เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หมูออมสิน ที่บ้านโค้งตาบาง ได้ทั้งเงิน ทั้งก๊าซชีวภาพ
   
ปัญหา :
 
 
หมู ออมสิน เป็นชื่อโครงการส่งเสริมการเลี้ยงหมูที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านโค้งตาบาง หมู่ที่ 10 ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ด้วยเป้าหมายสำคัญคือ การเพิ่มรายได้ให้กับผู้คนในหมู่บ้านที่มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 156 ครัวเรือน สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน เป็นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำเพชรบุรี มีดินที่อุดมสมบูรณ์ ปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ พืชที่ปลูกส่วนใหญ่คือ มะนาว ชมพู่ กล้วยชนิดต่างๆ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่และพืชผัก ผลไม้อื่นๆ และประกอบอาชีพรับจ้างทำการเกษตร หมูออมสิน ได้เริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่ ปี 2543 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน วันนี้ มีแม่หมูกว่า 300 แม่ เร่งขยายก๊าซชีวภาพ "จุด เริ่มต้นนั้น มาจากที่หมู่บ้านเรามีความคิดที่จะลดจำนวนหมาจรจัดที่มีอยู่ในหมู่บ้านลง ซึ่งเดิมนั้นชาวบ้านจะใช้เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนเลี้ยงหมา จรจัด จึงทำโครงการทำหมันหมาจรจัดขึ้น เมื่อแก้ปัญหาหมาจรจัดได้แล้ว เราก็มองว่า เศษอาหารเหล่านั้นก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงมีการประชุมปรึกษากัน ทั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน" คุณ ฉันท์อัครสกุลภิญโญ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านโค้งตาบาง บอกเล่าถึงที่มาของจุดเริ่มต้นของโครงการ ซึ่งผลจากการปรึกษาหารือในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงก่อเกิดมาเป็นโครงการหมูออมสินของหมู่บ้านโค้งตาบางขึ้นในปี 2543 "เรา อยากให้ชาวบ้านมีการออมเงินไว้เป็นทุนของครอบครัว เน้นการเลี้ยงแบบต้นทุนต่ำ เก็บผักที่ขึ้นตามหนอง คลอง บึงมาเป็นอาหาร แม้จะโตช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร ทำเหมือนกับการเอาเงินหยอดกระปุกออมสินลงไปทุกวันๆ เราจึงช่วยกันผลักดันและขยายแนวคิดเรื่องการเลี้ยงหมู โดยเน้นไปที่การเลี้ยงแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกจำหน่าย ปรากฏว่าเมื่อทำประชาพิจารณ์ในหมู่บ้าน ชาวบ้านให้ความเห็นชอบและสนับสนุนเป็นอย่างดี" กว่า 70 ครอบครัว คือจำนวนของชาวบ้านโค้งตาบางที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนมาถึงปัจจุบัน "แต่ การเริ่มต้นนั้น ชาวบ้านต้องหาซื้อพันธุ์หมูมา เราก็เห็นถึงปัญหาว่า ชาวบ้านไม่มีเงินทุนในการจัดซื้อ จึงได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาเป็นกองทุนให้ชาวบ้านได้กู้ยืม ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปเป็นทุนในการซื้อหมูมาเลี้ยง โดยกำหนดว่า ให้ลงทุนเพียงรายละ 1-2 ตัว เท่านั้น แล้วค่อยๆ ขยายเพิ่มจำนวนจากลูกหมูที่ได้ในคอกของตนเอง พอดีว่าตอนเริ่มต้นโครงการนั้น ราคาลูกหมูแพง เมื่อเลี้ยงได้ลูกออกมาขายเพียงปีเดียว ชาวบ้านทุกคนสามารถมีเงินมาจ่ายดอกเบี้ยได้กันจนหมด" ผู้ใหญ่ฉันท์ กล่าว จาก ความเข้มแข็งของชุมชนและการทุ่มเทผลักดันโครงการเต็มที่และต่อเนื่อง จากกลุ่มผู้นำหมู่บ้าน รวมถึงการสนับสนุนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น จึงทำให้การเลี้ยงหมูประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี จากแม่หมูเพียงรายละ 1-2 ตัว ต่อครอบครัว มาจนถึงวันนี้ ได้ขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมทั้งหมู่บ้านมีแม่หมูมากกว่า 300 แม่ ซึ่งไม่เพียงเฉพาะโครงการ หมูออมสินเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ อีกหลากหลายโครงการที่หมู่บ้านแห่งนี้ทำขึ้นเพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู้คน ล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อาทิ โครงการเลี้ยงวัวแบบปะหวะโครงการถนนพืชผักสวนครัว เป็นต้น "ทุกอย่างเป็นเพราะเราให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาชุมชน ซึ่งจะกำหนดไว้เลยว่า เราต้องทำอะไรบ้าง ในการพัฒนา" จาก แผนการพัฒนาที่มีแบบแผน จึงนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในวันนี้บ้านโค้งตาบางได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหมู่บ้านว่าเป็นหมู่บ้านแห่ง การเรียนรู้ ผลิตผลมีคุณภาพั้ประชนชนสามัคคีมีการพึ่งพาตนเองอยู่ดีมีสุข ผู้ใหญ่ ฉันท์ บอกว่า เป้าหมายสำคัญคือ การก้าวเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง และให้ประชาชนในหมู่บ้านตระหนักและรับผิดชอบในการผลิตพืชผลที่มีคุณภาพ และมีความรัก มีความสามัคคี สืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้กับลูกหลาน มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สำหรับโครงการหมูออมสิน ไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะในเรื่องของอาชีพและรายได้เท่านั้น ในอนาคตอีกไม่นานนี้ ชาวบ้านโค้งตาบางจะได้ใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากขี้หมู โดย ผู้ใหญ่ฉันท์ บอกว่า เนื่องจากมีสมาชิกที่เลี้ยงหมูรายหนึ่ง คือ คุณปัญญา เหมือนแท้ ได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างถังหมักก๊าซชีวภาพจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนำขี้หมูจากคอกเลี้ยงมาหมักจนได้ก๊าซชีวภาพใช้ในการหุงต้มในครัวเรือนได้ เป็นอย่างดี "เราจึงมีโครงการที่จะขยายผลเรื่องก๊าซชีวภาพออกไปยัง ครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้าน โดยแนวทางที่จะดำเนินการมีทั้งการวางท่อส่งก๊าซชีวภาพไปยังครัวเรือนที่อยู่ ในรัศมีที่ส่งก๊าซไปได้จากจุดเดิมที่มีอยู่แล้ว และการสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นในคุ้มต่างๆ และดำเนินการวางท่อก๊าซเชื่อมต่อไปยังครัวเรือน ซึ่งตอนนี้ได้วางแผนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในอีกไม่นานนี้" ผู้ใหญ่ฉันท์ กล่าว ซึ่ง การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพจากขี้หมูนี้ จะส่งผลทำให้ชาวบ้านสามารถลดรายจ่ายในเรื่องเชื้อเพลิงหุงต้มของครัวเรือนลง ไปได้ในระดับหนึ่ง "ปกติแล้ว ชาวบ้านจะต้องซื้อแก๊สมาใช้กันเดือนละ 1 ถัง ต่อครัวเรือน โดยจากที่ต้องเสียเงินเดือนละหลายร้อยบาท ต่อแก๊ส 1 ถัง ซึ่งเมื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าว จะมีการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายที่แต่ละครัวเรือนต้องเสียอีกครั้ง แต่จะถูกกว่าราคาแก๊สในท้องตลาดอย่างแน่นอน" ผู้ใหญ่ฉันท์ กล่าว เลี้ยงหมูแบบย้อนยุค ใช้เศษอาหารเป็นหลัก บ้าน เลขที่ 111 หมู่ที่ 10 บ้านโค้งตาบาง โทร. (081) 110-2621 อันเป็นบ้านของ คุณปัญญา เหมือนแท้ นอกจากเป็นจุดติดตั้งถังหมักก๊าซชีวภาพแล้ว ที่นี่ยังเป็นฟาร์มตัวอย่างในการเลี้ยงหมูตามโครงการหมูออมสินด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกรจากจังหวัดต่างๆ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมการผลิตก๊าซชีวภาพและการเลี้ยงหมูอยู่เสมอ ทั้ง นี้ คุณปัญญา บอกว่า สำหรับการเลี้ยงหมูของชาวบ้านโค้งตาบางทั้งหมู่บ้าน จะเน้นการเลี้ยงแบบต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนค่าอาหาร ด้วยการใช้เศษอาหารเป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบการเลี้ยงแบบสมัยก่อน "เราจะไปเก็บเศษอาหารจากร้านค้า เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว รวมถึงเศษอาหารจากตามบ้านมาใช้เลี้ยงหมู นำมาผสมกับเศษผักต่างๆ ที่เก็บมา รวมถึงเศษเหลือทางเกษตร เช่น กากเต้าหู้ จากโรงงาน ซึ่งจะซื้อมาถังละ 10 บาท ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ส่วนอาหารเม็ดสำเร็จรูปนั้นจะมีการให้บ้าง แต่ให้ในลักษณะของอาหารเสริมแก่ลูกหมูและแม่หมูที่ตั้งท้อง ซึ่งเท่าที่เลี้ยงมาในรูปแบบดังกล่าว หมูก็เจริญเติบโตและให้ผลผลิตลูกหมูเป็นอย่างดี" ส่วนคอกเลี้ยงหมู จะใช้พื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้านเป็นที่ตั้งคอก ซึ่งเน้นการสร้างจากวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายมีในท้องถิ่น สำหรับสายพันธุ์หมูที่เลี้ยง จะเป็นแม่หมูสายพันธุ์ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ โดยเน้นเลี้ยงหมูพันธุ์เพียงอย่างเดียว เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์จะใช้วิธีการจ้างพ่อพันธุ์เข้ามาผสมจริง "ผม เริ่มต้นเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ตามโครงการหมูออมสิน จำนวน 2 ตัว และได้ขยายจำนวนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีแม่หมูอยู่กว่า 10 แม่แล้ว และยังสามารถผลิตลูกหมูออกจำหน่ายได้ทุกเดือน" คุณปัญญา กล่าว ลูก หมูที่เกิดในคอกเลี้ยงของคุณปัญญา จะจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง โดยปริมาณลูกที่ผลิตได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า "เรา มีการวางแผนการผสมพันธุ์ให้แม่หมูคลอดลูกทุกวันที่ 7 ของเดือน จะต้องมีแม่หมูคลอด และจะเลี้ยงไปนานประมาณ 1 เดือน จึงจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยราคาจำหน่ายนั้นจะอ้างอิงจากราคาตลาดทั่วไป โดยขณะนี้ราคาลูกหมูอยู่ที่ ตัวละ 1,000 กว่าบาท" คุณปัญญา บอกว่า จะติดตามราคาประกาศลูกหมูผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หากราคาขึ้น ก็จะบอกกล่าวในกลุ่มสมาชิกให้ขยับราคาตามประกาศ และในทางเดียวกันเมื่อราคาตลาดลง ก็จะลดราคาลูกหมูลง "การที่เราเป็น เกษตรกรนั้น สิ่งสำคัญนอกจากการเลี้ยงแล้ว คือต้องรู้ภาวะราคาซื้อ-ขาย ในตลาด อันนี้สามารถหาข้อมูลได้ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ซึ่งจะมีการประกาศให้ทราบ แล้วเราก็นำมาใช้เป็นฐานในการกำหนดราคาขายของเรา" "และที่สำคัญอีกประการคือ ลูกหมูจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญให้ครบตามข้อแนะนำของปศุ สัตว์ ซึ่งจะมีผลทำให้ลูกหมูแข็งแรง ลูกค้าที่ซื้อไปเลี้ยงก็ชอบ จนเข้ามาสั่งจองกันไว้อย่างต่อเนื่อง" คุณปัญญา กล่าว นอกจากนี้ ยังมีการผลิตเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในการราดพื้นคอก เพื่อดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคในคอกเลี้ยงอีกด้วย โดยใช้หน่อกล้วยมาหมักกับกากน้ำตาล ในอัตรา 3 ต่อ 1 หมักนาน 7 วัน เมื่อครบกำหนดนำเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้มาผสมกับน้ำ และใช้ราดลงยังพื้นคอก ซึ่งการใช้จุลินทรีย์ดับกลิ่นนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หมู่บ้านโค้งตาบางปลอดจากกลิ่นขี้หมูดั่งเช่นทุก วันนี้ ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในหมู่บ้านโค้งตาบาง ซึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้เป็นอย่าง ดี
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เพชรบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 492
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM