เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูก"มะนาวนอกฤดู"ในถุงพีอี เทคนิคใหม่ "สวนเคหการเกษตร"
   
ปัญหา :
 
 
ผลจากการบริโภคมะนาว ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ราคามะนาวยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว มีการกล่าวกันว่าปลูกมะนาวไว้หนึ่งต้นมีสิทธิ์จับเงินหมื่น ยิ่งถ้าเป็นช่วงนอกฤดูด้วยแล้วราคามะนาวก็จะยิ่งพุ่งพรวดสูงถึงลูกละ 5-7 บาททีเดียว ว่ากันว่ามะนาวเป็นผลผลิตทางการเกษตรชนิดเดียวที่ขาดไม่ได้สำหรับการประกอบ อาหารใน (เกือบ) ทุกเมนู ด้วยเหตุนี้เองทำให้ "เปรม ณ สงขลา" เจ้าของสวนเคหการเกษตร อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี จึงพยายามหาวิธีที่จะทำให้มะนาวที่ปลูกไว้ในสวนให้ผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้ง ปี จนในที่สุดก็ค้นพบวิธีปลูกแบบใหม่ด้วยการใช้ถุงพลาสติกพีอีอย่างหนามาใช้ ปลูกมะนาวแทนการปลูกลงในดิน เนื่องจากง่ายต่อการบังคับให้น้ำและเติมธาตุอาหารในดิน "ผมไปเห็นวิธีนี้ที่อินโดนีเซีย ที่นั่นเขาจะใช้ถุงกระสอบป่านจะทนมากไม่ใช้พลาสติกแบบบ้านเรา อย่างกรมวิชาการจะใช้ถังซิเมนต์ปลูก ข้อเสียจะเคลื่อนย้ายยาก ส่วนตัวคิดว่าถุงพลาสติกพีอีน่าจะเหมาะที่สุด เพราะมีอายุการใช้งานนาน 4-5 ปี ราคาก็ไม่แพงมาก ที่สำคัญเคลื่อนย้ายได้ง่ายเหมาะสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่มากนัก" เปรมเผยต่อว่า วิธีการปลูกก็ไม่ต่างจากปลูกบนพื้นราบ แต่ข้อดีคือการบังคับให้น้ำและเติมธาตุอาหารจะดีกว่ามาก ซึ่งจะมีผลต่อการออกดอกของมะนาวนอกฤดู โดยส่วนผสมของธาตุอาหารจะประกอบด้วยกาบ มะพร้าวสับหมักทิ้งไว้ 2 เดือนปริมาณ 2 ใน 3 ของทั้งหมด ที่เหลือเป็นดินและกิ่งไม้สับหมักในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน วัสดุปลูกที่ว่านี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นว่าวัสดุใดที่หาง่ายและราคาถูก มากที่สุด จากนั้นนำมาคลุกกับปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงสูตร 15-5-20 หรือใกล้เคียงประมาณ 1 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 1 ตัน ทั้งนี้เพื่อเตรียมเป็นธาตุอาหารสำรองเมื่อมะนาวโตขึ้นและรากกระจายเต็มถุง ในระยะต่อไป ส่วนการเติมปุ๋ยเคมีทางดินนั้น ช่วงปีแรกถึงปีครึ่งปริมาณปุ๋ยสำรองถือว่าเพียงพอ ช่วงต่อไปให้เติมพร้อมวัสดุปลูกประมาณ 3-6 เดือนต่อครั้งตามสภาพการยุบตัวของวัสดุปลูก โดยปุ๋ยที่เติมให้ใช้สูตรเดิมหรือใกล้เคียงประมาณ 300 กรัมต่อต้น ส่วนจุลธาตุหรือปุ๋ยทางใบอื่นๆ ต้องพ่นเสริมบ้างตามสภาพความต้องการของต้น เนื่องจากวัสดุปลูกในถุงระยะยาวอาจจะขาดจุลธาตุปลีกย่อยได้ "การปลูกมะนาวในลักษณะนี้ มะนาวจะออกดอกและติดผลเป็นช่วงแบบไม่มีฤดูกาล เนื่องจากเป็นการปลูกที่มีการควบคุมน้ำและธาตุอาหารให้อยู่ในลักษณะที่จะทำ ให้สัดส่วนการสะสมอาหารและการแตกยอดอย่างสมดุล เพียงจัดการปลิดดอกหรือผลที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงที่ราคาไม่ดีออกไปและไปเน้น ในช่วงที่ราคาดี การปลิดผลในช่วงราคาไม่ดีออกไปจะช่วยลดภาระอาหารที่สะสมในต้นด้วย" เปรมชี้ข้อดี เจ้าของสวนเคหการเกษตรยอมรับว่า มะนาวในถุงจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ 1.5-2 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 4 ปีโดยประมาณ ซึ่งการให้ผลผลิตมากเกินไปในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้ต้นอ่อนแอและมีอายุสั้น ลง จึงต้องควบคุมให้มะนาวมีผลผลิตพอดีกับอายุขัย นอกจากนี้ขนาดทรงพุ่มก็เป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการให้ผลผลิตของมะนาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลจัดการจากเจ้าของสวนด้วย "สายพันธุ์ก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างสายพันธุ์มะนาวที่ตลาดนิยมสูงสุดคือแป้น เพราะให้น้ำเยอะ แต่แป้นมีจุดอ่อนเรื่องโรคไวรัสทำให้มีอายุสั้น ส่วนตาฮิติหรือที่เรารู้จักในนามพันธุ์ทูลเกล้า พันธุ์นี้จะทนต่อโรคและแมลง ขนาดของผลใหญ่ แม้รสและกลิ่นไม่หอมจับใจนัก ในแง่การลงทุนก็ถือว่าคุ้ม ที่สวนผมก็มีปลูกทั้งสองสายพันธุ์ แต่แป้นจะให้ผลผลิตดีกว่า" เจ้าของสวนกล่าวถึงข้อดีของมะนาวแต่ละสายพันธุ์ การปลูกมะนาวในถุงพลาสติกพิอีอย่างหนาสามารถบังคับการให้น้ำและธาตุ อาหาร อันนำไปสู่การให้ผลผลิตนอกฤดูกาล นับเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวที่มีผลผลิตขายตลอดทั้งปี "สุรัตน์ อัตตะ"
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 22 มิถุนายน 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM