เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะรุม สมุนไพรมหัศจรรย์เพื่อชีวิต
   
ปัญหา :
 
 
มะรุม เป็นไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทดลอง และเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ถึง 300 ชนิด องค์การสหประชาชาติ ได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึง วัยเจริญเติบโตในประเทศด้อยพัฒนา เช่น กลุ่มประเทศในแอฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลหลายแห่งได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิด นี้ รวมทั้งในประเทศไทย มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์หลากหลาย ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของต้นมะรุม การรับประทานใบมะรุมสด จะให้ประโยชน์ได้เต็มที่เมื่อรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ใบสดปรุงอาหารต่างๆ สามารถทำได้ตามความต้องการและความถนัด เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง ฉะนั้น จึงไม่ควรให้ทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ใบมะรุมสดก็เหมือนกับผักใบเขียวทุกชนิด ไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมาก เพราะจัดเป็นยาถ่ายประเภทหนึ่ง เมื่อรับประทานบางท่านอาจจะมีอาการท้องเสีย อาการต่างๆ มิได้เกิดขึ้นกับทุกคน เข้าใจว่าเป็นไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน บางท่านอาจจะมีอาการง่วงขนาดหนัก หรือบางรายอาจมีผื่นลมพิษทันทีหลังรับประทาน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายสะสมสารพิษไว้เป็นจำนวนมาก หากเกิดอาการเช่นนี้ให้หยุดรับประทานชั่วคราวแล้วเริ่มใหม่ ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง อาการจะดีขึ้นตามลำดับ แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น พบว่ามีผู้ที่เกิดอาการแพ้ภายหลังรับประทานใบมะรุม โดยมีอาการวิงเวียนศีรษะ ในกรณีนี้ขอแนะนำให้รับประทานใบแมงลัก อาการวิงเวียนศีรษะก็จะหายไป การรับประทานใบมะรุมสดไม่ควรถูกความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหารหลายชนิด ใบสดใช้จิ้มน้ำพริก ใส่แกง ใส่สลัดและใส่แซนด์วิช ใบสดเปล่าๆ จะมีรสเผ็ดแต่เมื่อนำมารับประทานกับข้าวหรือแซนด์วิชจะไม่รู้สึกเผ็ดเลย ในระยะแรกๆ ทดลองนำใบสดรับประทานกับข้าวและอาหารต่างๆ ทุกมื้อก็ให้คุณค่าทางโภชนาการได้ดี ถ้าคั้นใบมะรุมสดดื่มวันละ 1 ช้อนโต๊ะ จะสามารถรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ด้วย การ รับประทานใบมะรุมสดสำหรับเด็กเล็ก ที่เริ่มรับประทานอาหารได้จนถึงอายุ 3-4 ขวบ ควรใส่เพียงเล็กน้อย ถ้าคั้นเป็นน้ำควรใส่เพียงวันละ 1-2 หยด ผสมอาหารหรือเครื่องดื่ม ยกเว้นเด็กที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง จึงควรเพิ่มขนาดตามสมควร จากนั้นจึงค่อยเพิ่มปริมาณทีละน้อยๆ ตามอายุและความเหมาะสม ไม่ควรให้เกินขนาด เพราะสำหรับเด็กในวัยเติบโต การให้ธาตุเหล็กเกินขนาดกลับจะให้โทษมากกว่าคุณ วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ควรรับประทานใบมะรุมสดวันละ 1-3 กิ่ง หรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลเร็วควรคั้นน้ำดื่ม ประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ใหญ่ และ 1 ช้อนชา สำหรับเด็กวัยรุ่นถ้ามีอาการท้องเสียให้ลดจำนวนลง แล้วค่อยๆ เพิ่มอาการจะดีขึ้น การรับประทานสม่ำเสมอจะสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย พระ สงฆ์วัดป่าธรรมชาติหลายรูปรับประทานเป็นประจำ ในระยะ 3-4 ปี ที่ผ่านมา ไม่เคยเจ็บป่วยเป็นไข้หวัดเรื้อรังหรือแม้แต่อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่ เคยเป็นมานานก็หายไปด้วย จะมีก็แต่อาการหวัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิธี การรับประทาน ใบมะรุมตากแห้ง จะให้ผลดีกว่าใบสด เพราะสามารถรับประทานได้มากกว่า ผลย่อมดีกว่าทั้งยังสะดวกกับการพกติดตัวไปตามที่ต่างๆ แม้การรับประทานใบแห้ง จะทำให้ขาดวิตามินซีไปบ้างก็ตาม แต่ก็สามารถหาทดแทนได้จากพืชผักและผลไม้ต่างๆ การรับประทานใบแห้งอาจชงดื่มเป็นน้ำชา ซึ่งอาจให้ผลช้ากว่าในรูปของแค็ปซูล เมื่อผู้เขียนเริ่มรับประทานแค็ปซูลใหม่ๆ จะสังเกตและรู้สึกได้ทันทีว่าอาการปวดศีรษะหายไปพร้อมๆ กับอาการปวดเมื่อย ตามข้อกระดูกภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ดูเหมือนว่าอาการปวดจะรุนแรงขึ้นจนนึกอยากจะหยุดเสีย แต่เมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 อาการปวดต่างๆ ตามกล้ามเนื้อเริ่มหายไป และอาการนิ้วติดก็หายไปโดยไม่รู้ตัว ผิวพรรณก็ดูเปล่งปลั่งขึ้น สีหน้าเริ่มมีเลือดฝาด มะรุมจัดอยู่ในประเภทอาหารเป็นยา ดังนั้น ย่อมส่งผลช้ากว่ายาสมัยใหม่ ต้องมีความอดทนและรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ผลที่ได้อาจจะช้าแต่ก็คุ้มค่าทีเดียว การทำใบมะรุมตากแห้ง ขอแนะนำให้ปลูกมะรุมเอง มะรุมไม่ต้องการที่มาก ถ้าหมั่นตัดเล็มเป็นประจำ ต้นจะไม่สูงใหญ่มากสามารถปลูกลงดินหรือปลูกในกระถางก็ได้ ต้นมะรุมทั้งหมดมี 14 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นำมาใช้ทดลองด้านการรักษาโรคมากที่สุดคือ สายพันธุ์โอลิเฟอร่า? ซึ่งผู้เขียนได้สอบถามไปยัง ศาสตราจารย์ ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูลว่า จากการทำวิจัยพบว่า มะรุมในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอลิเฟอร่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใช้ในการทดลองมากที่สุด วิธีทำใบมะรุมตากแห้ง ง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในครัวเรือน ถ้าปลูกได้เอง ก่อนเก็บ 1 วัน ให้ฉีดน้ำล้างใบให้สะอาด จากนั้นจึงนำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ใบแห้งสนิทจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ เวลาเอามือจับใบจะกรอบแตกง่าย ถ้าตาก 2-3 วัน แล้วยังไม่แห้งให้เปิดเตาอบ อุณหภูมิร้อนเท่าแสงแดดใส่ใบมะรุมเข้าไป ประมาณ 10 นาที ใบจะกรอบ รีบนำออกมาทันที ถ้าไม่มีเตาอบให้นำใบมะรุมใส่กระด้งที่สานถี่ๆ ชนิดที่ใบไม่สามารถหลุดร่วงลงไปได้ เอาตะแกรงอีกใบปิดครอบเพื่อกันแสงแดดทะลุลงไป แล้วนำไปตากแดดสัก 2 ชั่วโมง หรือจนกว่าใบจะกรอบ ใบแห้งจะขาดวิตามินซี วิตามินบี คลอรีน และแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายไปในระหว่างการทำให้แห้ง แต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิม ถ้าจะเก็บไว้ดื่มเป็นน้ำชา ให้เก็บไว้ในขวดทึบที่แสงผ่านเข้าไปไม่ได้ ป้องกันการเสื่อมคุณภาพ การ ทำผงมะรุม ทำได้หลายวิธีคือ วิธีแรก บดด้วยเครื่องบดกาแฟ วิธีที่สอง ใส่ครกตำให้ละเอียด และวิธีที่สาม ถ้าไม่สามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ให้เอาใบมะรุมแห้งใส่ตะแกรงถี่ๆ แล้วใช้แปรงลวดปัดไปปัดมา จะได้ผงมะรุมแห้งเก็บใส่กระป๋องหรือขวดทึบแสง รอบรรจุแค็ปซูล มะรุมผงก็เช่นกันควรเก็บในขวดทึบแสง การบรรจุแค็ปซูล วิธีง่ายๆ คือ หาภาชนะเล็กๆ ตื้นๆ เทผงมะรุมลงไป ใช้กระดาษสะอาดปิด กดเบาๆ ให้ผงมะรุมอัดกันแน่น จากนั้นนำแค็ปซูลเปล่า เปิดฝาออก จับส่วนที่ยาวกดลงไปในผงมะรุมจนแน่นแล้วปิดฝาด้วย ส่วนที่สั้น (ส่วนที่สั้นไม่ต้องกดผง) จะได้แค็ปซูลไว้รับประทานและสะดวกในการพกพา หาซื้อแค็ปซูลเปล่าได้ตามร้านขายยาแผนโบราณทั่วไป ประโยชน์จากฝัก มะรุม นำไปปรุงอาหารได้หลายประเภท ทั้งแกงและผัด มะรุมที่ฝักอ่อนมากๆ ขณะที่เปลือกยังไม่แข็งจะมีรสชาติคล้ายถั่วฝักยาว นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ฝักมะรุมกลางอ่อนกลางแก่ เวลานำมาปรุงอาหาร เรามักจะปอกเปลือกก่อน คุณสุภา บุปผาชื่น ค้นพบว่า ถ้านำเอาเปลือกมะรุมมาต้มกับเม็ดเก๋ากี้และฮ่วยชัวจะช่วยให้น้ำแกงมีรสอร่อย มีคุณค่าทางอาหารดีเยี่ยมและได้วิตามินครบถ้วน การใช้ประโยชน์ จาก เมล็ดมะรุมแก่ เมล็ดมะรุมก็เช่นเดียวกับใบคือ คุณค่ามาก เพียงวันละ 1 เมล็ด ก่อนนอน จะช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อการขับถ่ายกลับเป็นปกติแล้ว ขอแนะนำว่าควรงดการรับประทาน เพราะเมล็ดมะรุมเป็นยาปฏิชีวนะอย่างอ่อน อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน การเดินทางไกลไปในที่ที่ไม่ค่อยแน่ใจในเรื่องความสะอาดของน้ำและอาหาร ให้เคี้ยวเมล็ดมะรุมควบไปด้วย จะช่วยป้องกันโรคท้องเดินได้ นอกจากนี้ เมล็ดมะรุมแก่ยังมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบลง ทำให้แผลแห้งเร็ว อีกทั้ง เมล็ดมะรุมแก่ยังมีคุณสมบัติในการขับพยาธิได้เป็นอย่างดี โดยรับประทาน วันละ 12 เมล็ด ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 17 เมล็ด ต่อวัน ช่วยให้ผู้ที่มีแก้วหูทะลุเพราะการอักเสบกลับมีอาการดีขึ้นได้ เมล็ด มะรุมบดละเอียด สามารถนำไปใช้กรองน้ำอย่างได้ผล ทำให้ น้ำตกตะกอนมีผลเหมือนการใช้สารส้ม น้ำที่ได้รับการกรองจะใสสะอาด บริสุทธิ์ มีรสหวาน อร่อย และฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99% ชาวบ้านทั่วไปสามารถนำผงที่บดจากเมล็ดมะรุม ประมาณ 1 กำมือ ใส่ห่อผ้าขาวบาง มัดให้แน่นกันผงกระจาย มาแกว่งน้ำในโอ่ง ทิ้งไว้สักพักพอตกตะกอนแล้วรีบถ่ายตะกอนออกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ไข่ทิ้งไว้ น้ำที่เหลือจะใสสะอาดและมีรสหวานคล้ายน้ำฝนบริสุทธิ์ จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยในบางพื้นที่ใช้วิธีนำฝักมะรุมที่ค่อนข้างแก่ มาทุบแล้วนำมาแกว่งในน้ำเพื่อทำให้น้ำบริสุทธิ์ น่าเสียดายที่วิธีการนี้ไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไปอย่างทั่วถึง เพราะอาจจะช่วยให้พี่น้องชาวไทยในถิ่นทุรกันดารมีน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ไว้ดื่มกินเป็นการช่วยรักษาสุขอนามัยและประหยัดค่ายา ค่ารักษาพยาบาลได้อย่างมาก น้ำมันมะรุม นอกจาก ประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมล็ดมะรุมยังให้น้ำมันที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศอีกด้วย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ชนชาติอียิปต์โบราณนำน้ำมันชนิดหนึ่งมาใช้ปรุงอาหาร บำรุงและรักษาผิวพรรณ และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเวลานานเท่าใด น้ำมันชนิดนี้จะไม่มีการเปลี่ยนสภาพของสีและกลิ่นแต่อย่างใด แต่ยังคงสภาพเดิม คนโบราณเรียกน้ำมันมะรุมนี้ว่า Ben Oil และนำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นนาฬิกาชนิดที่ดีที่สุดในโลก รวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางราคาแพง น้ำมันมะรุมมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณสมบัติในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า และโรคผิวหนังอันเกิดจากเชื้อราต่างๆ รวมทั้งป้องกันพยาธิไชเท้า โดยนำมาทาเท้าก่อนย่ำน้ำและในผู้ป่วยที่มีอาการเป็นแผลเรื้อรังที่หลัง ได้ใช้น้ำมันมะรุมชโลมแผลในที่สุดก็หายได้ในเวลาประมาณ 10 วัน พระ ครูโสภณ สิทธิการ หรือ หลวงตาทวี กล่าวว่า สรรพคุณต่างๆ ของน้ำมันมะรุม ใช้ปรุงอาหารเช่นเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่า เพราะไม่มีกลิ่นเหม็นหืนภายหลัง ช่วยบำรุงผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บและผิวแห้งเพราะเชื้อรา ช่วยรักษาแผลถูกมีดบาดหรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ ลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและอาการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน ลดอาการปวดบวมของโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าต์ ช่วยรักษาบำบัดแผลในปากหรือแผลของโรคปากนกกระจอก ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิวบนใบหน้า ลบรอยจุดด่างดำของผิวอันเป็นผลจากการโดนแดดหรือการเสื่อมตามวัย ใช้นวดศีรษะรักษาบำบัดโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ บรรเทาอาการผมร่วงง่ายและอาการคันศีรษะ ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย คนที่ถูกผึ้งต่อยหลังจากทาน้ำมันมะรุมอาการปวดหายไป ส่วนอาการบวมก็ลดลง บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามบั้นเอวและขา เนื่องจากการยืนนานๆ อาการปวดตามไหล่และปวดศีรษะ ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่างๆ ประจำบ้าน ทำให้สิ่งของไม่เป็นสนิม วิธีทำน้ำมันมะรุม วิธีทำน้ำมันมะรุมแบบง่ายๆ เพื่อใช้ในครัวเรือน นำเมล็ดมะรุมมาบดให้ละเอียดใส่หม้อเติมน้ำให้ท่วมเป็น 2 เท่า ตั้งไฟ เดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวไฟอ่อนๆ ไปเรื่อยๆ พอน้ำเริ่มงวด น้ำมันจะซึมขึ้นมาเช่นเดียวกับการทำน้ำมันมะพร้าว ไม่จำเป็นต้องรอจนน้ำแห้งสนิท ถ้ามีน้ำเหลือติดนิดหน่อยไม่เป็นไร ทิ้งให้เย็นแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง บีบน้ำมันออกให้มากที่สุด นำน้ำมันที่บีบได้ตั้งไฟอ่อนๆ อีกครั้ง เพื่อให้น้ำระเหยออกให้หมด พอเย็นกรอกใส่ขวด เก็บไว้ใช้ได้นานปี ไม่ต้องใส่ตู้เย็น สำหรับกากอย่าทิ้งนำไปใช้กรองน้ำให้สะอาด เมื่อเสื่อมคุณภาพก็นำไปทำเป็นปุ๋ยต่อไป เปลือกจากลำต้นมะรุม นำเปลือกจากลำต้นมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ รวมกับเปลือกต้นปีบ ถ้าไม่สามารถหาเปลือกต้นปีบก็ใช้อย่างเดียว ให้นำมาห่อในผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบแก้โรคปวดหลัง หรือปวดขาได้เป็นอย่างดี ร้านขายเครื่องยาจีนส่วนใหญ่จะนำมาเข้าเครื่องยารักษาโรคหลายชนิด ดอก มะรุม ต้องรับประทานสุกเท่านั้น ใช้ต้มทำน้ำชา กลิ่นชาที่หอมหวานจะช่วยให้นอนหลับสบาย นอกจากนั้น ยังนำมาชุบไข่ทอดหรือทำแกงส้มได้ ไม่ควรรับประทานมากจะทำให้ท้องเสีย นอกจากนี้ ชาวสวนยังใช้กิ่งและใบมะรุมที่ร่วงหล่นผสมพรวนดินเพื่อป้องกันเชื้อราก่อน ปลูกพืชไร่ต่างๆ หากปลูกมะรุมไว้ในบ้าน ก็เปรียบเสมือนได้ย้ายโรงพยาบาลมาไว้ที่บ้าน แม้จะได้ยาจากมะรุม แต่หากไม่รู้จักการควบคุมดูแลตนเองหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ผลร้ายต่อ สุขภาพแล้วไซร้ ก็ไม่มียาชนิดใดในโลกช่วยได้ จึงต้องรู้จักการช่วยตนเองก่อนสิ่งที่มีประโยชน์อื่นๆ จึงจะเอื้อประโยชน์ต่อท่านได้ ซึ่งจะบังเกิดผลในแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพวิถีชีวิตของแต่ละคน การรับประทานมะรุมให้ได้ผลเต็มที่ ควรหยุดรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การรับประทานอาหารมังสวิรัติจะเห็นผลในการรักษาได้ดี มีผลดีช่วยเพิ่มภูมิต้านทานต่อผู้ป่วยโรค การให้ยามะรุมร่วมด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วย สิ่งที่เห็นผลชัดเจนคือ สุขภาพของคนป่วยดีขึ้นมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้นและสุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงขึ้น สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (085) 099-7220 mail : anocha.oil@gmail.com มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์ ผลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ดังนี้ เปรียบ เทียบคุณค่าสารอาหารในใบมะรุม จากน้ำหนักเท่าๆ กัน กรัมต่อกรัม ใบ มะรุม มีวิตามินซี มากกว่าส้ม 7 เท่า มีแคลเซียม มากกว่านม 4 เท่า มีวิตามินเอ มากกว่าแครอต 4 เท่า มีโพแทสเซียม มากกว่ากล้วย 3 เท่า มีโปรตีน มากกว่านม 2 เท่า มะรุม เป็นไม้กลางบ้านของไทย ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ถึง 300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้น น้ำมันมะรุมมีคุณสมบัติในการรักษาโรคน้ำกัดเท้าและโรคผิวหนัง อันเกิดจากเชื้อราต่างๆ รวมทั้งป้องกันพยาธิไชเท้า โดยนำมาทาเท้าก่อนย่ำน้ำ สรรพคุณ ต่างๆ ของน้ำมันมะรุม 1. ใช้น้ำมันมะรุมปรุงอาหารเช่นเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่า เพราะไม่มีกลิ่นเหม็นหืนภายหลัง 2. ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว 3. ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บ และผิวแห้งเพราะเชื้อรา 4. ช่วยรักษาแผลถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ 5. ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน 6. ช่วยลดอาการปวดบวมของโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าต์ 7. ช่วยรักษาบำบัดแผลในปาก หรือแผลของโรคปากนกกระจอก 8. ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี 9. ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิวบนใบหน้า 10. ช่วยลบรอยจุดด่างดำของผิว อันเป็นผลจากการโดนแดดหรือการเหี่ยวตามวัย 11. ใช้นวดศีรษะ ช่วยรักษาโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ บรรเทาอาการผมร่วงง่ายและอาการคันศีรษะ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 481
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM