เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ดอกข่า! ข้าวไร่พันธุ์ดี ของจังหวัดพังงา ควรค่าแก่การอนุรักษ์
   
ปัญหา :
 
 
ข้าว เป็นพืชอาหารหลักของคนไทย แต่พื้นที่ปลูกข้าวนับวันจะลดน้อยถอยลงไปทุกปี เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของชุมชนเมือง การเปลี่ยนพื้นที่ไปทำสถานที่ท่องเที่ยว การเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคใต้ แต่สำหรับจังหวัดพังงายังมีพี่น้อง เกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการปลูกข้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวไร่ เนื่องจากสภาพพื้นที่เหมาะสม โดยการปลูกระหว่างแถวยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ - 3 ปี พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์ดอกข่า พันธุ์อ่อนยายยอ ข้าวเหลือง และข้าวเข็มเงิน ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ข้าวดอกข่า ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง คุณภาพดี ของจังหวัดพังงา ที่พี่น้องเกษตรกรนิยมปลูกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากจะปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว ในราคาตันละ 20,000-25,000 บาท ลักษณะประจำพันธุ์ ระยะแตกกอเต็มที่ - มีขนบนแผ่นใบ - สีของแผ่นใบมีสีเขียว - สีของกาบใบมีสีเขียว - มุมของยอดแผ่นใบตั้งตรง - สีของลิ้นใบมีสีขาว - รูปร่างของลิ้นใบมีลักษณะแหลม - หูใบมีสีเขียวอ่อน - ข้อต่อใบมีสีเขียวอ่อน ระยะออกรวง - เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 2.6 มิลลิเมตร - ปล้องมีสีเขียว - ทรงกอตั้ง - ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว - กลีบรองดอกสีฟาง - ไม่มีหางข้าว ลักษณะเด่น ข้าว ดอกข่า เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีความต้านทานต่อโรค เมล็ดยาว สีของเมล็ดข้าวสารมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นใบเตย รสชาติอร่อย ข้าวไม่แข็ง หุงขึ้นหม้อ วิธีการปลูก ใช้ วิธีการหยอดหลุม วิธีนี้ใช้กันทั่วไป เหมาะกับทุกสภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ลาด โดยการทำไม้สำหรับเจาะหลุม เรียกว่า ไม้สัก ยาวประมาณ 2 เมตร เป็นลักษณะกลมพอเหมาะกับมือ เจาะหลุมให้ลึก ประมาณ 3 เซนติเมตร ขนาดหลุมกว้าง 1 นิ้ว ระยะห่างของหลุม ประมาณ 25x25 เซนติเมตร หลังจากนั้น หยอดเมล็ดข้าวลงในหลุมทันที ซึ่งเกษตรกรใช้กระบอกไม้ไผ่หรือกระบอกที่ทำจากท่อ พีวีซี นำเมล็ดข้าวใส่แล้วหยอด หลุมละ 5-8 เมล็ด กลบดินปากหลุมด้วยกระบอกที่ใส่ข้าวปลูก เมื่อฝนโปรยลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดินก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว ให้ผลผลิตต่อไป การปลูกข้าวไร่ เกษตรกรจะต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช เพราะในที่ดอนจะมีวัชพืชมากกว่าในที่ลุ่ม ระยะเวลาปลูก เริ่มปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พื้นที่ ปลูก ประมาณ 1,200 ไร่ อยู่ในพื้นที่ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง และตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ การเก็บเกี่ยว ใช้ วิธีการ "ลงแขก" ซึ่งเป็นประเพณีและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไม่ให้สูญหายไป สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวข้าวไร่ เรียกว่า "แกระ" โดยจะเกี่ยวทีละรวง แล้วมัดเป็นกำๆ ตากแดด 3-5 วัน คุณบุญฤทธิ์ คงเรือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรใช้พื้นที่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดในระหว่างแถวของยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ยังเล็ก โดยการปลูกข้าวไร่ ซึ่งปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้ เคียง นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ข้าวดอกข่า และคัดเลือกพันธุ์เพื่อจะได้พันธุ์ที่บริสุทธิ์ไว้ส่งเสริม และจะได้แจกจ่ายให้กับพี่น้องเกษตรกรเพื่อไว้ทำพันธุ์ต่อไป คุณไมตรี เจียมรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ตำบลตากแดด ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2552-2553 โดยได้ดำเนินการจัดงานคืนพันธุ์ข้าวสู่ชาวตากแดด และจัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวไร่ โดยดำเนินการในกลุ่มสายใยรักแห่งครอบครัว ได้ผลตอบแทนเป็นอย่างดี ไม่มีศัตรูรบกวน ควรที่จะส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่าย เป็นรายได้ให้กับครอบครัว สอบถามเพิ่มเติม หรือซื้อผลผลิตได้ที่ คุณไมตรี เจียมรา โทร. (089) 973-2275
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พังงา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 492
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM