เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์
   
ปัญหา :
 
 
เคย ติดตามเรื่องราวของ มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์ จากสื่อต่างๆ ด้วยความสนใจมาโดยตลอด จนกระทั่งมาพบหนังสือ "ต้นไม้เพื่อชีวิต" ของ คุณวิไลวรรณ อนุสารสุนทร ซึ่งเขียนเรื่องสรรพคุณของมะรุมจากประสบการณ์ตรงของตนเอง คุณวิไลวรรณป่วยเป็นโรคหลายโรค แต่ละโรคก็หนักๆ ทั้งนั้น แต่ด้วยความเชื่อมั่นในสรรพคุณของมะรุม และรับประทานมะรุมอย่างต่อเนื่องจริงจัง ไม่ว่าผงใบมะรุม เมล็ดมะรุม ผลสุดท้ายโรคร้ายต่างๆ ก็หดหายจากไป จนทำให้ได้เขียนเล่าเรื่องมะรุมออกมาเผยแพร่ แต่คิดว่ายังคงไม่ทั่วถึง จึงขอนำมาถ่ายทอดในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านเพิ่มเติม มะรุม ไม้กลางบ้านไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาช้านาน มะรุม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น อีสานเรียก "อีฮุม" เหนือเรียก "บ่ค้อนก้อม" คุณวิไลวรรณ บอกว่า มะรุม มีอยู่ 14 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นำมาใช้ทดลองมากที่สุดคือสายพันธุ์ "โอลิเฟอร่า" ผลการ วิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์คุณค่าทางโภชนาการของมะรุมว่า คุณค่าสารอาหารในใบมะรุมจากน้ำหนักเท่าๆ กัน กรัมต่อกรัมดังนี้ ใบมะรุม มีวิตามินซีมากกว่าส้ม 7 เท่า มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า มีวิตามินเอมากกว่าแครอต 4 เท่า มีโพแทสเซียมมากกว่ากล้วย 3 เท่า และมีโปรตีนมากกว่านม 2 เท่า ประโยชน์ของมะรุม ข้อที่ 1 ใช้รักษาบำบัดโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ ลดสถิติการเสียชีวิต พิการ ตาบอดในเด็ก การให้สารอาหารมะรุมแก่เด็กที่ดีที่สุด คือผ่านทางน้ำนมของมารดา เมื่อเด็กดื่มนมจากมารดาที่รับประทานใบมะรุมอย่างสม่ำเสมอ สารอาหารที่สำคัญของมะรุมจะผ่านสู่เด็กได้โดยง่าย ข้อที่ 2 ช่วยผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ ข้อ ที่ 3 ช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยเองต้องช่วยตนเองด้วยการควบคุมอาหาร บริหารร่างกายแบบง่าย เช่น การเดิน การรำไท้ซี่ ประกอบไปด้วย ข้อที่ 4 ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เช่น หญิงมีครรภ์ที่รับประทานมะรุมนอกจากจะมีสุขภาพสมบูรณ์แล้ว ทารกที่คลอดออกมาก็จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไปด้วย ข้อที่ 5 ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของโรคเก๊าต์ โรคไขข้อและกระดูกอักเสบ โรครูมาติซั่ม ข้อที่ 6 ช่วยรักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัว เนื่องจากขาดสารอาหาร โรคตาต้อ ข้อที่ 7 ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ ข้อที่ 8 บำรุงรักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคปอดอักเสบ ข้อที่ 9 รักษาโรคทางเดินหายใจอักเสบ โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ข้อที่ 10 ช่วยเชื่อมต่อกระดูกที่หักได้ผลรวดเร็ว รักษาบำบัดโรคกระดูกเสื่อมในผู้สูงอายุ ข้อที่ 11 ช่วยรักษาโรคคอหอยเป็นพิษ ชนิดมีพิษ ส่วนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของต้นมะรุม ใบ สด ที่ให้ประโยชน์เต็มที่ คือใบสดที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป การใช้ใบสดปรุงเป็นอาหารสามารถทำได้ตามความถนัด เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง จึงไม่ควรให้เด็กทารกจนถึง 2 ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป การรับประทานใบมะรุมสดไม่ควรรับประทานมาก อาจทำให้ท้องเสีย เพราะจัดเป็นยาถ่ายประเภทหนึ่ง บางครั้งอาจเป็นลมพิษหรือผื่นคัน แต่อาการดังกล่าวก็มิได้เกิดกับทุกคน แล้วแต่สภาพร่างกาย การรับประทานใบสดในรูปแบบอื่น เช่น การคั้นใบสดดื่มก็ย่อมได้ เช่น ผู้ใหญ่ดื่มวันละ 1 ช้อนโต๊ะ วัยรุ่น วันละ 1 ช้อนชา สำหรับเด็กเล็กอายุไม่เกิน 4 ขวบ รับประทานได้ครั้งละ 1-2 หยด โดยการผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม ยกเว้นเด็กที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ให้เพิ่มขนาดได้ตามที่เห็นสมควร การรับประทานรูปแบบนี้หากมีอาการท้องเสียให้ลดปริมาณลง ใบมะรุมตาก แห้ง ท่านที่มีต้นมะรุมอยู่ที่บ้าน สามารถทำได้อย่างง่ายๆ ดังนี้ ก่อนเก็บใบมะรุม 1 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำล้างใบมะรุมที่ต้นให้สะอาด เก็บใบในวันถัดมา ใบที่เก็บไม่อ่อนไม่แก่เกินไป นำมาผึ่งในร่มให้แห้ง ใบที่แห้งสนิทจะกรอบเมื่อเอามือจับดู ถ้าตากลมในที่ร่ม 2-3 วัน ยังไม่แห้งดี ให้นำเข้าเตาอบ ใช้อุณหภูมิเท่าแสงแดด อบนานประมาณ 10 นาที ก็จะกรอบ หากไม่มีเตาอบให้ใช้ภาชนะอื่น เช่น กระด้งตาถี่ ป้องกันใบมะรุมหลุดร่วง และมีภาชนะอีกใบปิดครอบ อย่าให้ใบถูกแสงแดด แล้วนำไปตากแดดประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจนกว่าใบจะแห้งกรอบ ใบมะรุมแห้ง แบบนี้จะขาดสารอาหารบางอย่างไป เช่น วิตามินซี คลอลีน และแร่ธาตุบางจำพวก แต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิม การเก็บรักษาใบมะรุมแห้งให้เก็บในขวดทึบแสง การใช้ประโยชน์ใช้ชงดื่มแทนน้ำชา การทำใบมะรุมผง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การบดด้วยเครื่องบดกาแฟ การตำใส่ครก หรือการใช้ตะแกรงตาถี่ๆ ใช้แปรงลวดปัดไปมาจนกลายเป็นผง การเก็บมะรุมผงก็เก็บในขวดทึบแสงเช่นเดียวกัน หากจะบรรจุมะรุมผงใน แค็ปซูล ให้หาภาชนะเล็กๆ ตื้นๆ เทผงมะรุมลงไปให้ทั่วเท่าๆ กัน ใช้กระดาษที่สะอาดกดทับผงมะรุมเบาๆ เมื่อผงมะรุมอัดกันแน่น จึงนำแค็ปซูลมาเปิดฝาออก จับส่วนยาวกดลงไปในผงมะรุมให้แน่น จึงนำส่วนที่เป็นฝามาปิดเก็บไว้ในภาชนะทึบแสง รับประทานวันละ 2 แค็ปซูล หลังอาหาร เช้า-เย็น ฝักมะรุม ส่วนใหญ่นำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกง และผัด ฝักมะรุมที่อ่อนมากๆ จะมีรสชาติคล้ายถั่วฝักยาว นำไปประกอบปรุงเป็นอาหารได้เช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ฝักมะรุมกลางอ่อนกลางแก่เวลาจะนำมาปรุงเป็นอาหารมักจะขูดผิวและปอกเปลือก ก่อน เมล็ดแก่ มีคุณค่ามหาศาลมากเช่นเดียวกับใบ หากรับประทานเพียงวันละ 1 เมล็ด ก่อนนอน จะช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อการขับถ่ายเป็นปกติแล้ว ควรงดรับประทาน เพราะเมล็ดมะรุมเป็นยาปฏิชีวนะอย่างอ่อนๆ รสชาติของเมล็ดมะรุมเมื่อขบเคี้ยวครั้งแรกจะมีรสขม พอเคี้ยวไปได้สักพักจะเริ่มมีรสหวานขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหวานจัด เมื่อดื่มน้ำตามลงไป คอจะรู้สึกชุ่มชื้น สามารถรักษาโรคไอเรื้อรังและอาการท้องเสียอย่างรุนแรงได้ คนเป็นไข้หวัดเมื่อรับประทานเมล็ดมะรุม อาการไข้หวัดจะหายไป การรับประทานเมล็ดมะรุมเพื่อขับพยาธิ ให้รับประทานวันละ 12 เมล็ดติดต่อกันไป 10 วัน แต่ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 17 เมล็ด ผู้รับประทานเพื่อขับพยาธิหากมีอาการแก้วหูทะลุอยู่ก่อนแล้ว อาการดังกล่าวจะดีขึ้นด้วย น้ำมันมะรุม ทำจากเมล็ดของมะรุม มีวิธีทำแบบง่ายๆ สำหรับใช้ในครัวเรือน การทำ ให้นำเมล็ดมะรุมมาบดให้ละเอียด ใส่ลงในหม้อเติมน้ำให้ท่วมเป็น 2 เท่า ตั้งหม้อบนเตาไฟต้มไปจนเดือด แล้วค่อยๆ หรี่ไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ไปเรื่อยๆ จนน้ำงวด น้ำมันจะลอยขึ้นลงเช่นเดียวกับทำน้ำมันมะพร้าว ไม่จำเป็นต้องรอจนน้ำให้แห้งสนิท มีน้ำเหลือบ้างนิดหน่อย ไม่เป็นไร ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางบีบน้ำมันให้ออกมากที่สุด นำน้ำมันที่ได้ไปใส่หม้อเคี่ยวบนเตาไฟอ่อนๆ ให้น้ำระเหยออกจนหมด ทิ้งไว้ให้เย็น กรอกใส่ขวดเก็บไว้ใช้ได้นานปี เปลือกจากลำต้น นำเปลือกมะรุมมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ หากมีเปลือกต้นปีบผสมด้วยจะยิ่งดี หากไม่มีก็ไม่เป็นไร นำเปลือกที่สับไปห่อผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ เวลาใช้ให้นำไปนึ่งให้ร้อนแล้วจึงประคบ แก้โรคปวดขา ปวดเอว ปวดหลัง ดีนัก ดอก มะรุม การรับประทานต้องสุกแล้วเท่านั้น ใช้ต้มทำแทนน้ำชา มีกลิ่นหอมรสหวาน ช่วยให้นอนหลับสบาย หรือจะนำไปชุบแป้งไก่ทอด ทำแกงส้ม อย่ารับประทานมาก อาจทำให้ท้องเสีย จะอย่างไรก็ตาม แม้จะมียาวิเศษมหัศจรรย์ใดๆ หากตัวเราเองไม่รู้จักควบคุมดูแลตน หรือไม่หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ผลร้ายต่อสุขภาพแล้วไซร้ ก็ไม่มียาชนิดใดในโลกช่วยได้ จึงต้องรู้จักการช่วยเหลือตนเองเสียก่อน สิ่งที่มีประโยชน์อื่นๆ จึงจะช่วยเราได้ การบังเกิดผลในแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป ตามสภาพวิถีชีวิตของแต่ละคน การรับประทานมะรุมให้ได้ผลเต็มที่ ควรหยุดรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ จากแพทย์ผู้รักษา คุณวิไลวรรณให้คำรับรองว่า เหตุที่คุณวิไลวรรณเห็นผล 100% เพราะการรับประทานมังสวิรัตินั่นเอง แจ่มกระจ่างกว่าเดิมไหมครับ ท่านผู้อ่าน และสนใจเรื่องมะรุม ท่านที่ปลูกมะรุมไว้ที่บ้านหรือที่สวนคงพอใจในแนวที่ผู้เขียนนำมาเสนอ จะทำผลิตภัณฑ์มะรุมแบบใดใช้เองก็คงไม่ยากแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่มีต้นมะรุมเองคงลำบากหน่อย หากต้องการความสะดวกก็มีผู้ทำจำหน่ายกันอยู่ทั่วไป สำหรับผู้เขียนเองก็พอมีต้นมะรุมอยู่บ้าง ก็คงจะลองทำ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ทำ อดรนทนไม่ได้จึงสั่งซื้อหามาใช้ก่อน โดยใช้บริการของ คุณเฉลิม อุตมา ที่ทำแค็ปซูลมะรุมผงได้เต็มแค็ปซูล บริการราคายุติธรรม ท่านใดสนใจ ก็ลองโทร.ไปที่หมายเลขโทรศัพท์ (087) 902-0881 ครับ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 487
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM