เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
   
ปัญหา :
 
 
ปุ๋ยเคมีแพง ยังคงเป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรที่ยังคงพึ่งพาปุ๋ยเคมีที่ไม่สามารถผลิตได้เอง แต่ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถสร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรที่หันมาพึ่งพาการใช้ สารอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เองด้วยวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร ที่ทั้งช่วยลดต้นทุนได้ไม่น้อยแล้ว ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีได้ เป็นอย่างดี นายขวัญชัย โค้วปรีชา หมอดินอาสาบ้านหนองหอย หมู่ที่ 6 ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่หันมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงไว้ใช้เองพร้อมทั้ง เพื่อจำหน่ายในชุมชน นำมาซึ่งรายได้เพิ่มขึ้นขณะที่ต้นทุนการผลิตต่ำลง จนนำไปสู่การเลิกใช้สารเคมีในที่สุด ขวัญชัย กล่าวว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อนตนทำการเพาะปลูกมันสำปะหลังและสับปะรด แต่ราคาขายผลผลิตที่ได้เมื่อหักต้นทุน ค่าแรง และค่าปุ๋ยเคมีแล้ว ไม่คุ้มกับการลงทุนลงแรงที่เสียไป จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่มาทำสวนผสม และผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่กรมพัฒนาที่ดินได้แนะนำส่ง เสริมไว้ใช้เอง โดยปลูกมะพร้าวเป็นหลักระหว่างแถวแซมด้วยไม้ผลต่าง ๆ ได้แก่ ขนุน มะม่วง ลำไย จำปาดะ พืชแซมอื่น ๆ ไผ่หวาน ปาล์มน้ำมัน แก้วมังกร พริกไทย ชะอม พริก และพืชสมุนไพรต่าง ๆ การบริหารจัดการพื้นที่ของที่นี่ แตกต่างจากสวนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรในพื้นที่จะทำสวนมะพร้าวเพียงอย่างเดียว โดยปล่อยพื้นที่ระหว่างแถวของมะพร้าวให้ว่างเปล่า แต่สวนของหมอดินขวัญชัยจะทำการปลูกพืชแซมระหว่างแถวเป็นแปลงเกษตรสวนผสมใน สวนมะพร้าว เป็นการวางแผนการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเวลาไปบอกใครให้ทำตามก็มีบางคนบอกทำไม่ได้ไม่มีน้ำ บางคนว่าปลูกไม่ได้ดินไม่ดี แต่เขาก็ สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าถึงแม้ที่นี่น้ำไม่มีดินไม่ดี แต่ก็สามารถฟื้นฟูพลิกฟื้นทำสวนผสมผสานได้ ทั้งสามารถสร้างรายได้เสริมได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท สำหรับ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในสวนแห่งนี้ เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ผลิตไว้ใช้เองและจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในชุมชน ภายใต้ชื่อปุ๋ยชีวภาพตราหมอดินเพิ่มพูน ซึ่งอัตราส่วนผสม 100 กก. ประกอบด้วย ปลาป่น 20 กก. รำละเอียด 10 กก. หินฟอสเฟต 10 กก.กระดูกป่น 20 กก. มูลค้างคาว 10 กก. มูลไก่ไข่ 30 กก. นอกจากนี้ ยังนำขุยมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากผลผลิตที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์พด.1 ซึ่งส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ใช้ขุยมะพร้าว 1,000 กก. มูลสัตว์ 200 กก. ยูเรีย 2 กก. และสารเร่งซุปเปอร์พด.1 1 ซอง ขอรับได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ซึ่งเป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ง่าย รวดเร็ว และต้นทุนการผลิตต่ำกว่าปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สามารถใช้ในการเตรียมหลุมปลูก หรือใช้กับต้นพืชที่เติบโตแล้วและ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมาช่วยเสริม “เกษตรกรปลอดภัยเมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผลิตเองได้ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปซื้อเขา เราสามารถผลิตได้ตลอดเวลาตามความต้องการ ที่สำคัญการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้ผลผลิตออกเรื่อย ๆ เก็บขายได้ก่อนฤดู เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์กว่าพื้นที่ที่ใช้สารเคมี” หมอดินขวัญชัย กล่าวย้ำ หากเกษตรกรท่านใดสนใจการทำการเกษตรผสมผสาน หรือการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สามารถเข้าไปศึกษาดูงานได้ เพราะที่นี่เขาเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หรือโทรฯสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 08-6171-6196, 08-7171-9286.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 29 ธันวาคม 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM