เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ชมพู่เพชรสายรุ้ง ของดีเมืองเพชร กับการรวมกลุ่มก้าวไปข้างหน้า
   
ปัญหา :
 
 
ชมพู่เพชรสายรุ้ง ได้รับการจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนเป็นผลไม้ที่ถือกำเนิดจากจังหวัดเพชรบุรี สร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองเพชร และเกษตรกรที่ทำสวนชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นอย่างยิ่ง ชมพู่เพชรสาย รุ้ง มีประวัติอันยาวนานตั้งต้นจากวัดชมพูเพชร ขยายพันธุ์สู่แปลงเกษตรกรในหลายๆ พื้นที่ นิยมปลูกกันมาในเขตท้องที่อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอเมือง เกษตรกร ชาวสวนชมพู่เพชรล้มลุกคลุกคลานกับผลไม้ชนิดนี้อย่างแสนสาหัสพอสมควร ทั้งนี้ ก็เนื่องจากราคาของชมพู่บางปีก็ดีบางปีก็ไม่ดี จนเกษตรกรจำนวนไม่น้อยต้องรามือยอมถอยไปตั้งหลักกับพืชชนิดอื่นแทน ที่เหลืออยู่ก็กัดฟันฟูมฟักต้นชมพู่สู้ภาวะผันผวนมาโดยตลอด ชมพู่ เพชรสายรุ้ง เป็นชมพู่ที่ต้นโตสูงใหญ่ เพียงแค่ 3 ปี ต้นก็เจริญเติบโตทะลึ่งพรวดสูง 4-5 เมตร ทรงพุ่มใหญ่ ทำให้ต้องเสียเงินค่าทำห้างร้านขึ้นไปดูแลรักษา ยามเมื่อชมพู่ติดดอกออกผล ทำให้ชมพู่เพชรสายรุ้งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ ภาย หลังจากที่ชมพู่เพชรสายรุ้งได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ ทำให้ทางจังหวัดเพชรบุรีโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาดำเนินการช่วย เหลือเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรในเขตจังหวัดเพชรบุรีอย่างจริงจัง ในขั้นแรกนี้ให้เกษตรกรชาวสวนจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อดำเนินการช่วยเหลือทางด้านอื่นๆ จะได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงเกิดกลุ่มเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรขึ้นมา 2 กลุ่ม ในเขตอำเภอบ้านลาดและอำเภอท่ายาง คุณไพบูลย์ บัวราช เกษตรอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสนใจและติดตามผลการดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม เกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด สำหรับในเขตอำเภอท่ายางนั้น ทางสำนักงานเกษตรได้ให้เจ้าหน้าที่สำรวจจำนวนต้นชมพู่เพชรว่ามีการปลูกกัน มากเท่าไร จากการสำรวจพบว่า ในเขตอำเภอท่ายางมีชมพู่เพชรสายรุ้ง ประมาณ 3,000 ต้น มีสมาชิกผู้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง (ทำเป็นสวน) ประมาณ 50-60 ครัวเรือน ไม่รวมต้นชมพู่และผู้ปลูกประปรายทั้งอำเภอ คุณไพบูลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า หลังจากที่สำรวจจำนวนปริมาณต้นชมพู่แล้ว เจ้าหน้าที่ก็ให้เกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกชมพู่ทั้งหมดมาร่วมกันร่างกฎระเบียบ กำหนดคุณภาพของชมพู่ว่าจะต้องเป็นอย่างไร ทุกสวนต้องดำเนินการจัดการให้เป็นไปในแนวทางเดียวตามกฎระเบียบข้อบังคับที่ ได้ร่วมวางกันไว้ หลังจากนั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำชมพู่เพชรให้ได้มาตรฐาน ที่กำหนดไว้แก่เกษตรกร แล้วนำไปสู่ภาคปฏิบัติ จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเข้ามาตรวจสอบผลผลิตชมพู่ในสวนของเกษตรกร ว่าผลิตได้ตรงตามมาตรฐานปลอดสารเคมี มีคุณภาพดีตามที่อบรมและร่วมกันวางมาตรฐานกฎเกณฑ์เอาไว้หรือไม่ ถ้าเกษตรกรทำได้ ก็จะมีการออกใบรับรองมาตรฐานให้ไป และเกษตรกรจะต้อง ได้รับการรับรองมาตรฐานจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอีกขั้นตอนหนึ่งด้วย ซึ่งปัจจุบันชมพู่เพชรสายรุ้งที่ออกสู่ตลาดนั้นจะได้รับการรับรองคุณภาพตาม มาตรฐาน รสชาติหวาน กรอบ อร่อย ตามสายพันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งที่มีคุณภาพดีทุกประการ เกษตรอำเภอท่า ยาง กล่าวอีกว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้นเขาว่า ?คนทานไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ทาน? ส่วนใหญ่จะเป็นของขวัญของฝากเสียมากกว่า ทางกลุ่มเกษตรกรได้จัดทำกล่องบรรจุชมพู่ออกแบบสวยงาม 1 กล่อง บรรจุชมพู่ 16 ผล สำหรับซื้อเป็นของฝาก ถ้าท่านผ่านจังหวัดเพชรบุรีก็อย่าลืมซื้อชมพู่เพชรสายรุ้งติดมือเป็นของฝาก หรือรับประทานเองกันด้วย อุดหนุนเกษตรกรชาวสวนให้มีกำลังใจในการผลิตผลไม้ดีๆ มีคุณภาพให้บริโภคกัน คุณ บัณฑิต บุญพ่วง เจ้าหน้าที่นักวิชาการเกษตรประจำตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ในเรื่องสารเคมีกับชมพู่นั้น ต้องบอกกันเลยว่าชมพู่เป็นผลไม้ที่มีการใช้สารเคมีกันน้อยที่สุด ชมพู่ปีหนึ่งจะออกดอกติดผล 3-5 ชุด แต่ละชุดจะต้องมีการห่อ ก่อนห่อจะใช้สารเคมีป้องกันหนอน แมลง และเชื้อราเพียงครั้งเดียว หลังจากห่อจนกระทั่งเก็บผลผลิตก็ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ เลย ตรงนี้จึงวางใจได้ว่าชมพู่เพชรปลอดสารเคมี ไม่มีอันตรายต่อการบริโภคแน่นอน จะอันตรายก็ต่อเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วอร่อย เพราะชมพู่เพชรสายรุ้งหวาน กรอบ อร่อย แช่เย็นรับประทานแล้วหวานชื่นใจ ทำให้รับประทานได้มาก เกิดอาการอิ่มมาก และเปลืองเงินต้องย้อนกลับมาซื้อชมพู่เพชรที่เมืองเพชรกันอีกเท่านั้นเอง คุณ ภารดี บุญพ่วง เกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชร อยู่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง เจ้าของ ?สวนภารดี? กล่าวว่า ที่สวนมีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งประมาณ 50 ต้น จากเมื่อก่อนเคยปลูกชมพู่มากถึง 300 ต้น มาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ราคาชมพู่เพชรตกต่ำสุดๆ สู้การดูแลบำรุงต้นไม่ไหว จึงต้องลดปริมาณการปลูกให้น้อยลง เพื่อความอยู่รอด คุณภารดี กล่าวต่อไปว่า มาจนถึงทุกวันนี้สถานการณ์ชมพู่เพชรสายรุ้งดีขึ้น ก็เนื่องจากได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยสำนักงานเกษตรและจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ส่งเสริมช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนชมพู่อย่างจริงจัง ก็ต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่านมา ณ ที่นี้ด้วย คุณภารดี กล่าวอีกว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านช่วยฟื้นฟูชมพู่เพชรสายรุ้ง ช่วยหาตลาดให้ ทุกวันนี้ชมพู่เพชรสายรุ้งใส่กล่องสวยงาม มีขายที่ร้านนันทวันและโกลเด้นท์เพลส ท่านที่อยู่กรุงเทพมหานครสามารถไปหาซื้อได้เลย เป็นชมพู่เพชรของแท้ หวาน กรอบ อร่อยสุดๆ ชาวสวนดำเนินการเองทั้งหมด กลุ่มชาวสวนผู้ปลูกชมพู่ เพชรสายรุ้งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งบ้านหนองโสน กับกลุ่มชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งตำบลท่าไม้รวก ที่ท่าไม้รวกแห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมด 40 กว่าคน คุณภารดี บอกว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้นต้นสูงใหญ่ จำเป็นต้องทำห้างร้านขึ้นไปบนต้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตชมพู่สูงขึ้น ปัจจุบัน ค่าไม้ไผ่ที่นำมาทำห้างร้านค่อนข้างแพง ราคาลำละ 40-50 บาท ชมพู่ต้นหนึ่งต้องใช้ไม้ไผ่ทำห้างร้านชั้นหนึ่ง 27-30 ลำ เพียงแค่ค่าทำห้างร้านชั้นหนึ่งตกเข้าไปต้นละพันกว่าบาทแล้ว ไม่รวมค่าแรงคนทำห้างร้าน นอกจากค่าห้างร้านแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายาเคมี ค่าแรงงานห่อผล เก็บผล และอีกจิปาถะ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสวนถ้าปลูกกันมากๆ ค่อนข้างสูงมาก แล้วถ้ามาเจอภาวะชมพู่ราคาตกต่ำล่ะก็เป็นเรื่องน่าเศร้า สำหรับชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นอย่างยิ่ง ?ไม่อยากจะคิดค่ะ คิดแล้วจะเศร้าตามเขาไปด้วย? คุณภารดี กล่าวพร้อมกับแนะนำว่า ชมพู่เพชรสายรุ้งนั้น ปลูก 3 ปีขึ้นไปเก็บผลขายได้ สำหรับเกษตรกรมือใหม่ๆ ที่อยากจะปลูกชมพู่เพชรนั้น ขอแนะนำตั้งแต่เริ่มหาสายพันธุ์กันเลยว่า ต้องหาพันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งแท้ๆ ไปปลูก ควรมาหาซื้อตามแหล่งปลูกจะดีกว่า หาแถวๆ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง ติดต่อทางสำนักงานเกษตรอำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอเมือง ได้เลย ถ้าได้แบบนี้รับรองความสำเร็จก้าวไปแล้วครึ่งหนึ่ง คุณภารดี แนะนำว่า การเลือกกิ่งพันธุ์ควรดูกิ่งอ่อนๆ ปานกลาง ไม่อ่อนมากไป และต้องไม่แก่จนเกินแกง สีออกแดงออกน้ำตาลประมาณนี้ ชมพู่ชอบดินร่วน ปนทราย ปลูกพื้นที่ไหนๆ ก็ได้ แต่ควรปลูกแบบพื้นราบจะดีกว่า ถ้าจะปลูกแบบยกร่องสวนก็ได้ ตรงนี้อยู่ที่พื้นที่ของเกษตรกรว่ามีพื้นที่แบบไหนอยู่ก่อนแล้ว สำหรับ การปลูกไม่ยุ่งยาก ขุดหลุมลึกพอสมควร เอาดินเก่า ดินก้นหลุมคลุกปุ๋ยหมักรองก้นหลุมแล้วเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก กลบดินที่โคนต้นให้แน่น หาไม้หลักมาปักยึดป้องกันต้นโค่นหักเอน รดน้ำพอชุ่มเป็นอันเสร็จพิธี ระยะปลูกควรห่างกันสักหน่อย เพราะชมพู่เพชรสายรุ้งต้นโต สูงใหญ่มาก ทรงพุ่มออกกว้าง ระยะปลูกควรปลูกที่ 6x6 เมตร หลังจากดินรัดรากดีแล้ว รดน้ำ 3 วันครั้งไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรยุ่งยาก คุณภารดี กล่าวต่อไปอีกว่า พอต้นแตกใบอ่อนจะเจอปัญหาหนอน แมลงมากัดกิน ก็ต้องฉีดยากำจัดหรือป้องกันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า ลงปลูกปีแรกปล่อยให้ธรรมชาติช่วยดูแลบ้าง รดน้ำช่วยบ้างยามอากาศแห้งแล้ง ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง กำลังดี ชมพู่จะมาให้ผลผลิตจริงๆ จังๆ เมื่อย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 4-5 แต่จริงๆ แล้วชมพู่จะติดดอกติดผล ?สอนเป็น? ตั้งแต่อายุปีครึ่งถึง 2 ปี ระหว่างนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะมาดูแลปฏิบัติจริงๆ จังๆ ก็เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นแก่จะให้ผลผลิตเต็มที่นั่นแหละ ปีที่จะเอาผล ผลิต ควรบังคับให้ต้นติดดอก เก็บผลผลิตขายรับเทศกาลปีใหม่ ช่วงนี้จะขายได้ราคาดี กับขายช่วงเทศกาลตรุษจีนก็กำลังเหมาะ เกษตรกรต้องทำดอกโดยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคมควรตัดแต่งกิ่ง ปรับปรุงโคนต้น กำจัดวัชพืชออกให้หมด พรวนดินให้ดินร่วนซุยบ้างก็จะดี แล้วจึงใส่ปุ๋ยหมัก กับปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้น้ำเต็มที่สม่ำเสมอ 3-5 วันครั้ง ชมพู่พอต้นสมบูรณ์เต็มที่เขาจะติดดอกออกมาเลย พอเห็นดอกก็ให้ฮอร์โมนเสริมบ้าง ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง ระหว่างผสมเกสรควรงดการใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น ครั้นชมพู่ติดผลเล็กๆ ก็ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง อีก 2-3 ครั้ง ฮอร์โมนเสริมให้ 3 ครั้ง ระยะ 10 วันครั้ง พอผลชมพู่ใหญ่ขนาดลูกปิงปองให้ล้างลูกอีกเที่ยวแล้วจึง ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ก่อนห่อคัดผลไม่ดีทิ้งให้หมด ไว้ผล 2 ผล ต่อ 1 ห่อ หรือจะไว้ผลเดียวต่อ 1 ห่อ ก็ได้ อยู่ที่เกษตรกรจะใจถึงขนาดไหน เมื่อ ห่อผลแล้วทิ้งห่างไปอีก 25 วัน จึงเก็บผลได้ แต่จะให้ได้คุณภาพชมพู่หวาน กรอบ จริงๆ ต้องเก็บที่ 30 วัน แก่เต็มที่ ส่วนเคล็ดลับที่ทำให้ชมพู่หวาน กรอบ นั้นไม่มีอะไรมาก ?ก่อนเก็บผลผลิต งดให้น้ำต้นชมพู่ 5-7 วัน ก่อนเก็บ ที่สวนเน้นคุณภาพผลจะเล็กหรือใหญ่ไม่สำคัญ ขอให้ชมพู่หวาน กรอบ ตามสายพันธุ์เอาไว้ก่อน? คุณภารดี กล่าวและว่า ตลาดก็มีพ่อค้าแม่ค้าขาประจำเข้ามารับซื้อถึงสวน ตอนนี้มีการรวมกลุ่มแล้วก็คัดส่งกลุ่มบ้าง ชมพู่เพชรสายรุ้งปีหนึ่งมีรับประทานอยู่ช่วงเดียวคือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเท่านั้น หลังหมดผลผลิตตัดแต่งกิ่ง ตัดยอด ให้ทรงพุ่มออกข้าง ดูในต้นให้โปร่ง แล้วใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 พักต้นไป 2 เดือน คือเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พอเข้าเดือนสิงหาคมก็ทำรุ่นต่อไป ดังที่กล่าวไปแล้ว คุณภารดี บอกว่า ปลูกชมพู่ไม่ยุ่งยากเพียง แต่ต้นทุนค่อนข้างสูงเท่านั้นเอง ที่ ?สวนภารดี? มีลูกค้าขาประจำมาจองผลผลิตถึงสวนเลย เขาบอกว่า ?ทานชมพู่ที่ไหน ไม่ติดใจเท่ากับทานชมพู่ที่สวนภารดี? จริงหรือไม่จริงประการใด เขาท้าพิสูจน์กัน หากท่านประสงค์จะคุยกับเจ้าของสวน ไปเที่ยวชมสวน ลองโทร.ไปที่ (081) 278-5578, (081) 856-3015 และ (032) 416-120 เจ้าของสวนใจดี คุยเก่ง รับรองชัวร์...
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เพชรบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 481
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM