เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เพาะเห็ดตีนแรด เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้
   
ปัญหา :
 
 
เห็ด ตีนแรด หรือเห็ดตับเต่าขาว เป็นเห็ดสดที่มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดจั่น ส่วนภาคกลางเรียกว่า เห็ดตับเต่าขาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดตีนแรด จัดได้ว่าเป็นเห็ดที่มีรสชาติอร่อย สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าเห็ดหลายชนิด นำไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงใส่ผักชะอม ผัดใส่หมู ผัดน้ำมันหอย นึ่งจิ้มน้ำพริกข่า ต้มยำ นำไปประกอบเป็นอาหารเจได้ อนาคตจะเป็นเห็ดที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเห็ดได้เป็นอย่างดี ดอก เห็ดมีสีขาวหม่นหรือสีเหลืองอ่อน หมวกรูปครึ่งวงกลม หรือรูปกระทะคว่ำ ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-25 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขอบม้วนงอเข้า ดอกแก่แบนลง ขอบหมวกหยักเป็นลอน และมีรอยฉีกขาดบางแห่ง เนื้อหมวกหนามีสีเดียวกันหมด ใต้หมวกมีครีบเป็นแผ่นสีขาวนวล กว้างประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ความยาวของครีบมี 2 ระดับ และเรียงสลับกัน ก้านยาว 6-15 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-2.5 เซนติเมตร โคนโป่งเป็นกระเปาะใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร สีขาวนวล ผิวเป็นร่องขาวโดยรอบหรือเป็นลายตาข่ายตื้นๆ เนื้อภายในก้านเป็นสีขาวหม่น สปอร์ของเห็ดรูปไข่เกือบกลมขนาด 7-8x6-7 ไมโครเมตร การผลิตถุงเชื้อมีวัสดุเพาะ ประกอบด้วย 1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม 2. รำละเอียด 5 กิโลกรัม 3. ยิปซัม 2 กิโลกรัม 4. ปูนขาว 1 กิโลกรัม 5. ดีเกลือ 200 กรัม เห็ด ตีนแรดสามารถเจริญได้อย่างกว้างขวางในสูตรอาหารอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ฟางแห้งสับผสมกับซังข้าวโพดป่น ซังข้าวโพดป่นล้วน ไส้นุ่นล้วน ฟางสับล้วน ฟางหมักกับขี้ม้าหรือปุ๋ยเคมี และอาจใช้วัสดุหลายอย่างผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ เชื้อเห็ดตีนแรดก็ยังคงเจริญได้ดี ถ้าต้องการให้เชื้อเจริญเร็วขึ้นให้เติมรำละเอียด 3% โดยน้ำหนักลงไป การบรรจุถุง ใช้ ถุงสำหรับการเพาะเห็ดโดยเฉพาะ ขนาด 6.5x12.5 นิ้ว โดยกรอกวัสดุเพาะที่ผสมเสร็จแล้วลงให้เต็มถุง ใช้มือปาดปากถุงแล้วทุบให้แน่นที่สุด ใส่คอขวดพลาสติคแล้วปิดด้วยจุกสำลี หรือจุกประหยัดสำลี จากนั้นนำไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งลูกทุ่ง มีความร้อนประมาณ 100 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง แล้วนำก้อนเชื้อเห็ดออกจากหม้อนึ่งเข้าห้องเขี่ยเชื้อ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงเขี่ยเชื้อเห็ด วิธีการเขี่ยเชื้อ ให้ทำความสะอาดวัสดุทั้งหมดโดยการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ คือ 1. เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้สะอาด 2. ใช้แอลกอฮอล์เช็ดขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างให้ทั่วขวด 3. เขย่าขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างให้เมล็ดแตกออกจากกัน ก่อนที่จะนำไปใส่ในถุงก้อนเชื้อเห็ด 4. เอาขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่เขย่าจนแตกและเช็ดแอลกอฮอล์แล้ว ดึงสำลีที่ปิดปากขวดออกแล้วลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อแล้วจึงเขี่ยเชื้อลงถุงก้อนเชื้อได้ โดยเทหัวเชื้อเห็ดเมล็ดข้าวฟ่างประมาณ 20-30 เมล็ด ต่อถุง แล้วปิดจุกด้วยสำลีทันที และหัวเชื้อที่ใส่ต้องใช้ให้หมด ถ้าเหลือจะทำให้มีเชื้ออื่นปนเปื้อน การพักเชื้อเห็ด เมื่อ เสร็จสิ้นกระบวนการเขี่ยเชื้อเห็ดแล้ว จึงนำเอาก้อนเชื้อเห็ดที่เขี่ยแล้วไปพักไว้ในโรงพักเชื้อที่ไม่มีลมโกรกและ สะอาด เพื่อให้เชื้อเห็ดเดินในถุงเพาะเต็มที่ จากนั้นนำเข้าโรงเรือนเพื่อเปิดดอก ซึ่งใช้ระยะเวลาการพักเชื้อประมาณ 50 วัน วิธีการเปิดถุงให้เห็ดออกดอก การปิดผิวหน้าก้อน เชื้อ วิธีนี้เป็นการนำถุงก้อนเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มาเปิดจุกสำลีแล้วดึงคอขวดออก จากนั้นจึงพับปากถุงจนถึงระดับที่อยู่สูงกว่าผิวก้อนเชื้อ 1-2 เซนติเมตร แล้วใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดเป็นรอยยาว 1-2 เซนติเมตร 2-4 แห่ง เพื่อไม่ให้น้ำขัง จากนั้นจึงโรยดินกลบผิวหน้าก้อนเชื้อให้หนาประมาณ 0.1 -1 เซนติเมตร พร้อมกับยกเข้าเพาะในโรงเรือนเพาะเห็ด รดน้ำพื้นหน้าดินที่คลุมก้อนเชื้อให้ชื้น ทิ้งไว้ประมาณ 8-12 วัน จะพบตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ การนำก้อนเชื้อไปฝังดิน เพื่อให้ดอกเห็ดเกิดขึ้นคล้ายกับธรรมชาติ โดยการแกะถุงพลาสติคที่หุ้มก้อนเชื้อออกให้หมด และนำไปฝังยังบริเวณที่มีร่มเงา และมีความชื้นสูง ถ้าฝนตกสภาพภูมิอากาศเหมาะสมเห็ดตีนแรดก็จะงอกออกมาให้รับประทานทุกปี เพราะภายในดินมีเชื้อเห็ดชนิดนี้อยู่ การเพาะเห็ดตีนแรดร่วมกับการปลูกผัก มีขั้นตอนดังนี้ จัด เตรียมพื้นและวัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ได้แก่ ดินป่นที่ขุดลึกจากผิวดิน 25 เซนติเมตร ก้อนเชื้อเห็ดตีนแรดที่เส้นใยเดินเต็มถุง (พื้นที่ 1 ตารางเมตร ใช้ก้อนเชื้อ 100 ก้อน) แปลงเพาะที่อยู่ในพื้นที่ดอน ไม่มีน้ำท่วมขัง อากาศไม่หนาวจัดจนเกินไป ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่าๆ จัดเตรียมแปลงเพาะให้เหมาะกับการเพาะเห็ด โดยทำเป็นบ่อลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ขนาด 1x4 เมตร ต่อแปลง หรือกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวกำหนดเองตามต้องการ นำก้อนเชื้อเห็ดตีนแรดที่เส้นใยเดินเต็มถุงดีแล้ว มาฉีกเอาถุงพลาสติคออก ให้เหลือแต่ก้อนเชื้อ นำไปเรียงลงในแปลงชิดติดกันอย่างต่อเนื่องจนเต็มแปลงเพาะ (พยายามอัดก้อนเชื้อให้แน่น เพื่อให้เส้นใยของเห็ดแต่ละก้อนเดินประสานกันอย่างรวดเร็วเป็นเนื้อเดียว กัน) แล้วนำดินที่ขุดไว้มากลบบนก้อนเชื้อให้มิด หนาประมาณ 1-3 เซนติเมตร บ่มเชื้อในแปลง เห็ดตีนแรดจะใช้เวลาประมาณ 20-40 วัน ในการเกิดดอก (ถ้าในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำจะเกิดดอกช้า) หลังจากเกิดตุ่มดอกแล้ว 7-10 วัน จึงจะเก็บผลผลิตได้ โดยขนาดหรือน้ำหนักดอกเห็ดจะขึ้นอยู่กับจำนวนก้อนเชื้อที่ใช้ โดยทั่วไปดอกเห็ดที่ได้จะหนักกว่า 1 กิโลกรัม และบางกลุ่มอาจหนักกว่า 10 กิโลกรัม การปลูกผัก ให้นำเมล็ดผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ขึ้นฉ่าย มาทยอยปลูกลงในแปลง นำดินกลบบางๆ แล้วใช้ฟางข้าวคลุม รดน้ำให้ชุ่ม และรักษาความชื้นไม่ให้ดินแห้ง ผักที่ปลูกจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะเวลา 40-60 วัน ซึ่งระหว่างนั้นเชื้อเห็ดตีนแรดจะเริ่มเกิดดอก เมื่อเก็บผักรุ่นแรกเสร็จให้ทำร่มเงาในแปลงผัก โดยใช้ตาข่ายพรางแสง 60-80 เปอร์เซ็นต์ ขึงสูงประมาณ 2.5 เมตร หรือใช้ทางมะพร้าวพรางแสงและบังลมแทนก็ได้ สำหรับแปลงผักที่เก็บเกี่ยวแล้วสามารถนำผักชีมาปลูกหรือผักกินใบที่อยู่ใน ร่มก็ได้ โดยนำดินผสมปุ๋ยอินทรีย์โรยก่อนปลูกผัก แล้วนำฟางข้าวคลุม ซึ่งในระหว่างที่ผักรุ่นสองเจริญเติบโต ให้ดูแลรดน้ำและรักษาความชื้นตามปกติ และเห็ดก็จะเจริญเติบโตเก็บดอกได้อีกครั้งประมาณ 40-60 วัน พร้อมกับการเก็บผักควบคู่กันไป สามารถเก็บผลผลิตอยู่ได้นานถึง 8 เดือน ท่าน ผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ปรีชา รัตนัง สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทร. (053) 873-380 ในวันและเวลาราชการ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 493
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM