เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ตะพาบน้ำม่านลายไทย...เพาะเลี้ยงได้ ที่เมืองกาญจน์ ผลงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี
   
ปัญหา :
 
 
ศูนย์ วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประมง เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด มีภารกิจ บทบาท และหน้าที่ศึกษาทดลองเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับมอบหมาย คุณเอกพจน์ เจริญศิริวงศ์ธนา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี เล่าให้ฟังว่า สำหรับพื้นที่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี รับผิดชอบเพาะพันธุ์สัตว์น้ำปล่อยลงสู่ธรรมชาติ จะประกอบไปด้วยพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดนครปฐม สาเหตุที่รับผิดชอบจังหวัดนครปฐมด้วยนั้น เนื่องจากว่าจังหวัดนครปฐมไม่มีหน่วยงานที่จะผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ทางกรมประมงจึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรีรับผิดชอบ พื้นที่จังหวัดนครปฐมเพิ่มอีก 1 จังหวัด คุณเอกพจน์ เล่าต่อว่า ใน 1 ปี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี จะผลิตสัตว์น้ำ เช่น ปลานิล ปลาไน ปลากระแห ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลายี่สก เพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติประมาณ 18 ล้านตัว ในพื้นที่ 2 จังหวัด และนอกจากนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรียังมีบทบาทหน้าที่ ตรวจ ประเมินฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดในจังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมอีกด้วย อีกหนึ่งภารกิจที่ศูนย์ วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี คือ ทำการศึกษา ทดลอง วิจัยสัตว์น้ำ แหล่งน้ำ เพื่อนำผลงานมาพัฒนาต่อยอดต่อไป นอกจากนี้ บทบาทอย่างหนึ่ง คือการศึกษาชีววิทยาของสัตว์น้ำจืดของไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ก็ทราบดีว่าสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศที่มันเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของธรรมชาติที่ เกิดจากตัวธรรมชาติและตัวมนุษย์เอง ทำให้สัตว์น้ำในธรรมชาติลดน้อยลงไป บางอย่างแทบสูญพันธุ์ บางอย่างก็อยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม สัตว์น้ำ ที่พูดถึงนั้น ทางกรมประมงไม่ได้หมายถึงปลาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วย เช่น กบ เต่า หอย รวมไปถึงตะพาบม่านลายของไทยที่นับวันจะไม่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งน้ำ ธรรมชาติของไทย ตะพาบน้ำม่านลายไทย สัตว์น้ำที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็น ระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ตะพาบน้ำม่านลายไทยหรือตะพาบน้ำม่านลายไทยเกือบหายไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ตะพาบน้ำม่านลายลดน้อยลงอย่างน่าตกใจและเกือบจะสูญ พันธุ์ไปจากแหล่งน้ำในประเทศไทยนั้น ก็มาจากฝีมือของมนุษย์ที่จับตะพาบน้ำม่านลายไปทำเป็นเมนูอาหารขึ้นโต๊ะ นำไปเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อเสริมบารมีของคนมีเงินและยังถูกคุกคามในเรื่องของ แหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติอีกด้วย จนใครหลายๆคนเชื่อกันว่าตะพาบน้ำม่านลายอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งน้ำใน ประเทศไทย ดร.วชิระ กติมศักดิ์ นักวิชาการประมงชำนาญการ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเพาะเลี้ยงตะพาบน้ำม่านลายประจำศูนย์วิจัยและพัฒนา ประมงน้ำจืดกาญจนบุรี ดร.วชิระ เล่าให้ฟังว่า ตะพาบน้ำม่านลายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน อยู่ในวงศ์ตะพาบ (Family Trionychidae) มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลายชื่อ คือ กริวลาย กราวด่าง ม่อมลาย มั่มลาย มีชื่อสามัญคือ Siamese Norrow-headed Softshell turtle และเดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกับตะพาบม่านลายพันธุ์อินเดียคือ Chitra indica เนื่องจากเป็นตะพาบน้ำชนิด (species) เดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานท่านหนึ่งของประเทศไทย ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ข้อมูลที่แสดงว่าตะพาบน้ำม่านลายของไทย เป็นคนละชนิดกับตะพาบน้ำม่านลายพันธุ์อินเดีย โดยมีขนาด ลวดลาย และสีสัน แตกต่างกันอย่างชัดเจน และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของตะพาบน้ำม่านลายที่พบในประเทศไทยขึ้นใหม่ว่า Chitra chitra Nutphand, 1986 และชื่อนี้ต่อมาเป็นที่ยอมรับและใช้กันในหมู่ของนักสัตววิทยาด้านสัตว์ เลื้อยคลานจนปัจจุบัน ตะพาบน้ำม่านลายไทย ลวดลายแปลกตา เริ่มหาดูยาก ตะพาบ น้ำม่านลายไทย เป็นตะพาบน้ำที่มีลวดลายสวย มีรูปร่างคล้ายตะพาบน้ำทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เมื่อขนาดเล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน โดยสีสันนั้นอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงก็ได้ บนกระดองลายแถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง มีลายรูปเจดีย์บริเวณไหล่และคอด้านบน ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ความกว้างของกระดอง 1 เมตร และหนักถึง 100-120 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ดร.วชิระ เล่าต่อว่า ตะพาบน้ำม่านลายไทยเป็น 1 ใน 6 ชนิดของตะพาบน้ำพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย และถูกจัดให้เป็นตะพาบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักมากกว่า 200 กิโลกรัม ปัจจุบันอยู่ในสถานใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เนื่องจากว่าเป็นตะพาบน้ำพันธุ์หนึ่งที่หายากมากและมีลวดลายสีสันสวยงามและ เริ่มหาดูยากมากขึ้น การแยกเพศของตะพาบน้ำม่านลายที่เห็นได้ชัดเจน คือความแตกต่างของความยาวหาง โดยเพศผู้จะมีหางยาวโผล่พ้นขอบกระดองด้านท้ายออกมา แต่เพศเมียหางจะสั้นกว่า และปลายหางอยู่ใกล้กับขอบกระดอง ตะพาบน้ำม่านลายดำรงชีวิตส่วนใหญ่โดยการฝังตัวอยู่ใต้ทรายริมแม่น้ำที่มีน้ำ ไหลและสะอาด โผล่ปลายจมูกและตาเล็กๆ ขึ้นมาระดับเดียวกับทรายคอยปลาว่ายผ่านมาแล้วยืดหัวและคอออกมาจับปลากิน อย่างรวดเร็ว ปกติจะไม่ขึ้นมาบนบก ยกเว้นตัวเมียขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดทรายริมแม่น้ำ ตะพาบน้ำม่านลาย ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ พอออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบน้ำม่านลายจะวิ่งลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เหตุผล ที่ตะพาบน้ำม่านลายเป็นพวกซุ่มโจมตีดักกินเหยื่อ ชอบกินกบ เขียด ปู กุ้ง ปลา เป็นอาหาร เนื่องจากเป็นตะพาบน้ำที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักตัวมาก การเดินบนบกทำได้ลำบาก ตะพาบน้ำชนิดนี้จึงใช้ชีวิตเกือบทั้งหมดในน้ำ จะขึ้นบกเฉพาะเมื่อต้องการออกไข่ ชอบอยู่ตามลำธารน้ำไหลที่พื้นเป็นทรายและตะพาบน้ำม่านลายจะชอบวางไข่บนตลิ่ง ที่เป็นทราย หรือโคลนที่มีหญ้าสดๆ เท่านั้น ถิ่นกำเนิดของตะพาบน้ำ ม่านลายอยู่ที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และนอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพบตะพาบน้ำม่านลายที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ประเทศมาเลเซีย พม่า อินเดียและประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย มาถึง ปัจจุบันไม่พบรายงานของตะพาบน้ำม่านลายในแหล่งน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทย จนใครหลายๆ คนเชื่อว่าตะพาบน้ำม่านลายอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากประชากรถูกล่าไปเป็นอาหารและนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยง รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ วิจัย ศึกษา ฟื้นฟูขยายพันธุ์ เพาะเลี้ยงได้ ที่เมืองกาญจน์ ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ร่วมกับภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว องค์การสวนสัตว์และ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ อมตะกรุป (สนับสนุนพ่อแม่พันธุ์จำนวนหนึ่งมาร่วมโครงการ) ได้ร่วมมือกันฟื้นฟูขยายพันธุ์ตะพาบน้ำม่านลายไทยให้กลับคืนสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติอีกครั้ง โดยจัดตั้งโครงการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงขึ้นเพื่ออนุรักษ์ตะพาบน้ำม่านลาย ไทยไว้ให้คงอยู่ต่อไป โดยเริ่มทำการศึกษาและทดลองเพาะเลี้ยงตะพาบน้ำม่านลายไทยที่ศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง จนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก ในปี 2545 ตะพาบน้ำม่ายลายไทยที่ทำ การศึกษาจะผสมพันธุ์ในน้ำระหว่างเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ และขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน โดยขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร กว้างประมาณ 23 เซนติเมตร ตัวเมีย 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ถึง 4 รัง ใน 1 ฤดูวางไข่ จำนวนไข่ในแต่ละรังแตกต่างกัน ตั้งแต่ 40 ใบขึ้นไป ถึง 150 ใบ ไข่ตะพาบน้ำม่านลายไทยมีลักษณะค่อนข้างกลม สีขาวคล้ายลูกปิงปอง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 19 กรัม เมื่อไข่เสร็จ ตัวเมียจะกลบหลุมไข่ด้วยทรายแล้วคลานลงน้ำปล่อยให้ไข่ฟักเอง โดยใช้เวลาฟักประมาณ 60 วัน ไข่จะฟักเป็นตัว ลูกตะพาบม่านลายแรกเกิดจะมีความยาวของกระดองหลังประมาณ 4.3 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 13 กรัม อาหารของลูกตะพาบม่านลาย คือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกปลา กุ้ง การเติบโตของลูกตะพาบม่านลายอายุ 2 เดือน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3.5 เท่าจากแรกเกิด และข้อมูลการเติบโตในที่เลี้ยงของลูกตะพาบม่านลายที่ได้จากธรรมชาติอายุ 10 ปี จะมีน้ำหนัก ประมาณ 35 กิโลกรัม ในต้นปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมานั้น แม่พันธุ์ตะพาบน้ำม่านลายของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมงได้วางไข่สูงสุดถึง 305 ฟอง ซึ่งนับว่ามากสุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาฟัก 61-70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิดเป็นอัตราการฟักประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งของกรมประมง และนอกจากนี้ กรมประมงและคณะศึกษาวิจัยยังวางแผนจะสนับสนุนให้กับหน่วยงานในสังกัดกรม ประมง ได้เพาะเลี้ยงตะพาบน้ำม่านลายไทยให้มีปริมาณที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งทางกรมประมงนั้นได้ตั้งเป้าหมายจะเพาะขยายพันธุ์เพื่อปล่อยลูกตะพาบน้ำ ลงสู่ธรรมชาติ สำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบว่าตะพาบม่านลายมีรูป ร่างลักษณะอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไร สามารถติดต่อ เยี่ยมชม หรือขอข้อมูลได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี หรือที่พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 492
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM