เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เพิ่มสังกะสีในมังคุด เพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร
   
ปัญหา :
 
 
ในบรรดาผลไม้ทั้งมวล ผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาของผลไม้" ก็คือ "ทุเรียน" ด้วยทั้งลักษณะภายนอกของผลที่เป็นหนามคล้ายมงกุฎของพระราชา และเนื้อในที่มีรสชาติแสนอร่อยที่ยากจะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้ และในบรรดาผลไม้ทั้งมวลผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชินีของผลไม้" ก็คือ "มังคุด" ด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของ พระราชินี ส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อย อย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้เช่นเดียวกัน มังคุด ที่ปลูกในประเทศไทยมีพันธุ์เดียว เป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะเกิดจากเมล็ดที่ไม่ได้ผสมเกสร จึงแทบจะไม่มีโอกาสกลายพันธุ์เลย เนื่องจากเกสรตัวผู้ของดอกมังคุดเป็นหมัน เมล็ดจึงเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร ดังนั้น จึงเชื่อกันว่ามังคุดมีแค่พันธุ์พื้นเมือง คุณค่าทางโภชนาการ การบริโภคมังคุดทำให้เราได้บริโภคกากใยจากเนื้อมังคุด ซึ่งช่วยในการขับถ่าย และยังได้สารอาหารวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสังกะสี นอกจากนั้น มังคุดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จากการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า มังคุดสามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในไขมันได้ด้วย สรรพคุณทางยา มังคุด มิได้มีประโยชน์อยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยการใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเช่นเดียวกัน เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว เช่น ใช้รักษาแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง เพราะเปลือกมังคุดมีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารแซนโทนในเปลือกมังคุดยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค ผิวหนังและกลากได้อีกด้วย เพิ่ม "สังกะสี" พัฒนาคุณภาพไม้ผลภาคตะวันออก หลังพบพื้นที่กว่าร้อยละ 50 ประสบปัญหา สังกะสี ไม่ใช่มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น สังกะสียังเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโตของ พืชด้วย พื้นที่สวนผลไม้ภาคตะวันออกที่จริงไม่ขาด "ธาตุสังกะสี" แต่ความไม่รู้ของเกษตรกรทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ที่ส่งผลอย่างคาดไม่ถึง บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตแร่สังกะสีเพื่อถลุงเป็นโลหะสังกะสีแท่งบริสุทธิ์สำหรับภาค อุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรี เผยแพร่คุณประโยชน์ของสังกะสีในด้านธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อพืช โดยนักวิจัยพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมภาคตะวันออกซึ่งปลูกไม้ผลกว่าร้อยละ 50 มีปัญหาขาดธาตุสังกะสี หลังเกษตรกรเพิ่มธาตุสังกะสีทางใบ ทำให้ผลผลิตดีขึ้น คุณ ชิตชัย ทวีพาณิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารงานกลาง บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ แต่สังกะสียังมีความสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน เพราะเป็นธาตุอาหารที่ช่วยทำให้พืชสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตได้ดียิ่ง ขึ้น กิจกรรมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมความรู้เรื่อง "สังกะสีที่มีความสำคัญต่อพืช" หลังจากที่ได้จัดกิจกรรม "สังกะสีสำคัญต่อสุขภาพ" ไปแล้ว เมื่อปลายปี 2552 รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งดำเนินงานวิจัยช่วยเกษตรกรพัฒนาคุณภาพผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า จากการทำงานวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการธาตุอาหารและการวิเคราะห์ดินและพืชใน สวนผลไม้ภาคตะวันออก เป็นระยะเวลา 12 ปี นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาทุเรียนก่อน ต่อมาได้สังเกตเห็นปัญหาของสวนมังคุดในภาคตะวันออก ที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50 มีอาการขาดธาตุสังกะสี คือ มีใบขนาดเล็กปะปนกับใบใหญ่จำนวนมาก ทำให้การสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงลำต้นไม่สมบูรณ์ ภาวะดังกล่าวเกิดจากสาเหตุของฟอสฟอรัส (P) ที่สะสมในดินมีปริมาณมาก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้พืชดูดธาตุสังกะสีมาบำรุงต้นได้ ทั้งนี้ มาจากความเข้าใจผิดของเกษตรกรที่คิดว่า การใส่ปุ๋ย P จะช่วยเร่งดอก ทำให้ติดลูกดี และคิดว่าธาตุอาหารพืชมีแค่เพียงปุ๋ย N-P-K เท่านั้น โดยใส่ปุ๋ยสูตรเดิมมานับสิบๆ ปี หลังจากได้แนะนำเกษตรกรให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีผ่านทางใบมังคุด ทำให้ใบมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำให้เกษตรกรให้ธาตุอาหารอื่นๆ แก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อปรับปรุงลักษณะผลและรสชาติควบคู่กันไปด้วย ส่งผลให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพดีขึ้นมาก เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ คุณสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรรายหนึ่งของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออก กล่าวว่าหลังจากได้ทำตามคำแนะนำของ ดร.สุมิตรา มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถคัดผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก จากร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 90 ในปัจจุบัน โดยมังคุดจะมีขนาดผลตั้งแต่ 90 กรัม ขึ้นไป ผิวมัน ไม่มีกระ เปลือกบาง เนื้อขาว รสชาติหวาน ไม่เป็นเนื้อแก้ว ยางไหล ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและจีน มีความต้องการสูงมาก อีกทั้งจำหน่ายได้ในราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ มีต้นทุนการผลิตต่ำลง โดยลดการใช้ปุ๋ยที่ไม่จำเป็น รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม กล่าวทิ้งท้ายว่า สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย แต่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับธาตุอาหารอื่นๆ การปลูกไม้ผลให้มีรสชาติดีต้องรู้จักให้ธาตุอาหารที่เหมาะสม เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากและซับซ้อนที่จะเข้าใจได้แตกฉาน งานวิจัยที่ลึกพอจึงจะให้คำตอบแก่เกษตรกรได้ ถามข้อมูลเพิ่ม เติม ติดต่อ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ส่วนประชาสัมพันธ์ โทร. (02) 695-9499 ต่อ 9408-9 สังกะสี มีความจำเป็นกับพืชอย่างไร - สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง และทำงานร่วมกับเอ็นไซม์หลายชนิด เพื่อให้กระบวนการต่างๆ ในพืชดำเนินไปด้วยดี - พืชที่ได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ จะส่งผลให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดีและเป็นโรคง่าย ถ้าขาดสังกะสีรุนแรงจะทำให้แคระแกร็น - พืชที่พบสังกะสีมาก ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง งา ธัญพืชทุกชนิด ผักใบเขียวและผลไม้สด - จากผลการสำรวจพบว่า เกือบร้อยละ 50 ของดินทั่วโลกที่ใช้เพาะปลูก เป็นดินที่ขาดธาตุสังกะสี - ในประเทศไทยพบว่า ปัญหาดินขาดธาตุสังกะสีนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากภาวะทางธรรมชาติ แต่เป็นผลจากการใช้ปุ๋ยที่ไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ - พื้นที่ปลูกผลไม้ในภาคตะวันออกพบว่า ดินไม่ขาดธาตุสังกะสี แต่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ เพราะมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) ในดินสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องให้ธาตุสังกะสีโดยการฉีดพ่นผ่านทางใบ - ลักษณะการขาดธาตุสังกะสีของต้นมังคุด จะแสดงอาการทางใบ ซึ่งจะมีขนาดเล็ก แคระแกร็น ส่งผลให้การสังเคราะห์อาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่ดี ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดี - ผลมังคุด 1 ลูก ขนาด 80 กรัม มีสารอาหารประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ทั้ง โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง อย่างครบถ้วน โดยมีสังกะสี ประมาณ 0.1 มิลลิกรัม
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 481
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM