต่ว่ายังมีผลผลิตไม่มากพอที่จะทำตลาดให้กว้างขวางทั่วถึงได้อย่าง ลองกองทางภาคใต้

คุณวิศิษฐ์ ลี้ปัทมากุล
เกษตรกรคนหนุ่มไฟแรงหัวใจพัฒนา เป็นอีกผู้หนึ่งที่พยายามพัฒนาลองกองให้มีคุณภาพดีอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งทุกวันนี้สามารถทำลองกองให้ติดผลเก็บขายได้ก่อนสวนอื่นๆ โดยใช้เทคนิคง่ายๆ อาศัยการสังเกตเป็นหลักแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับลองกองซึ่งก็ได้ผลดี

คุณ วิศิษฐ์ เป็นเกษตรกรชาวสวนย่านหมู่ที่ 7 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ทำสวนผลไม้ผสมผสานตามแบบฉบับสวนผลไม้ในย่านจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ในเนื้อที่ 24 ไร่ ปลูกลองกอง 300 ต้น ทุเรียน 200 ต้น มังคุดแซมพื้นที่ว่างในสวนราว 100 ต้น สำหรับลองกองนั้น คุณวิศิษฐ์ บอกว่า

"ที่ สวนผม ลองกองจะสุกเก็บขายได้ก่อนสงกรานต์ ซึ่งสวนอื่นๆ ละแวกบ้านจะเก็บขายหลังสงกรานต์ เป็นการผลิตลองกองให้เก็บผลขายก่อน"

คุณ วิศิษฐ์ กล่าวและว่า ปกติลองกองจะติดดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนต้นหนาว แต่ของตนลองกองติดดอกปลายฝนก่อนหนาวเล็กน้อย เทคนิคการทำให้ลองกองติดผลก่อนหนาวมาเยือนตามฤดูกาลก็ไม่ยุ่งยากอะไร

กล่าว คือ ในช่วงเดือนมิถุนายนฝนกำลังชุกให้ตัดแต่งกิ่งต้นลองกองทั้งสวน เอากิ่งไม่ดีออกให้หมด ทำให้ภายในทรงพุ่มโล่งโปร่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นได้ จากนั้นก็ใส่ปุ๋ย ถ้าต้นลองกองอายุ 10 ปี ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 3 ถุง ให้น้ำสม่ำเสมอ ทิ้งระยะให้ต้นสะสมธาตุอาหารเต็มที่ก่อน 1 เดือน หลังจากนั้นจึงใช้สาหร่ายทะเลอัตราส่วน 30 ซีซี ผสมกับปุ๋ยยูเรียครึ่งกิโล ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบเป็นการกระตุ้นให้ต้นแตกใบอ่อน ทิ้งช่วงไปอีก 10 วัน ฉีดสาหร่ายทะเลผสมยูเรียอีกครั้ง ต้นก็จะแตกใบอ่อนออกมา คราวนี้รอให้ใบอ่อนแก่เต็มที่ แล้วก็ทำใบอ่อนอีกครั้ง จนกระทั่งเข้าเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ยขี้ไก่อีกหนให้ต้นสมบูรณ์ใบเขียวเข้มเป็นมัน

ดูว่าต้นสมบูรณ์ ดีแล้วจึงงดการให้น้ำประมาณ 1 เดือน ให้ใบโศกราว 2 ใน 3 ของต้น ถึงช่วงนี้จะเข้าเดือนพฤศจิกายนแล้ว ให้ใส่ปุ๋ย 8-24-24 แล้วขึ้นน้ำติดๆ กัน 3-4 วัน หลังจากขึ้นน้ำประมาณ 7 วัน ต้นจะติดตาดอกออกมาให้เห็น ไม่มีผิดพลาด หากใบช่วงนี้เกิดฝนตกลงมาทำให้ต้นไม่ติดตาดอก ก็ต้องไปเริ่มต้นกักน้ำให้ใบโศกใหม่อีกรอบหนึ่ง แล้วใส่ปุ๋ยขึ้นน้ำตามสูตรเดิม พอดอกทำท่าจะออก ฝนตกลงมาอีกก็ควรเลิกกัน ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่าไปฝืนบังคับจะทำให้ต้นลองกองโทรมเร็วเกินไป

"จริงๆ แล้วกักน้ำครั้งเดียวก็ได้ผลติดตาดอกแล้วครับ"

คุณวิศิษฐ์ กล่าวและว่า พอเห็นดอกให้ฉีดจิบเบอเรลลินยืดดอก ทำให้ขั้วเหนียว 2 ครั้ง ทิ้งช่วงห่าง 5 วันฉีดครั้ง การให้น้ำต้องให้สม่ำเสมอ 3 วันครั้ง กำลังดี พอช่อดอกยืดยาวประมาณ 1 คืบ ให้ตัดแต่งช่อดอก ดูความเหมาะสม อย่าให้ช่อดอกติดชิดกันมากเกินไป ขณะเดียวกันก็ต้องฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง ป้องกันหนอนลงทำลาย

ทิ้งระยะราว 40 วัน ดอกจะบาน หยุดการให้ยา ปล่อยให้ดอกผสมเกสรจนกระทั่งติดผลเป็นเม็ดถั่วเขียวเล็กๆ ซอยช่อผลอีกครั้ง ถ้าต้นลองกองอายุ 10 ปี ควรไว้ช่อประมาณไม่เกิน 100 ช่อ ต่อต้น หากต้นลองกองอายุน้อยกว่า 10 ปี ก็คำนวณช่อดอกให้ลดหลั่นกันลงมา

ระยะ ติดผลเล็กๆ เปลี่ยนสูตรปุ๋ยหันมาใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 ต้นละครึ่งกิโล 15 วันใส่ครั้ง ไปจนกระทั่งลองกองผลใหญ่เข้าสีเหลืองจึงหยุดการให้ปุ๋ย หรือหากเกษตรกรต้องการลดต้นทุนค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงจะใส่ปุ๋ยขี้ไก่ แทนก็ได้

ช่วงติดผลต้องฉีดยาป้องกันเพลี้ยหอย หนอน และเชื้อรา 15 วันฉีดครั้ง หากไม่มีการระบาดก็ไม่ต้องฉีดยาก็ได้ แต่สมควรฉีดยาป้องกันคุมไว้ก่อน โดยเฉพาะยาป้องกันเชื้อราช่วงที่ผลกำลังเจริญเติบโตก่อนเข้าสี หากห่างยา เชื้อราลงทำลายจะทำให้ผิวเปลือกลองกองเป็นจุดด่างดำดูไม่สวยตอนเก็บผลผลิต ขาย ยาป้องกันเชื้อรานั้นต้องฉีดแยกจากยากำจัดศัตรูอื่นๆ ฉีด 10 วัน ต่อครั้ง ต่อเนื่องกัน ไปหยุดฉีดก่อนเก็บผลประมาณ 1 เดือน

ลองกองจาก ติดดอกถึงเก็บผลผลิตใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตประมาณ 120 วัน ก่อนเก็บผล 1 เดือน ควรให้น้ำมากกว่าปกติประมาณ 2 วันครั้ง หรือวันเว้นวัน ถ้าช่วงนี้ฝนตกลงมาจะทำให้ผลลองกองไม่แตก

"การทำลองกองให้ได้ดี อยู่ที่การปฏิบัติของเจ้าของสวนว่าจะมีความละเอียดอ่อนมากน้อยแค่ไหน หากปฏิบัติดีผลผลิตก็จะได้ดีมีคุณภาพตรงกับความต้องการ"

คุณวิศิษฐ์ บอกว่า เทคนิคเหล่านี้บางแห่งเขาก็รู้ๆ กันแล้ว แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ของเกษตรกรในการเรียนรู้ด้วยว่าช่วงไหนตาดอกกำลังฟัก ตัว และช่วงไหนควรกักน้ำหรือขึ้นน้ำ ทั้งนี้อยู่ที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย หากช่วงที่กำลังจะทำตาดอก ฝนตกมากก็ทำไม่ได้ หรือลมหนาวมาช้าก็ต้องดูสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงขณะนั้นว่าเป็นอย่างไรด้วย ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเกษตรกรว่าจะเป็นคนช่างสังเกตมากน้อยเพียงไร

"ที่ สวนผมเก็บลองกองราววันที่ 5-10 เมษายน ก่อนสงกรานต์ทุกปี เก็บก่อนสวนอื่นๆ ประมาณครึ่งเดือน เก็บก่อนได้เปรียบ ขายได้ราคาดีกว่า เพราะเป็นลองกองต้นฤดู"

สำหรับตลาดนั้น คุณวิศิษฐ์ บอกว่า เก็บส่งร้านพี่สาว ตั้งอยู่ที่ริมถนนสายบ้านบึง-แกลง ส่วนหนึ่งก็นำไปส่งขายตลาดเขาดิน ซึ่งเป็นตลาดผลไม้ใหญ่ ราคาลองกองต้นฤดูกาลปีนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 55 บาท

"ก็พอได้ค่าปุ๋ย อยู่หรอก"

คุณวิศิษฐ์ กล่าวและว่า หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้วก็ต้องพักต้นประมาณ 1 เดือน แล้วจึงตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยขี้ไก่ให้เต็มที่ ช่วงนี้จะเข้ารอบการทำลองกองรุ่นต่อไปแล้ว

การทำลองกองให้ผลใหญ่ช่อ ใหญ่สวยนี้ คุณวิศิษฐ์ บอกว่า อยู่ที่การตัดแต่งและการไว้ช่อ ต้องดูปริมาณช่อกับต้นให้สมดุลกัน การแต่งควรแต่งช่วงเป็นดอกและติดผล มองดูเห็นช่อผลเยอะเกินไปก็ซอยออก อย่าให้ช่อชิดติดกัน จะทำให้ได้ผลผลิตช่อไม่ใหญ่ ผลเล็ก อยากได้ลองกองสวยๆ ช่อใหญ่ ผลใหญ่ อย่าเสียดายช่อเล็ก ต้องซอยให้ช่อห่างแล้วจะได้ช่อใหญ่สมใจนึกบางลำภู

ระหว่าง ลองกอง ทุเรียน มังคุดในสวนนั้น ถามว่าอย่างไหนทำยากกว่ากัน คุณวิศิษฐ์ ตอบแบบไม่ลังเลใจเลยว่า ทุเรียนทำยากกว่ามาก ทุเรียนมีอะไรๆ ที่อ่อนแอกว่า ศัตรูก็มากกว่า

ส่วนราคาขายนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และกลไกตลาด ปีไหนผลไม้ดี ติดผลผลิตมาก ปีนั้นราคาขายก็ตกต่ำ เพราะตลาดมีของมาก ปีไหนผลผลิตน้อย ราคาขายส่งก็ดี

สำหรับสวนคุณวิศิษฐ์มีการจัดการ ที่ดี ผลไม้ในสวนล้วนแต่มีคุณภาพทั้งสิ้น สนใจพูดคุยกัน โทร.ไปได้ที่ (081) 130-9846 เจ้าตัวบอกยินดีต้อนรับทุกท่าน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 480
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM