เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนะตัดแต่งดอกทุเรียน คุมปริมาณและคุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
ปีนี้...แม้กรุงเทพฯจะยังถือว่ายัง ไม่หนาว หากแต่ภูมิภาคอื่น ๆ อากาศหนาวแล้ว บางพื้นที่ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติจากภาวะอากาศหนาวหรือประสบภัยหนาวด้วย ซ้ำไป โดยอากาศหนาวที่ว่านี้ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนและค่อนข้างยาวนาน ทุเรียนจึงเกิดตาดอกเร็วกว่าทุกปี โดยทุเรียนพันธุ์เบาจะเริ่มออกดอกก่อน เช่น พันธุ์กระดุม ชะนี หมอนทอง ก้านยาว เรียงตามลำดับ ทำให้ทุเรียนสุกแก่เร็วกว่าปกติประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ช่วงนี้ต้นทุเรียนในเขตภาคตะวันออกจะเริ่มแทงช่อดอกแล้ว และแม้ว่าอีกหลายเดือนกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้แนะนำให้มีการ ตัดแต่งดอกทุเรียน เพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพของผลทุเรียน เพราะการตัดแต่งดอกทุเรียนแม้จะเป็นการเสียเวลาและเพิ่มภาระให้พี่น้อง เกษตรกรก็จริง แต่เมื่อไม้ผลออกดอกแล้ว ดอกจะเป็นอวัยวะส่วนสำคัญในการใช้อาหาร เพื่อเจริญเติบโตเป็นผลต่อไป ทุเรียนที่มีดอกมากเกินไปไม่ต่างอะไรกับแม่ยากจนซึ่งมีลูกมากและคอยแย่ง อาหารที่แม่หามาได้เพียงน้อยนิดกิน จึงไม่มีวันที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่แข็งแรงได้ แต่การตัดแต่งดอกทุเรียนจะส่งผลดีในวันหน้า ทำให้ดอกทุเรียนสมบูรณ์ เจริญพัฒนาเป็นผลทุเรียนที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งระยะที่เหมาะสมที่สุดในการตัดแต่งดอกทุเรียน คือ เมื่อดอกทุเรียนพัฒนาจนถึงระยะมะเขือพวงหรือหัวกำไล การตัดแต่งดอกทุเรียน มีคำแนะนำดังนี้ เมื่อดอกทุเรียนมีอายุประมาณ 30 วัน (ระยะกระดุม) ควรพิจารณาตัดแต่งช่อดอกให้เหลือจำนวนช่อดอกประมาณ 3-6 ช่อดอกต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร โดยตัดช่อดอกบนกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร) และช่อดอกในตำแหน่งปลายกิ่งทิ้ง ควรตัดแต่งให้เป็นดอกรุ่นเดียวกันทั้งต้น หรืออย่างน้อยให้เป็นดอกรุ่นเดียวในแต่ละกิ่ง ทั้งนี้ ถ้ามีการจัดการที่ดีตั้งแต่แรกเพื่อให้ต้นทุเรียนมีการออก ดอกมากและกระจายทั่วต้นแล้วจะสามารถเลือกตัดแต่งหรือไว้ดอกบนกิ่งที่เหมาะสม ได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการดูแลทุเรียนในช่วงหลังตัดแต่งดอกแล้ว เกษตรกรต้องมีการควบคุม การให้น้ำไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป เมื่อถึงระยะหัวกำไล หรือก่อนดอกบาน 7-10 วันให้ลดการให้น้ำลง 2 ใน 3 ของปริมาณปกติ และเริ่มให้น้ำมากขึ้นในระดับปกติได้ หลังจากผสมเกสรแล้ว 3 สัปดาห์ และ ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุแคลเซียม-โบรอน หรือโบรอนเพียงอย่างเดียว ในระยะหัวกำไลหรือประมาณ 10-15 วันก่อนดอกบาน และ ป้องกันกำจัดโรคแมลง ซึ่งศัตรูสำคัญของทุเรียนซึ่งได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง ซึ่งจะเข้าทำลายในช่วงที่อากาศร้อน แห้งแล้ง อุณหภูมิสูง หรือฝนทิ้งช่วง สำหรับเพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณเนื้อ เยื่ออ่อน เช่นยอดอ่อนหรือช่อดอกทำให้ยอดและช่อดอกแห้งและร่วงในที่สุด พบเข้าทำลายในทุเรียน เงาะ มังคุด ส้มเขียวหวาน ในระยะออกดอก ส่วนไรแดง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บนผิวใบทุเรียน หากมีไรแดงทำลายใบเป็นปริมาณมากและต่อเนื่อง จะทำให้ใบร่วงและมีผลต่อการออกดอกติดผลของทุเรียน.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 15 ธันวาคม 2553
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM