เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคผลิต 'ยางก้อนถ้วย' คุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
ปัจจุบันชาวสวนยางพาราสามารถ เลือกขายยางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และ ยางก้อนถ้วย โดยเกษตรกรใน แหล่งปลูกยางเก่า อย่างพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกส่วนใหญ่ขายในรูปยางแผ่นดิบและยางแผ่นรม ควัน ขณะที่เกษตรกรใน แหล่งปลูกใหม่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมขายยางในรูปยางก้อนถ้วยหรือยางก้นถ้วย ซึ่งหากคุณภาพไม่ดีจะถูกกดราคารับซื้อ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้มีเทคนิคการผลิตยางก้อนถ้วยเพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คุณภาพยางก้อนถ้วย ให้ตรงกับความต้องการของโรงงานยางแท่ง ซึ่งจะช่วยให้ขายได้ราคาดีขึ้น นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ยางก้อนถ้วยเป็นรูปแบบหนึ่งของผลิตผลยางที่มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตยาง แท่ง เนื่องจากยางมีความสะอาดถ้าผลิตได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่ต้องลงทุนล้างหรือขจัดสิ่ง สกปรกออก และเนื้อยางของยางก้อนถ้วยยังมีความยืดหยุ่นดีและง่ายต่อการทำงานของเครื่อง รีดเครพ ดังนั้น จึงสามารถนำไปผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่มีคุณภาพสูงได้ การผลิตยางก้อนถ้วยมีหลักปฏิบัติง่าย ๆ คือ ให้น้ำยางที่ได้จากการกรีดหลายครั้งจับตัวรวมกันในถ้วยเดียวกัน จากนั้นก็เก็บรวบรวมเพื่อนำไปผึ่งให้แห้งแล้วส่งจำหน่าย ในเบื้องต้นเกษตรกรต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับผลิตยางก้อนถ้วย ซึ่งแนะนำให้ใช้กรดฟอร์มิคเข้มข้น 94% ทำให้เจือจางเหลือ 3% โดยใช้กรดเข้มข้น 2 ช้อนแกง ผสมน้ำสะอาด 3 กระป๋องนม จะได้กรดเจือจาง 900 มิลลิลิตร สามารถนำไปใช้ผสมกับน้ำยางในถ้วยได้ 45-50 ต้นต่อครั้งกรีด ซึ่งกรดดังกล่าวมีข้อดี คือ ช่วยให้ยางจับตัวเร็ว ยางหลังจับตัวไม่ส่งกลิ่นเหม็น ทั้งยังไม่มีสารตกค้างในยาง และเนื้อยางยังยืดหยุ่นดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังต้องจัดเตรียมถ้วยรับน้ำยางให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำยางด้วย ผอ.สถาบันวิจัยยาง กล่าวถึงวิธีผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ว่า วันกรีดที่ 1 กรีดยางต้นแรกถึงต้นสุดท้ายแล้วย้อนกลับมาต้นแรกอีกครั้ง บีบน้ำกรดที่เจือจางแล้วลงไป 1 ครั้ง ประมาณ 15-20 มิลลิลิตร (2 ช้อนแกง) จากนั้นใช้ไม้สะอาดคน ให้กรดกับน้ำยางข้นเข้ากัน ยางจะจับตัวสมบูรณ์ไม่เกิน 45 นาที ทำเช่นนี้จนถึงต้นสุดท้าย ปล่อยให้ยางจับตัวเป็นก้อนอยู่ในถ้วยจนถึงวันรุ่งขึ้น วันกรีดที่ 2 ให้จับก้อนยางในถ้วยตะแคงเพื่อให้ของเหลวซึ่งมีสภาพเป็นกรดไหลออกจากก้อนยาง และจับตัวรวมกับน้ำยางที่กรีดในวันที่ 2 ได้ ทำการกรีดยางเช่นเดียวกับวันแรกย้อนกลับมาเพื่อใส่น้ำกรดในปริมาณที่น้อย กว่าวันแรก แล้วใช้ไม้ที่สะอาดคนน้ำยางเช่นเดิม ยางจะจับตัวในถ้วยพร้อมกับก้อนยางของวันแรก และ วันกรีดที่ 3 เป็นวันหยุดกรีด เกษตรกร สามารถเก็บก้อนยางได้ทันที เพื่อนำไปผึ่งไว้นาน 3 วันให้แห้ง หากไม่เก็บทันทีให้แขวนไว้บริเวณต้นยาง เพื่อจะได้รวมกับก้อนยางในวันถัดไป ส่วนของเหลวที่เหลือในถ้วยให้เททิ้งหรืออาจจับถ้วยตะแคง วิธีนี้ชาวสวนยางเรียกว่า กรีด 2 มีด หรือกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ซึ่งเกษตรกรสามารถที่จะกรีดได้ถึง 4 มีด และ 6 มีด แต่ต้องระวังเพราะยางอาจถูกขโมยได้ สำหรับการซื้อขายยางก้อนถ้วย พ่อค้าจะประเมินราคาจากเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่อยู่ในก้อนยาง โดยยางกรีด 2 มีด แล้วนำไปผึ่งไว้นาน 3 วัน ยางก้อนถ้วยจะมีความชื้นเฉลี่ย 45% มีปริมาณเนื้อยางแห้ง 55% ซึ่งจะคิดราคาอ้างอิงจากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เป็นหลัก ถ้ายางก้อนถ้วยสกปรก หรือมีขี้เปลือกและสิ่งปะปน จะถูกหักราคากิโลกรัมละ 5-10 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของสิ่งปะปน ดังนั้น เกษตรกรควรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนสูง ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยเกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น หากสนใจเทคนิคการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่ม เติมได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-7557-8.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM