เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผศ.พัชรี มงคลวัย กับการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์
   
ปัญหา :
 
 
"แมลงดานา" จัดเป็นแมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำที่ชาวบ้านนิยมบริโภคอยู่ใน 10 อันดับแรกของบรรดาแมลงกินได้ นิยมบริโภคกันทุกภาคของประเทศไทย แหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงดานาคือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เป็นน้ำนิ่ง อาทิ หนอง คลอง บึง และตามท้องนา เป็นต้น แมลงดานาจะออกหาอาหารในตอนกลางวัน ในเวลากลางคืนปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจึงบินออกจากแหล่งน้ำบินวนเวียนอยู่ ใกล้ๆ ที่อาศัย เมื่อใกล้สว่างจึงอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวน้ำเป็นตัวนำทางในการ บินกลับไปยังแหล่งอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวบ้านมีวิธีการจับแมลงดานา ด้วยการงมและช้อนจับในน้ำ และการใช้หลอดไฟแบล็คไลต์ดักล่อให้แมลงดานาเข้ามาหา และนำน้ำใส่กะละมังวางไว้ใต้หลอดไฟในเวลากลางคืน หรือใช้ตาข่ายดักจับ เพื่อนำไปประกอบอาหารประเภทน้ำพริกต่างๆ เหลือนำไปจำหน่าย ปัจจุบันพบว่ามีการนำแมลงดานามาทอดกรอบปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยจำหน่ายตาม ร้านขายแมลงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ ไข่ของแมลงดานาได้นำมาบริโภคด้วยเช่นกัน ทำให้แมลงดานาในธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ช่วงนอกฤดูกาลจะหาแมลงดานาในท้องตลาดได้ยากมาก อาจจะมีราคาแพงถึงตัวละ 10-20 บาท โดยเฉพาะแมลงดานาตัวผู้ซึ่งมีกลิ่นฉุนเป็นที่นิยมมากกว่าตัวเมีย "แมลง ดานา" ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่มีมูลค่าการซื้อขายปีละหลายสิบล้าน บาท แมลงดานามักจะอาศัยอยู่ในสภาพธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีเฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน คือพม่าและกัมพูชาเกือบทั้งหมด โดยตัวหนึ่งราคาขายอยู่ที่ตัวละ 8-10 บาท ปัจจุบันในบ้านเราจับได้ไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และพบว่ามีผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์น้อยมาก เหตุผลหนึ่งของการเลี้ยงที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผลการเลี้ยงมีอัตราการ รอดต่ำ เนื่องจากแมลงดานามีพฤติกรรมในการกินกันเองสูง มีการกินกันเองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ดังนั้น หากมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงแมลงดานาที่มีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย สูง และมีการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดแรงงานและต้นทุนการเลี้ยงได้เป็น ผลสำเร็จแล้ว อาจทำให้การเลี้ยงแมลงดานาเพื่อการค้ามีผลตอบแทนการเลี้ยงได้อย่างคุ้มค่า และน่าสนใจไม่แพ้สัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้เช่นกัน ผศ.พัชรี มงคลวัย อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับคณะผู้วิจัย จึงคิดค้นงานวิจัยเกี่ยวกับการตลาดและการเพาะเลี้ยงแมลงดานา โทร. (081) 320-0683, E-mail:patcharee.mo@hotmail.com เล่าว่า จากการสำรวจพบว่า แมลงดานาที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แมลงดานาพันธุ์หม้อ แมลงดานาพันธุ์ลาย และแมลงดานาพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง ซึ่งพันธุ์หม้อมีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทอง และคลุมไม่มิดส่วนหาง ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีไข่ดก ซึ่งจะพบพันธุ์นี้วางขายอยู่มากในท้องตลาด พันธุ์ลาย มีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทองเช่นเดียวกัน แต่จะคลุมมิดส่วนหาง มีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และพันธุ์เหลือง (พันธุ์ทอง) มีลักษณะที่สังเกตได้คือ จะมีสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไข่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยชอบกินแมลงดานาพันธุ์อื่นๆ เป็นอาหาร ดังนั้น ควรแยกพันธุ์นี้ออกไปเลี้ยงต่างหาก โดยผู้เลี้ยงอาจเก็บรวบรวมลูกแมลงดานาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติมาเลี้ยง หรือจับแมลงดานาตัวเต็มวัยมาเพาะพันธุ์ภายในบ่อดิน โดยรวบรวมแมลงดานาในช่วงต้นฤดูฝน เดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงปลายฤดูฝนเดือนกันยายน-ตุลาคม ชีพจักรของแมลงดานาตั้งแต่ไข่จนถึงตัวแก่มีอายุประมาณ 32-43 วัน โดยมีการลอกคราบ 5 ครั้ง และระยะตัวแก่จนถึงเริ่มไข่ได้ใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน รวมใช้เวลาตั้งแต่ฟักออกจากไข่จนถึงระยะการผสมพันธุ์วางไข่ประมาณ 62-83 วัน แมลงดานาจะมีอายุได้ประมาณ 2 ปี เท่านั้น ดัง นั้น หลังจากที่แมลงดานาวางไข่ในปีที่ 2 แล้วจะต้องนำตัวไปจำหน่าย จากการศึกษาวงจรชีวิตแมลงดานาจะวางไข่ไว้ในระดับที่สูงจากน้ำตั้งแต่ 5-10 นิ้ว จากนั้นตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมาสำหรับให้ไข่ยึดติดกับกิ่งไม้ กอหญ้า กอกก หรือกอข้าว และวางไข่รอบๆ บริเวณที่มันเกาะ รังหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 100-200 ฟอง หรือมากกว่านี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ การเร่งให้แมลงดานาผสมพันธุ์และวางไข่ทำได้โดยลดระดับน้ำเดิมที่มีอยู่ในบ่อ ที่ระดับ 70-80 เซนติเมตร ให้เหลือ 40-50 เซนติเมตร เพื่อหลอกให้แมลงดานาเข้าใจว่าจะเข้าฤดูแล้งแล้วจะได้วางไข่ จากนั้นทดน้ำเข้าไปในบ่อ โดยให้ระดับน้ำสูง 90 เซนติเมตร หรือเกือบเต็มบ่อซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการหลอกให้แมลงดานาคิดว่าฝนตกหรือเข้า ฤดูฝนแล้ว จากนั้นอีกประมาณ 2-3 วัน แมลงดานาก็จะมาวางไข่ที่บนหลักไม้ที่ปักไว้ ควรจะทำในเดือนเมษายน หรือฝนแรกที่ตกลงมาในพื้นที่นั้นๆ และถ้าต้องการให้แมลงดานาวางไข่ก็ควรหลีกเลี่ยงในวันที่ครึ้มฟ้า ครึ้มฝน โดย ผศ.พัชรี มงคลวัย เล่าว่า ได้นำแนวคิดและเทคนิคของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนำมาใช้กับแมลงดานา และเหตุผลที่เลือกแมลงดานาก็เพราะมองว่าสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พื้นที่ไม่มากและงบประมาณไม่มากนัก เพียงมีถังไฟเบอร์และใช้ขวดน้ำพลาสติคเลี้ยง เพียง 40 วัน เกษตรกรก็จะมีรายได้ที่แน่นอนแล้ว ขั้นตอนการเลี้ยงแมลง ดานา 1. การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์แมลงดานา เตรียมถังไฟเบอร์แบบมีขาตั้ง ขนาดความจุ 1 ตัน จำนวน 1 ถัง พร้อมทำตะแกรงมุ้งเขียวปิดด้านบนเพื่อป้องกันการหลบหนีและติดตั้งอุปกรณ์ทำ ฝนเทียม ระบบให้อากาศ และระบบประตูระบายน้ำ พร้อมทั้งจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายในถังเพาะฟักเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกิ่งไม้และพรรณไม้น้ำใส่ลงไป เพื่อเป็นที่เกาะอาศัยและหลบซ่อนจากแมลงดานาตัวอื่น แล้วเติมน้ำสูง 25 เซนติเมตร และใส่ลูกปลาขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลงไปประมาณ 100 ตัว และใส่เพิ่มลงไปเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาปริมาณอาหารให้พอเพียงตลอดการเลี้ยง 2. การเพาะไข่แมลงดานา รวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมลงดานาจากธรรมชาติ หรือรับซื้อพ่อแม่พันธุ์จากผู้จับแมลงดานา เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ภายในบ่อที่จัดเตรียมไว้ กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์วางไข่ โดยการทำฝนเทียม (เฉพาะเวลา 07.00-08.00 น.) แบบให้ฝนเทียม 3 วัน เว้น 1 วัน และการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ทุก 3 วัน เมื่อได้ไข่แมลงดานาแล้วให้ปล่อยทิ้งไว้ในถุงเพาะต่อไป จนถึงวันที่ 6 แล้วจึงย้ายช่อไข่มาฟักโดยปักช่อไข่ใส่ไว้ในขวดปากแคบหรือบนก้อนหิน นำไปวางไว้ในกะละมัง เมื่อแมลงดานาฟักออกเป็นตัวจะหล่นลงในน้ำ แล้วจึงนำลูกแมลงดานาไปทำการศึกษาต่อไป 3. นำขวดน้ำพลาสติค ขนาด 1 ลิตร ตัดส่วนคอขวดออกให้เหลือเฉพาะส่วนล่างให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และเจาะรูขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายให้ทั่วทั้งขวด เพื่อให้น้ำมีการถ่ายเทได้อย่างสะดวก ใส่พรรณไม้น้ำขนาดพอเหมาะลงในขวดเพื่อให้แมลงดานาใช้เป็นที่เกาะพัก 4. นำลูกแมลงดานาที่มีอายุเท่ากัน ใส่ลงไปขวดละ 1 ตัว ชนิดของอาหารที่ใช้ในการทดลองคือ ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตาย ลูกอ๊อดกบมีชีวิต และลูกอ๊อดกบตาย โดยคัดขนาดลูกปลาดุกและลูกอ๊อดขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร แบ่งลูกปลาดุกและลูกอ๊อดจำนวนหนึ่งไปแช่ในตู้เย็นเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับ การทดลองที่ใช้อาหารไม่มีชีวิต เริ่มให้กินอาหารตั้งแต่วันแรกที่แมลงดานาฟักออกจากไข่ อาหารที่จัดเตรียมไว้ในแต่ละการทดลองในช่วงเช้าของทุกวัน จำนวนเท่ากับสัตว์ทดลอง จดบันทึกน้ำหนักรวมอาหารของแต่ละการทดลองก่อนการให้ และเก็บซากอาหารเก่าออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเสีย นำไปชั่งน้ำหนักซากรวม เพื่อนำไปหาน้ำหนักอาหารที่กิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 2 วัน ข้อแนะนำการเลี้ยง ชนิดของอาหารที่ใช้ เลี้ยงแมลงดานานั้นจากการทดลองเลี้ยงคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ลูกอ๊อดตาย ลูกปลาดุกมีชีวิต ลูกปลาดุกตายให้ผลการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยงไม่แตกต่างกัน แต่การทดลองใช้ลูกอ๊อดตายเลี้ยงมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงที่สุด รองลงมาคือ ลูกอ๊อดมีชีวิต ส่วนลูกปลาดุกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตมีอัตราการรอดต่ำมาก ดังนั้น ชนิดของอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงแมลงดานาคือ ลูกอ๊อดกบ แมลงดานายอมรับเหยื่อทั้งในสภาพมีและไม่มีชีวิต ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการเลี้ยงสามารถสำรองเหยื่อโดยการเก็บรักษาในตู้เย็นได้ เมื่อพิจารณาต้นทุนการเลี้ยงในเรื่องค่าอาหารแล้ว พบว่าการใช้ลูกอ๊อดกบเลี้ยงตลอดการทดลองเป็นเงินประมาณ 2-3 บาท และถ้าให้ลูกปลาดุก ขนาด 2-3 เซนติเมตร เป็นอาหาร คิดเป็นเงินประมาณ 4 บาท ต่อตัว จึงควรมีการศึกษาเหยื่อชนิดต่างๆ เช่น กุ้งฝอย หรือหอยขม ซึ่งมีราคาถูกกว่าลูกปลาดุก และลูกอ๊อด ว่าสามารถใช้เลี้ยงแมลงดานาได้ในช่วงใดของการเจริญเติบโตจึงจะทำให้แมลงดานา มีการเจริญเติบโตที่ดี และในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นศัตรูของแมลงดานาด้วย สำหรับระบบการเลี้ยงแบบเดี่ยวมีต้นทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้เลี้ยงหมุนเวียนได้หลายครั้ง การจัดการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำทำได้โดยสะดวก ผลงานวิจัยในการเลี้ยง แมลงดานาในเชิงพาณิชย์นี้ เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้ผลงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดผลงานวิจัยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2551 ของการประชุมราชมงคลวิชาการ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เนื่องจากการเพาะเลี้ยงแมลงดานาเชิงพาณิชย์ถือเป็นเรื่องใหม่ และไม่มีใครประกอบอาชีพนี้เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 482
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM