เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ทำนาแบบโยนกล้า ประหยัด ลดต้นทุน เกษตรกรช่องสาริกา พัฒนานิคม ทำแล้วได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
ปัจจุบัน เทคโนโลยีการเกษตรได้รุดหน้าไปไกลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านเมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตร ยาปราบศัตรูพืช ทุกปัจจัยการผลิตล้วนต้องใช้เงินทุนสูง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รูปแบบวิธีการทำนาข้าวได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

นึกย้อนอดีต ไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน สอบถามคนเก่าคนแก่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ ได้ความว่า แต่เดิมชาวนายังใช้ควายไถนาอยู่เลย ถนนหนทางก็ไม่สะดวก รูปแบบการทำนาก็จะใช้วิธีปักดำ กว่าจะเตรียมแปลงเสร็จ ก็ใช้เวลาข้ามเดือน ส่วนพวกปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยากำจัดวัชพืช ชาวนาแต่ก่อนไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ ปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไปตามมีตามเกิด หากช่วงไหนแล้งหนัก น้ำไม่มี ก็อดกินข้าวกัน แต่ถ้าช่วงไหนอุดมสมบูรณ์น้ำท่าเพียงพอต่อการเพาะปลูก ก็ได้กินข้าวกันอิ่มหนำสำราญ เหลือก็เอาไปแลกเกลือ แลกปลา กันตามแต่มี

พอ ล่วงมาถึงยุคการเกษตรแบบปฏิวัติเขียว เกษตรกรทำนาแบบใช้เครื่องจักรกล ปุ๋ยเคมี ยากำจัดแมลงศัตรูพืชแทนแรงงานคน แรงงานถูกใช้น้อยลง เพราะมีเครื่องทุ่นแรงช่วยได้เยอะทีเดียว ทำนาได้เร็วขึ้น ผลผลิตต่อไร่สูง แต่เงินลงทุนก็สูงขึ้นเช่นกัน แต่ก็ยังพอขายได้กำไรมาบ้าง เดือดร้อนผู้บริโภคที่ต้องกินข้าวที่ปนเปื้อนสารเคมีมากมายหลายชนิด ดังนั้น หน่วยงานทางภาครัฐจึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์ กันมากขึ้น แต่ด้วยค่านิยมความเชื่อที่ฝังแน่นด้วยเหตุที่ว่าการทำนาในรูปแบบนี้ให้ผล ผลิตมาก ใช้แรงงานน้อย ขายข้าวได้ราคาดีด้วย จึงมีเกษตรกรเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ใส่ใจเรื่องการทำนาข้าวแบบอินทรีย์ ซึ่งชาวนาโดยมากก็ยังยึดรูปแบบการทำนาแบบใช้สารเคมีเหมือนเดิม เพราะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ และควบคุมโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ง่าย โดยไม่ต้องเข้าไปนั่งหลังขดหลังแข็งเฝ้าแปลงนาแต่อย่างใด

ผ่านยุค ปฏิวัติเขียวมาแล้ว ต่อมาก็เป็นยุคปัจจุบัน เกษตรกรบางคนเริ่มให้ความสำคัญต่อการทำนาข้าวแบบอินทรีย์ เพราะมีราคาเป็นแรงจูงใจ ข้าวอินทรีย์ที่ปลอดสารจะขายได้ราคาดีกว่าข้าวที่มีส่วนผสมของสารเคมี และยาฆ่าแมลง จากนั้นเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศถูกนำเข้ามาปรับใช้ ให้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย รวมทั้งภูมิปัญญาชาวบ้านก็ถูกดึงเข้ามาผสมผสานกัน ได้แก่ การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไว้ใช้เอง การทำนาแบบไถกลบแทนการไม่เผาตอฟาง การปลูกพืชเสริมเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช สมุนไพรพื้นบ้านก็สามารถนำมากำจัดแมลงศัตรูพืชได้ การทำนาเป็ดบ้าง บางพื้นที่ก็เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนข้าว เพื่อเป็นการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก และเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเพียงไม่นาน คือ เทคโนโลยีการโยนกล้า เป็นเทคโนโลยีที่นำมาจากประเทศจีน โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการทำนาด้วยวิธีโยนกล้า เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้

การทำนาแบบโยนกล้า มีรูปแบบและวิธีการเหมือนทำนาดำ แต่ระยะเวลาจะสั้นกว่าและไม่ต้องนำต้นกล้าที่เพาะไว้ไปปักดำแต่อย่างใด ใช้วิธีการโยนทีละหลายๆ ต้น ต้นกล้าที่จะนำมาโยนใช้เวลาในการเพาะ ประมาณ 15 วัน ก็สามารถนำมาโยนได้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเทคโนโลยีนี้ใช้ได้ผล และมีเกษตรกรทดลองทำกันแล้ว

เกษตรกรที่ทดลองทำนาแบบโยนกล้าคือ คุณจันทนา โชคพัฒนพงษ์ หรือ ผู้ใหญ่แอน เป็นเกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 6 ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี คุณจันทนาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เพิ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2552 ที่ผ่านมานี้เอง สามีเป็นผู้คุมเรือนจำ มีบุตรชายด้วยกัน 2 คน คนโต อายุ 7 ขวบ คนเล็ก อายุ 4 ขวบ วัยกำลังซนได้ที่ ชอบเพลงหมอลำเป็นการส่วนตัว อาชีพหลักของผู้ใหญ่แอนคือ เลี้ยงโคนม โคเนื้อบ้าง และทำนา (เดี๋ยวนี้ผู้หญิงกับผู้ชายมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันแล้ว)

ผู้ใหญ่ แอน เล่าให้ฟังว่า ?เดิมไม่รู้จักวิธีการทำนาแบบโยนกล้าหรอก แต่ที่บ้านก็ทำนาข้าวอยู่ก่อน เป็นนาหว่านมานานเกือบ 10 ปีแล้ว รู้จักวิธีการทำนาแบบนี้ก็เพราะ คุณสิฐธิชัย อินทร์สุข หรือ พี่น้อย ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกชุมชนสัมพันธ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด มหาชน เข้ามาแนะนำเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอพัฒนานิคมให้รู้จัก และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์แบบโยนกล้า?

คุณสิฐธิชัย บอกว่า ตนทำงานเกษตรมาก่อน เรียนรู้วิธีการเข้าพบปะพูดคุยกับเกษตรกรมาพอสมควร พอเปลี่ยนสายงานมาทำตำแหน่งหน้าที่นี้ จึงช่วยเอื้อการทำงานสะดวกขึ้น ตนมีหน้าที่คอยดูแลและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโยนกล้า โดยเมล็ดพันธุ์ที่ตนนำมาให้เกษตรกรปลูกนั้นคือ ข้าวเจ้าพันธุ์หอมนิล ตนในฐานะตัวแทนของ บริษัท เบทาโกร จำกัด มหาชน มีส่วนช่วยเหลือในเรื่องการตลาด และจัดหาเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกร

จึง เลือกพื้นที่ที่จะเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวเจ้าพันธุ์หอมนิล คือเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลช่องสาริกา สาเหตุที่เลือกเขตพื้นที่นี้เพราะว่าหมู่บ้านนี้เกษตรกรโดยส่วนมากมีอาชีพทำ นาเป็นหลัก โดยมีพื้นที่การทำนาทั้งหมด จำนวน 1,400 ไร่ แต่พื้นที่อื่นเกษตรกรยังปลูกพืชไร่ อาทิ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ตำบลช่องสาริกา มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพียงพอ ได้แก่ แหล่งน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และหนองห้วยส้ม จึงสามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี

ผู้ใหญ่แอน เล่าต่อไปว่า ?ทดลองทำนาข้าวแบบโยนกล้าจำนวนทั้งหมด 8 ไร่ แบ่งเป็นพันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี จำนวน 2 ไร่ และข้าวหอมนิลอีกจำนวน 2 ไร่ ทดลองโยนกล้าเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2552 ที่ผ่านมานี้เอง และเก็บเกี่ยวไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2553 นับเฉพาะพันธุ์ข้าวหอมนิลเก็บเกี่ยวได้ปริมาณ 3 ตัน กว่าๆ เฉลี่ยได้ไร่ละประมาณ 500 กิโลกรัม ถือว่าได้มากกว่านาหว่าน และต้นทุนก็ถูกกว่า?

สำหรับเรื่องการตลาดนั้น จะขายกิโลกรัมละ 60 บาท เพราะเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดสาร ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีในขั้นตอนการผลิต วิธีการส่งเข้าโรงสี เมื่อผ่านโรงสีแล้วก็นำข้าวสารที่ได้มาบรรจุภัณฑ์จำหน่ายเอง ซึ่งเราจะสามารถกำหนดราคาเองได้

วิธีการทำนาแบบโยนกล้านั้น ผู้ใหญ่แอน เล่าให้ฟังว่า ก่อนอื่นเราก็ต้องเตรียมแปลงปลูกข้าวให้พร้อม โดยการไถกลบ ไถดะ คราด พร้อมสำหรับที่จะโยนต้นกล้าลงได้ โดยปล่อยน้ำเข้าให้มีลักษณะดินเลนพอประมาณ เพื่อให้รากต้นกล้าจับยึดดิน ทรงตั้งตรงได้ เริ่มแรกก็นำข้าวพันธุ์หอมนิลมาเพาะในกระบะ ซึ่งกระบะที่เห็นในรูปมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลุมกลมๆ อยู่ภายใน มีไว้สำหรับบรรจุดินปลูก ซึ่งดินที่ใช้ในการเพาะกล้าคือ ดินร่วน เมื่อเตรียมดินเสร็จ ก็นำเมล็ดข้าวมาโรย หลุมละประมาณ 3-4 เมล็ด จนเต็มถาดเพาะ จากนั้นก็ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ดูแลสม่ำเสมอ อย่าให้ถูกแสงแดดมาก สามารถนำไปโยนกล้าได้เลย

วิธีการโยนนั้น ผู้ใหญ่แอน บอกว่า ถือถาดไปแล้วก็จับโยนเป็นกระจุกๆ ลักษณะการโยนให้โยนสูงกว่าศีรษะ ข้าวก็จะลอยลงไปจับยึดกับดินโดยอัตโนมัติ ใช้แรงงานคน จำนวน 1 คน โยนกล้าได้ประมาณ 4-5 ไร่ ต่อวัน ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ก็ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่านั้นเอง ขณะที่นาหว่านส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ 25 กิโลกรัม ต่อไร่

การดูแล รักษา การทำนาตามแบบฉบับวิธีการโยนกล้า ไม่ต้องใช้แรงงานคนเฝ้านกหรือหนู ส่วนวัชพืชก็ไม่จำเป็นต้องฉีดยาเพราะต้นข้าวเจริญเติบโตแตกกอดี วัชพืชโตไม่ทัน ปุ๋ยเคมีก็ไม่ต้องใส่ เพราะข้าวงามอยู่แล้ว ยิ่งได้น้ำที่มาจากหนองห้วยส้มด้วย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเลย ใส่ปุ๋ยขี้หมูตั้งแต่ขั้นตอนการไถเตรียมดินแล้ว ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว ประมาณ 2 สัปดาห์สุดท้าย จะฉีดฮอร์โมนเพื่อเร่งให้รวงข้าวชูตั้งตรง แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว

ในช่วงการเก็บเกี่ยวนั้น สิ่งแรกที่เจ้าของจะต้องทำคือ การเก็บพันธุ์ข้าวโดยใช้เคียวเกี่ยวข้าวเลือกเอากอข้าวที่มีรวงหนัก ต้นสมบูรณ์ เมล็ดเต็ม เพื่อเก็บพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกครั้งหน้า เก็บไว้ประมาณครั้งละ 300 กิโลกรัม

ผู้ใหญ่แอนเปรียบเทียบความแตก ต่างระหว่างการทำนาหว่านกับการทำนาแบบโยนกล้า ให้ฟังว่า ?การทำนาแบบหว่านประหยัดแรงงานก็จริง แต่ต้องใช้เงินทุนมาก สู้การทำนาแบบโยนกล้าไม่ได้ ถึงแม้จะมีความยุ่งยากในกระบวนการเพาะกล้าบ้าง อาจจะเป็นเพราะตนยังไม่มีความชำนาญก็เป็นได้ แต่ประหยัดต้นทุนการผลิตได้มากทีเดียว ทั้งเรื่องพันธุ์ จำนวนแรงงาน ระยะเวลาการทำนา ผลผลิตที่ได้ก็มากกว่านาหว่าน แถมยังสามารถเก็บพันธุ์ไว้จำหน่ายได้ ที่สำคัญผลผลิตที่ได้ปลอดสารเคมี จึงทำให้ตนสามารถกำหนดราคาการจำหน่ายสูงได้?

เรื่องตลาดข้าว ทุกวันนี้ผลผลิตออกมายังไม่มาก โดยเฉพาะข้าวหอมนิล ที่มีคุณค่าสูง จึงไม่มีปัญหาเรื่องการตลาดแต่อย่างใด

หากท่านใดสนใจ อยากสอบถามข้อมูลการทำนาแบบโยนกล้า หรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก็สามารถติดต่อพูดคุยกับเกษตรกรต้นแบบที่ทำนาแบบโยนกล้า ได้ที่ โทร. (089) 258-2764 (ผู้ใหญ่แอน) หรือติดต่อสอบถาม คุณสิฐธิชัย ได้ที่ โทร. (081) 665-9289
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 478
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM