เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
"ลางสาด" เมืองลับแล ไม้ผลที่รอวันอนุรักษ์
   
ปัญหา :
 
 
นับ วันผลไม้ที่ชื่อ "ลางสาด" กำลังจะหมดไปจากสวนเกษตรของชาวบ้านย่านอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกลางสาดใหญ่ของประเทศ ลางสาดที่ลับแลหวานหอม รสชาติอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจ จนเป็นที่มาของคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ว่า เมืองลางสาดหวาน แต่ปัจจุบัน "ลางสาด" กำลังจะกลายเป็นอดีต เหตุเพราะพื้นที่ปลูกลางสาดลดลง เกษตรกรไม่นิยมปลูกลางสาดเพื่อเป็นธุรกิจอีกต่อไป อันเนื่องมาจากราคาลางสาดถูกมากๆ ผู้บริโภคให้ความนิยมกับ "ลองกอง" มากกว่าลางสาด ผลไม้ที่เคยรุ่งโรจน์ในอดีตจึงค่อยๆ ลดบทบาทลง ซึ่งอนาคตอาจจะต้องมีการอนุรักษ์สายพันธุ์ลางสาดเอาไว้ก็เป็นได้ อำเภอ ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นถิ่นที่มีลางสาดหวานมากที่สุดในประเทศ ปัจจุบันสถานการณ์ของลางสาดและการทำการเกษตรในเขตอำเภอลับแลนั้น คุณทรงวุฒิ จันดา เกษตรอำเภอลับแล กล่าวว่า พื้นที่ปลูกลางสาดในเขตอำเภอลับแลลดลงมาก คงเหลือลางสาดอยู่ประมาณ 10% ของพื้นที่ปลูกประมาณ 30,000-40,000 ไร่ นอกนั้นเป็นลองกอง เกษตรกรหันมาโค่นต้นลางสาดแต่ดั้งเดิม ทิ้งเอายอดพันธุ์ลองกองมาเสียบเปลี่ยนต้นใหม่ ในอนาคตก็คงจะต้องมีการอนุรักษ์พันธุ์ลางสาดกัน คุณทรงวุฒิ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับพืชอื่นๆ ในพื้นที่อำเภอลับแลก็มีข้าวปลูกกันมากแถวย่านตำบลไผ่ล้อม ตำบลทุ่งยั้ง ตำบลด่านแม่คำมัน ตำบลชัยจุมพล เป็นข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี พันธุ์พิษณุโลก 2 พันธุ์ กข 31 และอื่นๆ ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 80-90 ถัง ต่อไร่ มีศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 4 ศูนย์ ที่ผ่านมายังไม่มีปัญหาเรื่องของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงนา นอก จากนี้ ก็มีการปลูกผัก ปลูกหอมแบ่ง หอมแดง พื้นที่ปลูกประมาณ 8,000-9,000 ไร่ จัดว่าเป็นแหล่งผลิตเชื้อพันธุ์หอมที่ดีที่สุด และเป็นแหล่งใหญ่ของภาคเหนือเลยทีเดียว เกษตรอำเภอลับแล กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับไม้ผลนั้นมีทุเรียนเป็นพืชหลัก ตามมาก็เป็นลองกอง ลางสาด ปลูกในพื้นที่ประมาณ 60,000 กว่าไร่ ทุเรียนที่โด่งดังที่สุดของอำเภอลับแล ได้แก่ พันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติอร่อยที่สุด ส่วนลองกองคือพืชที่เกษตรกรกำลังขยายพื้นที่ปลูกกันมาก อีกส่วนหนึ่งก็เป็นพืชทดแทนลางสาดที่เกษตรกรไม่นิยมปลูกกันแล้ว ทั้งนี้ก็เนื่องจากราคาลางสาดแต่ละปีไม่ดี พืชอื่นๆ ก็ยังมีอ้อย มันสำปะหลังไม่มากนัก สำหรับนโยบายของสำนักงานเกษตรอำเภอที่มอบหมาย ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่รับดำเนินการเป็นนโยบายหลักก็คือ เรื่องของการผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ มีการอบรมเกษตรกรให้เข้าใจถึงผลเสียของการใช้สารเคมีมากๆ ในแปลงเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรก็เข้าใจ ทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีกันน้อยมากกับพืชแทบทุกชนิด ท้าย สุดนี้คุณทรงวุฒิ กล่าวว่า อยากฝากประชาสัมพันธ์ถึงทุกๆ ท่านมีโอกาสขอให้แวะไปเยี่ยมเยือนอุตรดิตถ์กันบ้าง โดยเฉพาะที่อำเภอลับแลในช่วงผลไม้ออก เรามีผลไม้ที่มีคุณภาพ เช่น ทุเรียนหลง หลินลับแล ลองกอง ลางสาดหวานให้ได้ชิมกัน ไปเที่ยวชมสวนผสมบนเชิงเขา เรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างป่ากับชุมชน ที่ลับแลมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวชมหลายแห่งขอเชิญ ถ้ามีโอกาส ทาง ด้านลางสาดและลองกองที่เป็นผลไม้เชิดหน้าชูตาของอำเภอลับแลนั้น กำนันอาน แปลงดี กำนันตำบลนานกกก อำเภอลับแล ได้พาไปเยี่ยมชมสวนลางสาดและลองกองที่ปลูกอยู่บนเขาในเขตพื้นที่ตำบลนานกกก ประมาณ 20 กว่าไร่ กำนันอาน บอกว่า พื้นที่ปลูกไม้ผลนั้นเป็นที่มรดก มีการทำสวนผลไม้มาแต่ครั้งคุณปู่คุณย่าแล้ว สมัยก่อนทำสวนลางสาดกันเต็มพื้นที่ ทำให้ลางสาดมีปริมาณมาก ใครๆ ก็รู้จักลางสาดจากลับแล อุตรดิตถ์กันทั้งนั้น ต่อมามีลองกองออกมา เกษตรกรหันมาปลูกลองกองกันมากขึ้นๆ ลางสาดค่อยๆ ลดบทบาทลง ประกอบกับประชาชนให้ความนิยมลองกองมากกว่าลางสาด จึงทำให้จำนวนการปลูกลางสาดลดลงจนทุกวันนี้ ลางสาดแทบจะหมดไปจากสวนแล้ว "ที่ สวนผมอนุรักษ์เอาไว้ ไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกอีกแล้วสำหรับลางสาด หันไปทำลองกองแทน โดยตัดต้นลางสาดทิ้งแล้วเอายอดพันธุ์ลองกองมาเสียบตอลางสาด วิธีนี้จะทำให้ได้ผลผลิตลองกองเร็วขึ้น" กำนันอาน บอกว่า ลองกองเข้ามามีบทบาทที่ลับแลราวปี 2530 นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็หันไปปลูกลองกองกัน สาเหตุหลักก็คือลองกองได้ราคาดีกว่าลางสาด อายุการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษาของลองกองจะนานกว่าลางสาด ซึ่งลางสาดหลังจากตัดอยู่ได้เพียง 2 วัน ก็เริ่มผิวไม่สวยแล้ว ต่างจากลองกองหลังเก็บเกี่ยวแล้วยังอยู่ได้อีกหลายวันกว่าจะดำ ผิวไม่สวย "แต่ถ้าหากเปรียบเทียบรสชาติ ลางสาดที่แก่จัดจะหวาน รสอร่อยกว่าลองกองมาก" กำนัน อาน กล่าวและว่า การดูแลลางสาดไม่ยุ่งยากเลย ที่สวนปล่อยไปตามธรรมชาติไม่มีการใช้สารเคมี แม้แต่น้ำก็ยังให้เทวดาช่วยดูแลให้เลย ลางสาดเป็นพืชป่า หากปลูกในสภาพป่าตามธรรมชาติแล้วหมดกังวลได้เลย ปีไหนแล้งจัดๆ ยิ่งดี ปีนั้นลางสาดจะติดผลดกมาก พอติดผลแล้วก็ไม่ต้องวุ่นวายอะไร ปุ๋ยจะให้บ้างก็ได้ ไม่ให้ก็ไม่ผิดกติกา ศัตรูลางสาดมีบ้างแต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ลางสาดรับสภาพได้ ยิ่งต้นอายุมากๆ ยิ่งแข็งแรง แมลงศัตรูทำอะไรไม่ได้เลย ศัตรูลางสาด กำนันอาน บอกว่า ก็มีบ้างเป็นพวกหนอนเจาะลำต้น หนอนกินใบแต่ก็ไม่มากนัก แมลงวันทองพอมีบ้าง ช่วงลางสาดติดผล ถ้าติดผลดกมากๆ ก็ต้องตัดแต่งช่อออกบ้าง แต่งผลช่วงติดผลขนาดเมล็ดพริกไทยครั้งหนึ่ง และผลขนาดมะเขือพวงครั้งหนึ่ง ถ้าจะให้ดีฉีดฮอร์โมนสัก 1-2 ครั้ง ก็จะทำให้ลางสาดมีคุณภาพขึ้น ช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ที่ลับแลจะมีทุเรียน ลองกอง ลางสาดให้ชิมกัน "ที่ สวนผมมีลางสาดประมาณ 20 ไร่ อยู่แปลงหนึ่ง มีทุเรียน ลองกอง และมะปราง อยู่อีกแปลงหนึ่ง ลองกองใช้วิธีเสียบตอลางสาดแทน ปลูกตามแนวเชิงเขา ในแต่ละปีได้ผลผลิตจากพืชต่างๆ พอสมควร" กำนันอาน บอกว่า ปีนี้ลองกอง ลางสาดราคาแย่เลย โดยเฉพาะลางสาดราคาถูกมากๆ ถูกจนชาวบ้านแทบไม่อยากเก็บขาย ต้นทุนอยู่ที่ 4-5 บาท ราคารับซื้อจากพ่อค้า กิโลกรัมละ 5 บาท เก็บไปก็ขาดทุนค่าเหนื่อย จึงอยากฝากถึงรัฐบาลขอให้ช่วยดูแลเรื่องราคาผลไม้ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวแก่ เกษตรกรบ้าง บางครั้งราคารับซื้อถูกมากๆ จนเกษตรกรต้องเลิกปลูกกันเป็นรายๆ ไปเลย กำนันอาน แปลงดี กำนันตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวในที่สุด สำหรับท่านที่จะไปเที่ยวชมสวนลางสาด ลองกอง ทุเรียน ของกำนันก็ติดต่อไปเยี่ยมเยือนกันได้ที่ โทร. (081) 887-2846 กำนันยินดีต้อนรับทุกท่าน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 493
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM