เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ดาวเรือง ดอกไม้แห่งประชาธิปไตย ปลูกได้ดี ที่กลางดง ปากช่อง
   
ปัญหา :
 
 
จั่วหัวเรื่องไปอย่างนี้จะเว่อร์ไปไหมครับ ทำไมถึงพูดอย่างนั้น อ้าว! ก็พอหน้าเลือกตั้งทีไร เราก็จะเห็นแต่ดอกดาวเรือง เขาเอามาทำพวงมาลัยแขวนคอผู้สมัครกันคนละพวงสองพวง นักร้องยอดนิยม เฮ้ย! ผู้แทนยอดนิยมก็จะคล้องกันเยอะหน่อย ยิ่งขึ้นบนเวทีละก็ ต้องคล้องให้ถึงปาก นัยว่าเป็นเหมือนกันชนกันอะไรมากระแทกปาก พอคล้องไปนานๆ หลายวัน คอชักคันคะเยอ ดอกดาวเรืองมีศัตรูพืชเยอะ เพราะฉะนั้นเกษตรกรก็จะหนักยาไปหน่อย คอก็เลยคัน วันหลังเลยเห็นท่านผู้แทนเอาผ้าขาวม้าพันคอเอาไว้รอบนึงก่อน?เอ้า! เชิญ พ่อแม่พี่น้องคล้องได้แล้ว?ก็เห็นยังงี้ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วจะไม่ให้ขนานนามดอกดาวเรืองว่า ดอกไม้แห่งประชาธิปไตยได้ยังไง (อันนี้ไม่เกี่ยวกับสีน่ะครับ) พอเลือกผู้แทนเสร็จสรรพ มักจะไม่ค่อยเห็นดอกดาวเรือง เพราะดอกดาวเรืองกลับมาจากดินแดนแห่งประชาธิปไตยกลายเป็น ดาวเรืองดอกไม้แห่งศรัทธา เพราะเธอมักจะเป็นดอกไม้กำอยู่หน้าหิ้งพระบูชาในบ้าน ในวัด หรือไม่ก็ห้อยอยู่กับพวงมาลัยดอกมะลิตามศาลพระภูมิ สำหรับผู้ปลูก เลี้ยงดาวเรือง อย่าง คุณเพิก ดาษงูเหลือม เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรือง ของตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาของเรา บอกว่า ?ดาวเรืองมันก็คือดาวเรือง จะเอาดอกไปทำอะไรก็แล้วแต่ ขออย่างเดียวเอาดอกไปแล้วเอาเงินมา เป็นพอ? ดาว เรืองในหุบเขา บนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ของคุณเพิก เราพบว่าดอกดาวเรืองกำลังออกดอกบานสะพรั่งเต็มทั้งแปลงอยู่ท่ามกลางหุบเขาใน ตอนใกล้ๆ เที่ยงกับอุณหภูมิที่ร้อนมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เห็นคนงานร่วม 30 คน กำลังตัดดอกดาวเรืองอย่างขะมักเขม้น พอเต็มตะกร้าก็เอามารวมใส่เข่ง แล้วก็ขนขึ้นรถไถน้อยที่ติดกระบะท้าย ขนเข้ามาในโรงคัดดอกทีละ 8 เข่ง แล้วเอามาเทกองรวมไว้ ก็จะมีคนคัดเกรดอีกทีโดยแบ่งดอกดาวเรืองตามขนาดดอกเป็น 3 เกรด 1, 2, 3 หรือ ใหญ่ กลาง เล็ก เมื่อแบ่งเกรดแล้วก็ถึงเวลาเอามาบรรจุในถุงพลาสติ คใสขนาดใหญ่ซึ่งได้เจาะรูไว้จำนวนมาก เพื่อเป็นการระบายอากาศไม่ให้อับ มิฉะนั้นจะทำให้ดอกเสียหายได้ ในถุงขนาดเดียวกัน ใส่ดอกดาวเรืองเบอร์ใหญ่ได้จำนวน 50 ดอก เบอร์กลางใส่ได้ 50 ดอกเช่นกัน แต่เบอร์เล็กสุดใส่ถึง 100 ดอก เวลายังไม่ถึงบ่าย 2 เราเห็นคนงานที่ตัดดอกกลับเข้ามาทำงานในโรงคัดเพื่อทำการคัดเกรดและบรรจุถุง ก่อน ปลูกดาวเรือง ต้องเพาะกล้าก่อน เมล็ดพันธุ์ที่คุณเพิกใช้ในการ ปลูกจะซื้อมาซองละ 4,000 บาท มีจำนวน 3,500 เมล็ด ตกเป็นค่าใช้จ่ายเมล็ดละบาทกว่า ใช้ปลูกได้ประมาณ 3 งานกว่าๆ ไม่ถึงไร่ วิธีเพาะกล้าจะใช้ 2 วิธี คือ การเพาะในแปลง กับเพาะในถาดหลุม โดยใช้ดินกับขุยมะพร้าว วิธีที่เพาะในถาดหลุมจะดีกว่า เพราะตอนถอนไปปลูกจะมีวัสดุปลูกติดไปด้วย ไม่เหมือนวิธีปลูกแปลงตอนถอนไปปลูกจะไม่มีดินติด ต้นจะฟื้นช้ากว่าต้นกล้าที่ได้จากถาดหลุม ประมาณ 15 วัน ต้นกล้าก็พร้อมที่จะปลูกได้ ถ้าต้นกล้าอายุเกิน 20 วัน ไม่เหมาะจะนำมาปลูกแล้วเนื่องจากต้นมีขนาดใหญ่เกินไป เตรียม แปลงก่อนปลูก ดอกดาวเรืองที่ปลูกที่กลางดงจะไม่ยกร่องขึ้นมา การเตรียมแปลงเหมือนกับการทำไร่ทั่วไปคือ ไถด้วยผาล 3 ตากดินไว้ 1 สัปดาห์ โรยขี้วัวซึ่งได้จากวัวนมแถบๆ นั้น แล้วจึงไถด้วยผาล 7 หมักขี้วัวในแปลง แปลงของที่นี่จะกว้างประมาณ 1 เมตร ทางเดินเว้นไว้ถึง 1.3 เมตร คุณเพิกให้เหตุผลว่า จะได้คล่องตัวในการทำงานเพราะตะกร้าที่ใส่ดอกมีขนาดใหญ่ ยกผ่านไปผ่านมา ถ้าทางเดินแคบ ดอกก็ชำรุด จึงเว้นทางเดินไว้ใหญ่กว่าแปลงดอกดาวเรืองเสียอีก ใน 1 แถว ปลูกต้นดาวเรือง 3 ต้น ห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกแถวละ 45 ต้น รวม 3 แถว ได้ต้นทั้งหมด 135 ต้น ถือว่าเป็น 1 ร่อง เอาปุ๋ยสูตร 25-7-7 รองก้นหลุมก่อนปลูกประมาณครึ่งช้อนแกง ช่วงปลูกใหม่ๆ รดน้ำเช้า-เย็น จนกระทั่งต้นฟื้นตัวดี จึงรดน้ำแค่วันละครั้ง พอต้นโตได้ประมาณคืบ ก็จะเด็ดยอด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน หลังปลูก ส่วนต้นไหนยังไม่ถึงคืบอย่าเพิ่งเด็ด ค่อยมาเด็ดทีหลัง ซึ่งถ้าเราดูแลรักษาดีๆ ต้นที่มีขนาดเล็กจะมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะโตทันๆ กัน พอต้นโตเกิน 1 ศอก ก็ให้เอาหลักไม้ปัก กะระยะว่าต้นดาวเรือง 7 ต้น ให้ปักไม้ 1 หลัก ใช้หลักไม้อะไรก็ได้ ส่วนใหญ่ของที่นี่ใช้ไม้กระถินเนื่องจากหาง่าย แล้วก็ขึงเชือกมาทางยาว ใช้เชือกฟางนี่แหละ ขึงเอาไว้เพื่อพยุงต้น ไม้หลักสูงประมาณ 1 เมตร พอต้นสูงไปเรื่อย ก็ขึงเชือกขึ้นไปอีกเส้น รวมจนหมดอายุขัยของต้นจะขึงเชือกได้ 2-3 เส้น แล้วแต่พันธุ์ต้นสูงต้นเตี้ย โดยปกติจะเก็บดอกดาวเรืองได้เมื่อปลูกครบ 45 วัน และจะตัดดอกดาวเรืองได้เกินกว่า 30 วัน แล้วแต่การดูแลเอาใจใส่ ควร ปลูกพืชหมุนเวียน อย่าปลูกซ้ำแปลง ต้นดาวเรืองจะปลูกได้ในดินแทบ ทุกชนิด แต่ลักษณะดินของแถบกลางดงจะเป็นดินสีแดง ถ้าเป็นดินทรายการเจริญเติบโตและการให้ดอกไม่ค่อยจะดี บริเวณที่เราปลูกดาวเรืองในรุ่นนี้แล้วจะปลูกซ้ำเลยอีกไม่ได้ ควรจะต้องปลูกพืชอย่างอื่นทดแทนก่อน แล้วค่อยกลับมาปลูกซ้ำในที่เดิม ที่ดินที่ใช้ปลูกดาวเรืองของคุณเพิกนี้ หลังจากตัดดอกดาวเรืองหมด ก็จะไถทิ้งปลูกข้าวโพดต่อ แต่ก็จะปลูกดาวเรืองต่ออีกในที่แปลงอื่นที่พักเอาไว้ แต่ในหน้าฝนการปลูกดาวเรืองค่อนข้างเสี่ยงต่อความเสียหายมากเพราะถ้าฝนตกชุก ติดต่อกันหลายวัน และการระบายน้ำในแปลงไม่ดี ต้นมักจะเน่า พอถึงเวลาอย่างนี้ ยาอะไรก็เอาไม่อยู่ ในบางครั้งจะต้องทำเป็นคูน้ำกว้างประมาณ 1 เมตร เพื่อเบี่ยงไม่ให้น้ำฝนที่หลากลงมาจากเขาเข้ามาในแปลง แต่พอถามว่าถ้าอย่างนั้นหน้าฝนดอกดาวเรืองจะราคาดีที่สุด คุณเพิกบอกไม่ใช่ สำหรับกลางดงหน้าร้อนราคาดีที่สุด เพราะว่า หน้าฝนคนปลูกกันเยอะ ดาวเรืองให้ดอกดี แต่พอหน้าร้อนซิ ที่อื่นปลูกไม่ค่อยได้เนื่องจากน้ำไม่ค่อยมีรด หรืออากาศร้อนมากดอกไม่ใหญ่ แต่ที่กลางดงปัญหาน้ำไม่มีรดไม่มีเพราะน้ำบาดาลมีใช้ตลอดทั้งปี และอากาศก็ไม่ร้อนเหมือนกับทางภาคอื่น คุณภาพดอกที่ได้สม่ำเสมอ ปริมาณดอกดาวเรืองทั้งประเทศมีเข้ามาส่งที่ตลาดกรุงเทพฯ น้อย จึงพลอยให้ดอกดาวเรืองที่กลางดงได้ราคามากกว่าฤดูอื่น การตัดดอกดาว เรืองของคุณเพิกจะแบ่งเป็น 3 แปลง แปลงละ 5 ไร่ หมุนเวียนกันตัด ซึ่งหมายถึง 3 วัน ตัดได้ 1 ครั้ง โดยคนงานจะใช้กรรไกรตัด คนงานที่เห็นในวันนั้นประมาณ 35 คน ซึ่งทำงานกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงครึ่ง ถ้างานยังไม่เสร็จคุณเพิกก็จะมีค่าล่วงเวลาจ่ายเหมือนกับแรงงานอื่น วิธีการตัดก็จะตัดให้ชิดโคนดอก ซึ่งจะได้ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร โดยไม่มีใบติดมา แล้วเอาใส่เข่งมารวมกันที่โรงคัดแยก เพื่อคัดแยกขนาดของดอกดาวเรืองและบรรจุถุงต่อไป เมื่อได้จำนวนก็จะบรรทุกรถกระบะนำไปส่งที่ปากคลองตลาด ส่วนราคาของดอกดาวเรืองเป็นไปตามแบบแผนที่มีมากันช้านานแล้ว คือผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคาตามจำนวนของปริมาณสินค้าที่เข้ามากันในวันนั้น อย่างเช่น ดอกใหญ่ ราคาอยู่ระหว่าง 40-80 สตางค์ ดอกกลาง 20-40 สตางค์ ดอกเล็ก 10-20 สตางค์ แล้วแต่โชคชะตา ปลูกกันเยอะราคาก็ถูก ปลูกกันน้อยราคาก็แพง พันธุ์ดาวเรืองที่กลางดงปลูกจะมี 2 พันธุ์ คือ ซอฟเวอเรน ดอกจะขนาดใหญ่ กลีบซ้อนกันแน่น อีกพันธุ์คือ ทองเฉลิม ดอกจะเล็กกว่า แต่ตรงใจกลางดอกสีจะเข้มกว่า และกลีบซ้อนกันแน่นกว่าพันธุ์ซอฟเวอเรน ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์นี้ จะนำไปร้อยพวงมาลัยและทำเป็นดอกไม้กำสำหรับบูชาพระ สำหรับเรื่องโรค ของดอกดาวเรือง คุณเพิกบอกว่า ดาวเรืองเป็นต้นไม้ล้มลุกที่เปลืองยามากที่สุด โรคที่มาจากเชื้อราที่สำคัญคือ โรคไส้กลวง (อันนี้คุณเพิกตั้งชื่อเอง) อาการ คือ ต้นเหี่ยว เมื่อตัดมาดูจะพบว่าไส้ข้างในกลวง เป็นแล้วต้องถอนมาเผาทิ้งให้หมด อีกโรคหนึ่งคือ หนอนชอนใบ ซึ่งดื้อยามากต้องฉีดแทบทุกวัน ถ้าเอาไม่อยู่ต้องทำลายทั้งแปลง ที่แล้วมาคุณเพิกก็เคยขาดทุนมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ด้วยความที่มีอาชีพเกษตร ใจต้องสู้ เพราะถ้าคราวไหนได้ก็หมายถึงกำไรมากเหมือนกัน ถามจำนวนกำไรต่อไร่เท่าไหร่ คุณเพิกบอก คิดยาก เอายังงี้ก็แล้วกัน ลงทุนไปเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น ง่ายดี ปัญหาหลักของการปลูกดาว เรืองของคุณเพิก คือลงทุนจำนวนมาก ไม่ต้องคิดอะไรมาก เฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์ก็ไร่ละ 5,000 บาท ค่ายาชนิดต่างๆ ที่ว่ามาให้ฟังก็มากมาย แล้วยังจะมีปัญหาเรื่องคนงานที่ต้องพร้อมทำงาน คือ ตัดดอก คัดดอก บรรจุถุงอยู่ในช่วงเวลาที่ทำเงิน ไม่อย่างนั้นความเสียหายจะเกิด พูดง่ายๆ ปลูกดาวเรืองความเสี่ยงสูง แต่ก็เป็นเรื่องผกผันของกำไรในการปลูกดาวเรือง ถ้าได้ดีกำไรก็สูงเช่นกัน เหมือนเล่นหุ้น แต่ไม่ได้ไปเล่นที่ตลาดหลักทรัพย์ แต่ไปเล่นที่ตลาดปากคลอง เกษตรกรกับแม่ค้าล้วนๆ ไม่ใช่ผู้ซื้อกับบริษัทเหมือนในตลาดหลักทรัพย์ สงสัย ให้ไต่ถาม คุณเพิก ดาษงูเหลือม ที่โทร. (086) 759-3939 ยินดีให้คำปรึกษาเสม
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 482
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM