เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
"คีรีราษฎร์ 1" พริกกะเหรี่ยงสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า "พริกกะเหรี่ยง" มีการปลูกกันมากตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในเขตพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีการคมนาคมลำบากมากในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ชาวกะเหรี่ยงเก็บเกี่ยว ผลผลิตพริกพอดี ทำให้ไม่สามารถนำพริกกะเหรี่ยงสดออกมาจำหน่ายได้ จะต้องมีการแปรรูปเป็นพริกแห้งก่อน และอีกพื้นที่หนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกมากจะอยู่ในเขตตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบันทางสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง โดยมี ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี ได้รวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะพันธุ์พริกพื้นเมืองของจังหวัดตาก ซึ่งรวมถึงพริกกะเหรี่ยงด้วย ได้จำนวน 192 สายพันธุ์ พบว่าในขณะนี้พบพันธุ์พริกที่พัฒนาพันธุ์ได้จำนวน 11 สายพันธุ์ ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสดมากกว่า 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ทำ ความรู้จักกับพริกกะเหรี่ยง อาจจะกล่าวได้ว่า พริกกะเหรี่ยงเป็นวัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงก็ว่าได้ ถึงกับมีคำกล่าวว่า "มีข้าว มีพริก มีฟืน ไม่ต้องมีเงิน" ก็อยู่ได้ หลายคนเคยรับประทานก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกกะเหรี่ยง แต่ไม่ทราบว่าพริกกะเหรี่ยงคือพริกอะไร? พริกกะเหรี่ยงไม่ใช่พริกขี้หนูสวน ในธรรมชาติพริกขี้หนูจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ปลูกที่ร่มรำไร ในขณะที่พริกกะเหรี่ยงชอบแสงแดดจัด การปลูกพริกกะเหรี่ยงของคนกะเหรี่ยงจะปลูกแบบพืชไร่ โดยการเอาเมล็ดพริกผสมกับเมล็ดพืชอื่นๆ อาทิ เมล็ดฟัก แฟง แตงกวา ฯลฯ หว่านในไร่หลังจากที่หยอดเมล็ดข้าวไปแล้ว เมล็ดข้าวงอกก่อนและเป็นร่มเงาให้ต้นกล้าผักซึ่งรวมถึงต้นกล้าพริกด้วย ระหว่างที่รอต้นข้าวให้ผลผลิต ชาวกะเหรี่ยงจะได้รับประทานผักชนิดต่างๆ เป็นอาหาร เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ต้นพริกกะเหรี่ยงอยู่ในระหว่างออกดอกและติดผลพอดี ชาวกะเหรี่ยงทยอยเก็บเกี่ยวพริกกะเหรี่ยงได้ต่อเนื่อง 5-6 เดือน ลักษณะ เด่นของพริกกะเหรี่ยง ชาวกะเหรี่ยงบอกถึงคุณลักษณะที่เด่นเฉพาะ ตัวของพริกกะเหรี่ยงดังนี้ "ต้องปลายแหลม ก้นโต สีส้มจัด (ไม่แดงคล้ำ) เผ็ดแต่ไม่แสบลิ้นและมีกลิ่นหอม" ทางศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี ได้บอกถึงการปลูกพริกกะเหรี่ยงว่ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีลำต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถเก็บผลผลิตติดต่อกันได้ระยะเวลานาน นิยมแปรรูปเป็นพริกแห้งโดยใช้พริกกะเหรี่ยงสด 3 กิโลกรัม เมื่อเป็นพริกแห้งได้น้ำหนักเฉลี่ย 1-1.3 กิโลกรัม ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตซอสพริกนิยมนำเอาพริกกะเหรี่ยงแห้งไปปั่นผสมกับพริก หนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ดและมีกลิ่นหอม ผลผลิตพริก กะเหรี่ยงในธรรมชาติ ให้ผลผลิตเพียง 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ ผศ.ดร.จา นุลักษณ์ ขนบดี ได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการศึกษาสถานภาพการผลิตและความสัมพันธ์ของสิ่ง แวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร "แคปไซซิน" (capsaicin) ในพริกพันธุ์การค้าของประเทศไทย ว่าจากการเดินทางศึกษาดูงานแปลงพริกและสถานการณ์การผลิตและการตลาดพริก กะเหรี่ยงในเขตตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีราษฎร์, ผู้ประกอบการซื้อพริกกะเหรี่ยง และเกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ พบว่า พริกกะเหรี่ยงที่ปลูกที่อำเภอพบพระ จัดเป็นพริกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งด้านรูปร่าง สีผิว ความเผ็ด และความหอม รวมทั้งเป็นพริกที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการปลูก ให้ผลผลิตพริกที่เก็บเกี่ยวมามีความปลอดภัย ผลผลิตส่งขายยังตลาดใหญ่ๆ อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ปากคลองตลาด ฯลฯ ราคาขายผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 7-25 บาท ต่อกิโลกรัม ในด้านการผลิตและการจัดการของเกษตรกรในพื้นที่พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกพริกกะเหรี่ยงแซมหรือปลูกหมุนเวียนร่วมกับพืชชนิด อื่นๆ เช่น ข้าวโพด ผักกาดขาวและมันสำปะหลัง เป็นต้น โดยสามารถปลูกพริกได้เพียงละ 1 ครั้ง เท่านั้น ศักยภาพในการผลิตพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกรในเขตตำบลคีรีราษฎร์ สามารถผลิตพริกได้เฉลี่ยเพียง 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่เท่านั้น ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีผลผลิตออกในแต่ละปีเฉลี่ยวันละ 200,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า มีปัญหาหลายประการที่เป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เช่น ปัญหาจากการระบาดของโรคและแมลง โรคที่พบ ได้แก่ โรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า สำหรับแมลงที่พบมากคือ หนอนเจาะผล นอกจากนั้น ยังพบปัญหาเรื่องสภาพดินปลูกมีค่าความเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด ปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการใช้ที่ดินซ้ำซากและขาดการบำรุงดิน ขาดแคลนน้ำและขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกพริกที่ถูกต้อง พริก กะเหรี่ยงมีปริมาณสารแคปไซซินสูง เหตุผลหนึ่งที่ ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี ให้ความสนใจในการคัดเลือกพันธุ์พริกกะเหรี่ยงเพื่อแนะนำให้เกษตรกรได้นำไป ขยายพื้นที่ปลูกและผลผลิตสูง เนื่องจากพบว่าในผลพริกกะเหรี่ยงมีปริมาณของสารแคปไซซินสูงกว่าพริกชนิด อื่นๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ในงานวิจัยอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของ ดร.ชฎา พิศาลวงศ์ พบว่า "แคปไซซิน" คือสารสำคัญที่มีอยู่ในพริกทุกชนิดและเป็นตัวที่ทำให้พริกมีรสชาติเผ็ดร้อน แต่ปริมาณของสารแคปไซซินจะมีปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์พริก ในวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับกันว่าสารแคปไซซินนี้จะช่วยกระตุ้นเซลล์ในกระเพาะ อาหารให้มีการหลั่งกรดเกลือมากขึ้นและทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารมีเลือด มาหล่อเลี้ยงมากกว่าปกติ เนื่องจากพริกจะไปกระตุ้นการบีบและการคลายตัวของกระเพาะอาหาร การบริโภคพริกจึงช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นเพราะไปกระตุ้นต่อมน้ำลาย การ เตรียมเมล็ดและต้นกล้าก่อนปลูกแบบชาวบ้าน ในคำแนะนำของศูนย์ส่ง เสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี แนะนำชาวกะเหรี่ยงที่จะปลูกพริกกะเหรี่ยง เลือกต้นที่มีลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ดี ให้ผลผลิตดก ขนาดใหญ่เต็มที่และเก็บผลในรุ่นที่ 2-3 ผลพริกที่เลือกเก็บนั้น ควรเป็นผลที่เริ่มสุกหรือสุกสีแดงสด ปราศจากโรคแมลงทำลาย นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน หรือนำมาห่อในผ้าขาวบางซับๆ เก็บไว้ประมาณ 2-3 วัน จนมีตุ่มรากสีขาวเล็กๆ แล้วนำไปเพาะ ในการเตรียมแปลงเพาะกล้า เลือกพื้นที่สำหรับเพาะเมล็ดพันธุ์ ต้องเตรียมดินให้ละเอียดพร้อมผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำเมล็ดพริกโรยเป็นแถวห่างกันประมาณ 3 นิ้ว กลบหน้าดินประมาณ 1 เซนติเมตร หลังเพาะนาน 7-10 วัน เริ่มงอก หมั่นรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้แปลงแห้ง จนกระทั่งต้นกล้าเจริญเติบโตมีใบประมาณ 3-4 คู่ หรือต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน สามารถนำไปปลูกในแปลงปลูก การปลูกและการดูแลรักษา พริกกะเหรี่ยง 1. การปลูกพริกกะเหรี่ยงโดยนำเมล็ดพริกที่เก็บเมล็ดจากต้นแล้วนำมาตากแดดจนแห้ง สนิท แล้วนำไปตำในครก หรือกระบอกไม้ไผ่ ให้เมล็ดแตกออก นำเมล็ดมาหยอดลงหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละประมาณ 5-10 เมล็ด ระยะปลูก 80x80 เซนติเมตร และหากปลูกแซมข้าวไร่ ระยะปลูกจะห่างตามความต้องการและสภาพพื้นที่เป็นหลัก 2. การปลูกด้วยต้นกล้า ควรมีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จำนวนต้นกล้าประมาณ 2,500-3,000 ต้น ต่อไร่ ระยะปลูก 80x80 เซนติเมตร ซึ่งสามารถปลูกเป็นพืชแซมกับข้าวไร่ หรือพืชชนิดอื่นๆ 3. การปลูกพริกกะเหรี่ยงเพื่อเพิ่มมูลค่าของพริกสด สามารถทำได้โดยเกษตรกรต้องมีพื้นที่ สามารถให้น้ำได้ และเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง เกษตรกรเริ่มเพาะกล้าพริกตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม หลังปลูกแล้ว 90 วัน ก็จะเริ่มเก็บผลผลิต ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูแล้ง พริกสดจะเริ่มราคาแพง เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงที่ปลูกพริกในป่า ไม่สามารถให้น้ำพริกได้ และผลผลิตก็จะหมดเร็ว ทำให้พริกสดขาดแคลน เกษตรกรที่ปลูกพริกกะเหรี่ยงฝืนฤดู สามารถขายพริกสดได้ถึงราคา 50-80 บาท ต่อกิโลกรัม และสามารถเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป การ ใช้สารเคมีในการปลูกพริก เป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การ บริหารเรื่องต้นทุนในการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชในการปลูกพริกถือเป็นเรื่อง ใหญ่และมีความสำคัญมาก เนื่องจากพริกเป็นพืชที่มีแมลงและโรครบกวนมาก ดังนั้น การใช้สารเคมีในการปลูกพริกจึงเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่เกษตรกรจะมีการจัดการในเรื่องนี้ได้ดีเพียงใด จะมีการตั้งโปรแกรมการฉีดพ่นสารเคมีปราบศัตรูพืชอย่างกว้างๆ เฉลี่ยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนความถี่ในการฉีดพ่นจะมากน้อยลงกว่านี้ขึ้นอยู่กับการสำรวจแมลงและโรคที่ เราพบเป็นหลัก เกษตรกรที่จะปลูกพริกให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีการศึกษาและหาความรู้ใน เรื่องสารเคมีที่ดีพอสมควร สำหรับการเลือกใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชจะต้องมองถึงรายละเอียดมากเข้าไปอีก จะต้องทราบว่าสารเคมีแต่ละชนิดมีฤทธิ์ตกค้างนานขนาดไหน แนว ทางในการป้องกันโรคแอนแทรกโนสในพริก เกษตรกรที่มีอาชีพในการปลูก พริกต่างก็ทราบดีว่าเมื่อพบการระบาดของโรคแอนแทรกโนสในแปลงปลูกพริกแล้ว ผลผลิตของการปลูกพริกในฤดูกาลนั้นมีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายมากจนขาดทุน ได้ การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ถ้าปล่อยให้มีการระบาดแล้วยากต่อการควบคุม สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคคือ การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดให้ถูกจังหวะ เกษตรกรจะต้องเป็นคนที่หมั่นสังเกตว่าเมื่อมีโรคแอนแทรกโนสเข้ามารบกวน ต้นพริกจะเริ่มแสดงอาการบางอย่างออกมาให้เห็น เช่น เริ่มมีใบจุดเล็กๆ บนใบพริกหรือบริเวณโคนต้น หลังจากฝนตกหนัก มีหมอกลงจัด หลังการให้น้ำหรือแปลงปลูกพริกข้างเคียงเป็นโรคนี้ ก็ให้พึงระวังและเตรียมป้องกันว่าในแปลงพริกของท่านมีโอกาสที่จะมีการระบาด ของโรคแอนแทรกโนส เกษตรกรจะต้องมีการเริ่มฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึม ทันที อาจจะใช้ยาเชื้อราที่มีราคาไม่แพงนัก เช่น ยาแอนทราโคล เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคไว้ก่อนเพื่อไม่ให้ปริมาณของ เชื้อมีปริมาณมากขึ้นจนก่อให้เกิดโรคได้ จากการดำเนินงาน นักวิจัยได้รวบรวมพันธุ์พริกพื้นเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จากอำเภออุ้งผาง แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง และพบพระ จนได้พริกจำนวน 192 สายพันธุ์ และได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ 2 ชั่วรุ่น โดยการปลูกลงแปลงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดลำปาง และแปลงเกษตรกรในพื้นที่พบพระ จนได้พริกสายพันธุ์ดี 14 สายพันธุ์ หลังจากนั้นทดสอบและประเมินพันธุ์โดยนักวิจัยและภาคเอกชน ผลสำเร็จที่ได้คือ "พริกพันธุ์คีรีราษฎร์ 1" ที่สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ และให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1.5 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้เป้าหมายหลักของโครงการนอกจากได้พริกสายพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิต และสารแคปไซซินสูง รวมทั้งปรับตัวได้ดีแล้ว เป้าหมายหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การส่งมอบเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาได้คืนกลับสู่ชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรนำไปเพาะและเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์เพื่อการผลิตและจำหน่าย เป็นพริกพันธุ์การค้าในระยะต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 481
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM