เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปรับปรุงพันธุ์แพะ โดยการผสมเทียม
   
ปัญหา :
 
 
แพะ เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงกันเฉพาะถิ่น เนื่องจากผู้บริโภคมีจำนวนจำกัดเฉพาะชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น และความเชื่อของคนส่วนใหญ่ว่า เนื้อแพะเมื่อนำไปปรุงอาหารโดยผู้ที่ไม่มีความชำนาญจริงๆ อาหารจะเหม็นสาบ แต่ ในปัจจุบัน คนส่วนหนึ่งหันมาบริโภคเนื้อแพะเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้นมแพะยังเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากกว่านมวัว และยังสามารถใช้ทดแทนน้ำนมแม่ในกรณีที่ทารกเป็นโรคแพ้โปรตีนจากนมวัว จากการวิจัยของกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นม ของกรมปศุสัตว์พบว่า น้ำนมแพะช่วยลดอาการเกิดภูมิแพ้ลงได้ ในบ้านเราสมัยก่อนเลี้ยงแพะพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีคุณภาพด้อย คือมีน้ำหนักตัวของเพศผู้เมื่อโตเต็มที่ 20-30 กิโลกรัม ปริมาณน้ำนมของเพศเมียเฉลี่ยไม่กี่ กิโลกรัมต่อปี แต่มีข้อดีที่แพะพื้นเมืองมีความต้านทานต่อโรคได้ดีกว่า ในการเลี้ยงแบบชาวบ้านก็ไม่ได้เอาใจใส่มากนัก เพียงกั้นคอก ยกพื้นโรงเรือนสำหรับพักในตอนกลางคืนให้สูงสัก 1 เมตร ก็เพียงพอแล้ว ตอนกลางวันก็ปล่อยออกจากคอกให้แพะหากินเองตามไร่สวน ตามยถากรรม ในการกำจัดหญ้าตามสวน แพะนับเป็นเครื่องตัดหญ้าที่มีประสิทธิภาพดีกว่าวัว เพราะในการแทะเล็มวัวจะกินเฉพาะยอด แต่แพะจะกินหญ้าจนถึงโคน แต่ใน การเลี้ยงแพะร่วมกับการปลูกพืชอื่นจะต้องพิจารณากันให้ดีก่อน เพราะแพะจะเป็นสัตว์ที่กินพืชได้ไม่เลือกหน้า จึงควรมีขอบเขตการแทะเล็มของแพะไม่ให้ไปรบกวนพืชสวนตัวอื่น หรือการเลี้ยงแพะแบบปล่อยในสวนปาล์มที่มีอายุหลายปีแล้วเกินกว่าแพะจะแทะ เล็มใบได้ก็เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในภาคใต้ เกษตรกรทั่วไปหลายท่านยังเข้าใจว่าการเลี้ยงแพะเป็นเรื่องง่ายๆ ปล่อยให้หากินตามยถากรรม เลี้ยงแบบทิ้งๆ ขว้างๆ เพราะแพะเลี้ยงง่าย หากินเองเก่ง ที่ว่ามาก็เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าผู้เลี้ยงเอาใจใส่ในการเลี้ยง ผลผลิตที่ได้จากแพะจะมีมากกว่าการไม่เอาใจใส่ เช่น มีอัตราการเจริญเติบโตดี ให้ลูกแฝด หรือแพะมีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรค แต่สำหรับผู้เลี้ยงแพะเป็นอาชีพแล้ว การเลี้ยงดูแพะอย่างเอาใจใส่จะให้ผลผลิตมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือนม ซึ่งหมายถึงกำไร ในการเลี้ยงดูนอกจากการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของแพะแล้ว ยังมีปัญหาที่สำคัญคือ เรื่องสายพันธุ์ของแพะ สาเหตุ ของแพะพันธุ์พื้นเมือง ที่มีประสิทธิภาพด้อยลง เกิดจาก มีการให้ผสมกันเองในฝูงแพะ ซึ่งเป็นการผสมแบบเลือดชิด เช่น พี่ผสมน้อง ลูกผสมกับแม่ นานๆ ไปแพะในฝูงนั้นก็ไม่ได้ปรับปรุงพันธุ์ โดยเอาสายเลือดของพ่อแม่พันธุ์อื่นเข้ามา ทำให้ลูกแพะที่ได้ในครอกต่อมาอ่อนแอ ประสิทธิภาพการให้เนื้อและนมด้อยลง เกษตรกรที่เลี้ยงแพะส่วนหนึ่งเห็นความบกพร่องในข้อนี้ จึงได้มีการนำแม่หรือพ่อพันธุ์จากฝูงอื่นเข้ามาผสมพันธุ์ เพื่อไม่ให้แพะในฝูงเลือดชิดเกินไป แต่ประสิทธิภาพในการผลิตก็ไม่ได้สูงขึ้นกว่าเดิมมากนัก สำหรับ เกษตรกรทั่วไป การปรับปรุงพันธุ์โดยนำพ่อพันธุ์แพะจากต่างประเทศมาเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ยาก เพราะพ่อพันธุ์แพะมีราคาแพง และยังจำเป็นต้องดูแลเป็นอย่างดีในสภาพที่เหมาะสมอีกด้วย กรมปศุ สัตว์จึงได้มีการนำพ่อแพะพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย จุดประสงค์หลักเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo-Nubian) จากประเทศอังกฤษ แพะพันธุ์บอร์ (Boer) จากประเทศแอฟริกา และแพะพันธุ์ซาแนน (Saanen) จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งแพะพันธุ์เหล่านี้ได้นำเข้ามาเพื่อเป็นพ่อพันธุ์สำหรับแม่พันธุ์พื้น เมืองทั้งสิ้น ทำให้ในปัจจุบันเราสามารถมีแพะลูกผสมที่มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตสูงกว่า เดิม ลักษณะประจำพันธุ์ของแพะจากต่างประเทศ พันธุ์ ทอกเกนเบอร์ก (Toggenburg) มีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเทาแกมเหลือง มีแถบสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวเป็นแนวยาวจากเหนือตาทั้งสองข้างลงไปบรรจบกันที่ เหนือจมูก ไม่มีเขา ให้น้ำนมเฉลี่ยวันละ 2 กิโลกรัม ปริมาณน้ำนม 800 กิโลกรัม ใน 200 วัน น้ำหนักเพศผู้เมื่อโตเต็มที่ 60 กิโลกรัม น้ำหนักเพศเมียเมื่อโตเต็มที่ 45 กิโลกรัม สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี พันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะเขตร้อนจากประเทศแอฟริกา ลำตัวสีขาว หัวและคอสีแดง หูยาว นำเข้ามาในช่วงปี 2539 น้ำหนักเพศผู้โตเต็มที่ 90 กิโลกรัม น้ำหนักเพศเมียโตเต็มที่ 65 กิโลกรัม เหมาะสำหรับเป็นแพะเนื้อ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ พันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo-Nubian) นำเข้าจากประเทศอังกฤษ มีหลายสี อาจเป็นสีเดียวทั้งตัว หรือมีสีต่างๆ ปนกัน เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล อาจมีจุดหรือด่าง ปกติไม่มีเขา เพศผู้โตเต็มที่ 70 กิโลกรัม เพศเมียโตเต็มที่ 60 กิโลกรัม เป็นได้ทั้งแพะเนื้อและนม ให้น้ำนมวันละ 1.5 ลิตร ระยะการให้น้ำนม 165 วัน พันธุ์ซาแนน (Saanen) ลักษณะประจำพันธุ์ คือ มีสีขาวทั้งตัว จมูกเป็นสันตรง ใบหูสั้น เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพศผู้น้ำหนักเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ 70 กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 60 กิโลกรัม เป็นแพะนม ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 3 กิโลกรัม และให้น้ำนมนานถึง 250 วัน ไม่ค่อยเหมาะสำหรับการเลี้ยงในเขตร้อน ความสำคัญในการผสม เทียม ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งอยู่ที่ด่านบันไดม้า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีของโคเนื้อและแพะ เพื่อถ่ายทอดให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์โดยตรง ด้วยความอนุเคราะห์ของ ดร.มาลี อภิเมธีธำรง นักวิชาการของสำนักเทคโนลียีชีวภาพฯ ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า การนำเข้าพ่อพันธุ์แพะที่ดีจากต่างประเทศเข้ามา จะไม่สามารถนำไปให้เกษตรกรเพื่อการผสมพันธุ์ในฝูงแบบที่เกษตรกรทำได้ เนื่องจากปริมาณพ่อพันธุ์แพะที่นำเข้ามามีปริมาณไม่มากพอสำหรับเกษตรกร และวิธีการผสมตามธรรมชาติจะเสี่ยงต่อการติดโรคของทั้งฝ่ายพ่อพันธุ์และแม่ พันธุ์ วิธีการผสมเทียมให้กับแม่แพะพันธุ์พื้นเมืองเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือ สามารถผสมแม่พันธุ์ได้จำนวนมากและเป็นการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นระหว่างการ ผสมพันธุ์ ขั้นตอนการรีดน้ำเชื้อ สัตวแพทย์ บันลือ กล่ำพูล สัตวแพทย์ที่ทำหน้าที่ดูแลแพะพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมดของศูนย์วิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน ปากช่อง ได้กรุณาสาธิตการรีดน้ำเชื้อจากพ่อแพะพันธุ์ให้เราดู และอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด ขั้นตอนที่หนึ่ง ทำความสะอาดตัวพ่อพันธุ์ ตัดขนบริเวณอวัยวะเพศ ล้างลึงค์ด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ขั้นตอนที่สอง นำแม่แพะที่เป็นสัดมาเป็นตัวล่อ ให้อยู่ด้านหน้าซอง ขั้นตอนที่สาม เตรียมอุปกรณ์การรีด ซึ่งอบฆ่าเชื้อแล้วให้พร้อม ขั้นตอนที่สี่ ปล่อยพ่อพันธุ์ขึ้นขี่ ในช่วงจังหวะนั้นให้สวมอุปกรณ์การรีดที่อวัยวะเพศของแพะตัวผู้ แพะก็จะปล่อยน้ำเชื้อลงในอุปกรณ์การรีดอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนที่ห้า นำอุปกรณ์การรีด ซึ่งจะมีผ้าหุ้มไม่ให้โดนแสงแดดเข้าห้องปฏิบัติการโดยเร็ว การ ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ การทำงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมี ดร.มาลี เป็นผู้รับผิดชอบนี้ มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จึงเป็นที่ไว้วางใจได้ว่าน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่เกษตรกรนำไปใช้ผสม เป็นของแท้ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดถูกต้องตรงตามสายพ่อพันธุ์ที่ ต้องการแน่นอน ขั้นตอนการทำงานในห้องปฏิบัติการ 1. ตรวจทั่วไป ดูปริมาณ สี ความเคลื่อนไหว ผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยการหยดน้ำเชื้อ ลงในแผ่นสไลด์ ว่าเข้าเกณณ์มาตรฐานหรือไม่ 2. เอาน้ำเชื้อไปปั่นล้างในหลอดปั่นล้าง เพื่อเอาน้ำแยกออก ตรวจดูความเข้มข้น เพื่อเติมสารเจือจางน้ำเชื้อ ให้ได้ 200 ตัว ต่อ 1 โด๊ส (0.25 ซีซี) 3. ลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศา ภายใน 4 ชั่วโมง 4. เตรียมหลอดน้ำเชื้อแล้วดูดน้ำเชื้อเข้าหลอดน้ำเชื้อนำไปแช่งแข็ง ในอูณหภูมิ -196 องศา ในถังไฮโดรเจนเหลว เราก็จะได้น้ำเชื้อเพื่อเก็บไว้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะได้ทั่วประเทศ การ ผสมเทียมแพะ แพะตัวเมียที่เป็นสัด จะมีอาการกระวนกระวาย น้ำเมือกไหลที่ช่องคลอด หรือปีนตัวอื่น ทำให้เรารู้ว่า นี่คือ อาการเป็นสัดของแพะ ในระยะเวลาเป็นสัดของแพะจะเป็นประมาณ 2-3 วัน ในช่วงนี้ถ้าเจ้าของแพะสามารถผสมได้เองจะมีโอกาสติดลูกได้มากกว่ารอ สัตวแพทย์มาผสมให้ ในการผสมจะผสม 2 ครั้ง โดยให้ห่างกัน 1 วัน จะมีโอกาสติดลูกสูงมาก ขั้นตอนในการผสมเทียม เท่าที่เห็นสัตวแพทย์บันลือ สาธิตให้ดูก็เป็นวิธีง่ายๆ ถ้าเกษตรกรที่เลี้ยงแพะมาซัก 2-3 ปี ก็น่าจะทำได้ ถ้าได้มาฝึกอบรมการผสมเทียม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับเกษตรกรผู้ต้องการปรับปรุงพันธุ์แพะใน ฝูง อุปกรณ์ที่นำมาผสมเทียม ได้แก่ หลอดน้ำเชื้อ กรรไกรตัดหลอดน้ำเชื้อ กระติกน้ำอุ่น ประมาณ 37 องศา ปืนผสมเทียม ที่ถ่างช่องคลอด ไฟฉาย ขั้นตอนการผสมเทียม 1. นำแพะแม่พันธุ์ที่เป็นสัดเข้าซองเพื่อรอผสม 2. นำหลอดน้ำเชื้อจุ่มในกระติกน้ำอุ่น เพื่อปรับอุณหภูมิ 30 วินาที แล้วนำใส่ปืนผสมเทียม 3. ใช้อุปกรณ์ถ่างช่องคลอดแพะแม่พันธุ์ 4. ส่องไฟฉายเข้าไปในช่องคลอดจะเห็นเนื้อย่นๆ สีแดง 5. สอดปืนผสมเทียมเข้าไปถึงเนื้อย่นๆ สีแดง แล้วฉีดค้างไว้ 1 นาที ปัจจุบัน หลักสูตรการผสมเทียมแพะของศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน ปากช่อง ซึ่งมี นายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ เป็นหัวหน้าศูนย์ อยู่ทำหน้าที่อบรมเฉพาะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เองเสียส่วนใหญ่ จะมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมบ้างเป็นส่วนน้อย เพราะศูนย์วิจัยการผสมเทียมที่มีอยู่ 10 แห่ง ทั่วประเทศ จะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการแก่เกษตรกรโดยทั่วไป กำลังการผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์แพะของศูนย์ปีละ 1,000 โด๊ส ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับความต้องการใช้ ในอนาคตศูนย์จะมีการขยายกำลังการผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 2,000 โด๊ส เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเกษตรกร
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 481
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM