เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ศูนย์ผึ้งฯ ชุมพร แนะเทคนิค เลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง
   
ปัญหา :
 
 
ใน งาน "43 ปี แห่งความมุ่งมั่น พัฒนาเกษตรไทย" อันเป็นงานที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดขึ้น เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนา ไปเมื่อเร็วๆ นี้ มีกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจคือ การจัดแสดงนิทรรศการถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของ "ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร" ทั้ง 48 แห่ง ในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร คุณอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาสู่การ เป็นเกษตรกรมืออาชีพ ตามความต้องการของเกษตรกร และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรขึ้น 48 ศูนย์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ "แต่ละศูนย์นั้น จะมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเฉพาะด้าน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ อาทิ ศูนย์พืชสวนกระบี่ มีความเชี่ยวชาญเรื่องหน้าวัว ศูนย์พืชสวนลำพูน มีความเชี่ยวชาญเรื่องกล้วยไม้ฟาแลนอปซิส นอกจากนี้ ยังมีศูนย์บริหารศัตรูพืช ศูนย์ยางพารา ศูนย์จักรกลการเกษตร เป็นต้น" "ทั้ง นี้ เกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจทุกคนสามารถไปเรียนรู้ตามความสนใจได้ในทุกศูนย์ โดยมีหลักสูตร 2 แบบ คือ หนึ่ง การอบรมเกษตรกรเฉพาะด้าน ซึ่งมีการวางแผนและมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน และ สอง การอบรมเกษตรกรทั่วไป ซึ่งจะเปิดหลักสูตรการอบรมแล้วเชิญชวนเกษตรกรในพื้นที่เข้ารับการอบรม" อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าว เลี้ยงด้วงสาคู งานเด่นจากศูนย์ผึ้งฯ ชุมพร ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) เป็น 1 ใน 48 ศูนย์ ที่นำผลงานมาร่วมจัดแสดง โดยที่น่าสนใจหัวข้อ "ด้วงสาคู โปรตีนสูง ทางเลือกของเศรษฐีใหม่" จากข้อมูลของทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา อาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) บอกว่า ด้วงสาคู เป็นแมลงกินได้ชนิดใหม่ที่กำลังมาแรง มีการเพาะเลี้ยงกันมากในแถบจังหวัดภาคใต้ เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก ขนาดของตัวหนอนค่อนข้างโต มีน้ำหนัก ขายได้ราคาดี จึงคาดว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจทั้งในด้านการเพาะเลี้ยง ซึ่งมีวงจรชีวิตสั้นและนำไปบริโภคเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ สำหรับ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rhynchophorus ferrugineus Oliver วงศ์ Curculionidae อันดับ Coleoptera เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งจำพวกแมลงที่มีชื่อเรียกว่า ด้วงงวง ด้วงไฟ ด้วงมะพร้าว ทางภาคใต้เรียกว่า ด้วงสาคู หรือด้วงลาน ลักษณะตัวเต็มวัย ด้วงสาคูตัวเต็มวัยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 2.2-3.5 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมส้ม หรือสีน้ำตาลปนดำ ปากยาวบอบบาง มีงวงโค้ง มีจุดแต้มสีน้ำตาลแต้มกระจายบริเวณด้านบนของอกปล้องแรก ซึ่งจุดแต้มนี้มีหลายรูปแบบ ปีกคู่หน้ามีริ้วรอยเป็นเส้นๆ ตามความยาวของปีก ปีกคลุมไม่มิดส่วนปลายท้อง ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน โดยที่ตัวผู้จะมีขนมองเห็นได้ชัดเจน และมีลักษณะเป็นแนวบริเวณส่วนกลางตามความยาวของงวง ทั้งนี้ รูปแบบการเลี้ยงด้วงสาคูในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม โดยใช้ท่อนสาคู/ท่อนลาน เป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การเลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ โดยใช้การเลี้ยงในกะละมัง เลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม ว่า วิธีการนี้จะต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่สำคัญ ประกอบด้วย ท่อนสาคู หรือท่อนลาน ความยาวท่อนละ 50 เซนติเมตร พ่อ-แม่พันธุ์ด้วงสาคู ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว ฝักบัว หรือสายยางสำหรับรดน้ำ สถานที่สำหรับวางท่อนสาคู หรือท่อนลาน อาจเป็นลานกว้างหรือทำเป็นโรงเรือนก็ได้ การ จัดการเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการเลี้ยงด้วงสาคูคือ ความสะอาดและการจัดการอย่างเป็นระบบ จึงประสบความสำเร็จ โดย - สถานที่ ควรเป็นที่น้ำไม่ท่วมขัง บริเวณที่เลี้ยงสามารถวางตากแดด ตากฝนได้ แต่ต้องมีกระดานทำจากกาบต้นไม้ที่เลี้ยงครอบปิด - เตรียมท่อนสาคู หรือท่อนลาน ใช้เป็นท่อนเลี้ยงด้วงสาคู ตั้งตรงเรียงไว้บริเวณที่จะเลี้ยง มีความห่างพอเหมาะแก่การดูแล - นำพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูที่เลี้ยงได้ปล่อยลงในท่อนสาคู หรือท่อนลาน จำนวนท่อนละ 3 คู่ อัตราตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว จากนั้นปิดด้านบนของท่อนสาคู หรือท่อนลาน - รดน้ำด้วยฝักบัว หรือสายยางรดน้ำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 40-45 วัน จะสามารถจับตัวหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้ เลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ในกะละมัง การ เลี้ยงด้วงสาคูแบบประยุกต์ โดยใช้การเลี้ยงในกะละมัง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) แนะนำนว่า อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงประกอบด้วย 1. กะละมัง พร้อมฝาปิด 2. กิ่งทางปาล์มสด 3. เครื่องบดสับทางปาล์ม 4. ถังหมัก 5. สูตรอาหารเสริม 6. พ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู 7. อุปกรณ์อื่นๆ ส่วนขั้นตอนการจัดการเลี้ยงด้วงสาคู มีขั้นตอนดังนี้ นำกิ่งทางปาล์มสดปลอดเปลือกและเข้าเครื่องสับบด นำกิ่งทางปาล์มสดสับละเอียดแล้วนำมาหมักในถังหมัก ไม่น้อยกว่า 3 วัน นำกิ่งทางปาล์มสดสับที่หมักแล้ว ผสมกับสูตรอาหารเสริมพอประมาณ คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุใส่กะละมังอัดให้แน่นพอประมาณ ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู 5 คู่ อัตรา ตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูแล้ว ทิ้งไว้ 25-30 วัน ก็สามารถจับหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้ สำหรับในส่วนของสูตรอาหารเสริมผสมทางปาล์มสด ทางศูนย์ได้ให้ข้อแนะนำในการเตรียมอาหารสำหรับการเลี้ยง ใน 1 กะละมัง โดยจะประกอบด้วย EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ อาหารหมู 0.5 กิโลกรัม น้ำ 2 ลิตร รำข้าว 0.5 ลิตร ขั้นตอนการผสมอาหารเลี้ยงด้วงสาคู เตรียมทางปาล์มสดสับหมัก 1 กะละมัง เตรียม สูตรอาหารเสริมคือ EM กากน้ำตาล น้ำ อาหารหมู และรำข้าว ตามอัตราส่วนที่กำหนด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทั้งนี้อาหารหมู และรำข้าว ต้องแช่น้ำทิ้งไว้ก่อน ประมาณ 20-30 นาที นำทางปาล์มสดสับหมักตาม ข้อ 1 มาผสมกับสูตรอาหารเสริม ตาม ข้อ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำส่วนผสมที่ได้ใส่กะละมัง อัดให้แน่นพอประมาณ ก็จะได้อาหารผสมเลี้ยงด้วงสาคูที่มีประสิทธิภาพ 1 กะละมัง อีก เทคนิคที่เกษตรกรผู้สนใจต้องรับรู้ นั่นคือ การผลิตพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู ซึ่งทางศูนย์ได้ให้ข้อแนะนำถึงขั้นตอนการผลิตพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูว่า เตรียมอาหารผสม คือ ทางปาล์มสดสับหมักผสมกับสูตรอาหารเสริม 1 กะละมัง นำอาหารผสมรองก้นกะละมัง หนาประมาณ 1 นิ้ว นำเปลือกมะพร้าวปอกแช่น้ำมาวางเรียงในกะละมังและใส่อาหารผสมลงไป ทำอย่างนี้ให้ได้ 2 ชั้น ใน 1 กะละมัง ปล่อยตัวหนอนด้วงสาคู อายุ 35-40 วัน ใส่ในกะละมังที่เตรียมไว้ ประมาณ 100 ตัว ปล่อยทิ้งไว้รอให้ตัวหนอนเข้าฝักดักแด้ ประมาณ 20- 30 วัน เก็บฝักดักแด้ออกมารวมกันอีกกะละมัง เพื่อรอให้ตัวด้วงเจาะออกจากฝักดักแด้ 5-10 วัน จับตัวด้วงรวบรวมอีกกะละมัง คัดแยกเพศเพื่อรอผสมพันธุ์ก่อนนำไปปล่อยในกะละมังเลี้ยงต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างการรวบรวมตัวด้วง เพื่อรอการผสมพันธุ์ให้กล้วยและน้ำเป็นอาหาร สำหรับ ในส่วนของผลตอบแทน ผลผลิตด้วงสาคูที่นิยมนำไปบริโภคเป็นด้วงที่อยู่ในระยะหนอนวัยสุดท้ายก่อน เข้าดักแด้ โดย 1 กิโลกรัม มีประมาณ 200 ตัว จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 200-250 บาท ส่วนดักแด้จำหน่ายกิโลกรัมละ 250-300 บาท การนำมาบริโภค ก่อนนำมาปรุงอาหารบริโภค ให้นำตัวหนอนด้วงสาคู เลี้ยงในอาหาร กากมะพร้าวขูด 1-2 วัน แล้วนำตัวหนอนมาล้างน้ำและแช่เกลือทิ้งไว้ 10-30 นาที เพื่อล้างสิ่งสกปรกทั้งภายในและภายนอกตัวหนอนออก และล้างด้วยน้ำปูนใสอีกครั้ง จากนั้นจึงนำมาลวกน้ำร้อนก่อนนำไปผัด โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ให้น้ำมันสีดำๆ ในตัวหนอนด้วงออกให้หมด จนกว่าน้ำมันจากตัวหนอนด้วงเป็นสีใส แล้วนำไปล้างน้ำอีกครั้ง จึงค่อยนำไปปรุงอาหารได้ตามใจชอบ เช่น คั่วเกลือ ทอดน้ำมัน ผัดขี้เมา เป็นต้น และถ้าปรุงอาหารเสร็จแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น จะได้ตัวหนอนด้วงที่มีรสชาติดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำที่ควรระวังในการเลี้ยงด้วย เนื่องจากแมลงชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายต้นปาล์ม มะพร้าว ลาน และสาคู จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเต็มวัยเล็ดลอดสู่ธรรมชาติโดยเด็ดขาด หากสนใจ และต้องการข้อมูลการเลี้ยงเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) เลขที่ 22/1 หมู่ที่ 6 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โทร. (077) 574-519 นี่อาจเป็นอีกทางเลือกสำหรับการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัวก็ได้...
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 493
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM