เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิจัยมะพร้าวให้เป็นกะทิ เพิ่มมูลค่าผลผลิต งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นกะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
   
ปัญหา :
 
 
เมื่อ มาอยู่ในร่มเงาของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และได้ออกไปทำข่าวตามต่างจังหวัด ได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ โดยสิ่งเหล่านั้น เป็นผลงานการคิดสร้างสรรค์ และวิจัยของนักวิชาการเกษตร โดยเฉพาะสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ปี 2532 มีโอกาสไปอีสาน เนื่องจากรถวิ่งเร็ว เห็นคล้ายๆ ชาวบ้านตากผ้าเช็ดตัวหรือผ้าอ้อม แต่ที่ไหนได้ เข้าไปใกล้ๆ กลายเป็นแผ่นยางพารา ที่เกษตรกรปลูกไว้ขาย คิดดูชาวบ้านเขาปลูกยางพาราขายเป็นการค้าแถบริมโขงกว่า 20 ปีมาแล้ว พอไปถึงสถานีวิจัยพืชสวนนครพนม ได้ลิ้มรสทุเรียนชะนี เขาไม่ได้ปลูกเพียงต้นสองต้น แต่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ งานนั้น ผอ.ปรีชา เชยชุ่ม เป็นผู้นำเสนอ ทราบว่า ท่านย้ายไปหลายที่หลายแห่งในอีสาน คาดว่า ท่านน่าจะเกษียณแล้ว เพราะตื่นเต้นกับงานวิจัย หลังๆ จึงแวะเวียนไปตามศูนย์วิจัยและสถานีวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ นอกจากงานวิจัยเด่นๆ แล้ว ตามศูนย์และสถานีวิจัยเขายังมีบ้านพักที่เงียบสงบ ภูมิทัศน์สวยงาม สนนราคาที่พักนั้นก็ถูกมาก คืนหนึ่งตกหัวละ 30 บาท ระยะหลังๆ ขึ้นมาเป็น 50 บาท ทุกวันนี้ บางแห่งเขาปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่คนยังรู้จักกันน้อย ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เป็นหน่วยงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่สมบูรณ์แบบมาก ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านแวะเวียนไปอยู่เป็นประจำ นอกจากไปทำข่าวแล้ว ยังพาสมาชิกไปเสวนาเกษตรสัญจร ดูงานสมุนไพร งานมะพร้าว ถึงคราวนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านจัดงาน "เกษตรมหัศจรรย์ฯ" ทีมงานยังขอความอนุเคราะห์ นำพันธุ์มะพร้าวมาโชว์ รวมทั้งพนักงานของศูนย์วิจัยฯ ก็มาสาธิตการสกัดน้ำมันมะพร้าว ผู้อำนวยการศูนย์คนปัจจุบันคือ คุณดำรงค์ พงศ์มานะวุฒิ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ตั้งอยู่อำเภอสวี งานวิจัยเด่นๆ ที่ทำมานานคือ เรื่องมะพร้าว นอกจากที่สวีแล้ว งานวิจัยมะพร้าว ยังมีอยู่ที่คันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่คันธุลี มีงานวิจัยมะพร้าวกะทิ หัวหน้าโครงการคือ คุณสมชาย วัฒนโยธิน จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ผู้วิจัยภาคสนามที่ผ่านมาคือ คุณสมเดช วรลักษณ์ภักดี ปัจจุบันมี คุณปริญดา หรูนหีม รับผิดชอบโดยตรง ผลงานวิจัยเด่น นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ปักษ์ที่ 483 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เคยตีพิมพ์งานวิจัยมะพร้าวกะทิลูกผสมไปแล้วค่อนข้างละเอียด แต่ขอนำเรื่องมาเล่าย้อนหลังอีกสักนิด แต่ เดิม นักวิชาการเกษตร มีงานวิจัยให้ได้มะพร้าวพันธุ์ดี ซึ่งก็ได้มาหลายสายพันธุ์ อาทิ ชุมพรลูกผสม 60, สวี 1, สวี 2 เป็นต้น ต่อมาจึงมีงานวิจัยมะพร้าวให้ได้มะพร้าวกะทิ ซึ่งใช้เวลากว่า 10 ปี จึงประสบผลสำเร็จ ถือว่าเป็นงานวิจัยมะพร้าวกะทิชิ้นแรกของโลก เมื่อปี 2551 จึงได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งงานวิจัยยอดเยี่ยมในวาระที่กรมวิชาการเกษตร ก่อตั้งครบ 36 ปี แนว ทางการวิจัย เขาได้นำเกสรมะพร้าวกะทิมาผสมกับมะพร้าวหลายๆ สายพันธุ์ แต่ที่พบว่ามีลักษณะดีเด่น คือคู่ผสมระหว่างมะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ และมะพร้าวน้ำหอมxกะทิ เป็นลูกผสม 2 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะดังนี้ 1. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ (YDK) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด จำนวน 3,378 ผล/ไร่/3 ปีแรก คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่/3 ปีแรก มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต/ไร่ ให้สูงขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่/3 ปีแรก โดยเลือกแหล่งที่ปลูกให้ปลอดจากมะพร้าวธรรมดา และให้มีรายได้สูงขึ้นเป็น 55,737 บาท/ไร่/3 ปีแรก โดยใช้เทคโนโลยีในการทำหมันและช่วยผสมพันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสรมะพร้าว กะทิพันธุ์แท้ พันธุ์มะพร้าวดังกล่าวจึงสามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในปี 2550 2. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างพันธุ์น้ำหอมxกะทิ (NHK) ให้มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและ เนื้อ จำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นที่ปลูก ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าวสามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอม ต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าว ในเบื้องต้นพันธุ์คู่ผสมระหว่างน้ำหอมxกะทิ สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้อีก 1 พันธุ์ ลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูก จะให้ผลที่เป็นกะทิราว 25 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีการควบคุมเกสรจะได้มากกว่านี้ ตัวอย่าง...ในปีหนึ่งมะพร้าวติดผล จำนวน 100 ผล/ต้น/ปี ในจำนวนนี้ 25 ผล จะเป็นกะทิ ปกติ มะพร้าวธรรมดา ขายกันเป็นมะพร้าวแกง ผลละ 8 บาท จะมีรายได้ 800 บาท/ต้น/ปี หากปลูกแล้วได้มะพร้าวกะทิ 25 ผล หากขายผลละ 50 บาท จะได้เงินจากการขายมะพร้าวกะทิ 1,250 บาท บวกกับที่ไม่เป็นกะทิ 600 บาท เป็นเงิน 1,850 บาท ดังนั้น ผู้ปลูกมะพร้าวจะมีรายได้ต่อต้นเพิ่มขึ้น หาก พื้นที่ไร่หนึ่ง ปลูกมะพร้าวได้ 25 ต้น (ระยะ 8x8 เมตร) เกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกมะพร้าว 46,250 บาท/ไร่ นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้มีงานวิจัยเกิดขึ้น เป็นการคิดคำนวณด้วยตัวเลขกลางๆ บางท้องถิ่น ผลผลิตมะพร้าวต่อต้นอาจจะสูงกว่านี้ รวมทั้งราคาขายสูงกว่านี้ อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ถึง แม้มะพร้าวกะทิ จะเป็นที่นิยมบริโภคกันเฉพาะกลุ่ม แต่ราคาขายนั้นไม่ได้ถูก แถบวัดญาณฯ บางละมุง ชลบุรี ชาวต่างชาติจะมาเที่ยวเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีน ชาวฮ่องกง นิยมมะพร้าวกะทิกันมาก ราคาที่ชาวบ้านขายได้ผลละ 60-80 บาท ใน เรื่องคุณค่าของมะพร้าวที่เป็นกะทิ เดิมทีเข้าใจกันว่า หากบริโภคกันมากๆ แล้ว ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้ว ตรงกันข้าม คือเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในต่างประเทศ อย่างจีน ถึงกับดื่มกะทิคล้ายๆ กับดื่มนมกันเลยทีเดียว แถวศรีลังกาก็มีเครื่องดื่มประเภทนี้ ปัจจุบัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ ของกรมวิชาการเกษตร ได้รับความสนใจกันมาก ยอดสั่งจองล้น ต้องรอคิวนานข้ามปี งานวิจัยมะพร้าวกะทิให้ได้ผลผลิต 25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของคุณสมชายและทีมงาน คุณสมชาย บอกว่า ขึ้นปีงบประมาณใหม่นี้ จะเริ่มงานวิจัย คัดสายพันธุ์ให้ได้มะพร้าวกะทิลูกผสม 50 เปอร์เซ็นต์ "ผมยังไม่เกษียณ คิดว่าจะอยู่จนทำกะทิให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์" คุณสมชาย บอกอย่างอารมณ์ดี จริงๆ แล้ว อีก 2 ปี นักวิชาการเกษตรผู้เปรื่องปราดท่านนี้ก็จะเกษียณ เชื่อเหลือเกินว่า งานต่างๆ คงได้รับการสานต่อให้ก้าวหน้าอย่างแน่นอน กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ ตาม ที่แนะนำไปแล้ว เรื่องการทำมะพร้าวให้ได้กะทิ 25 เปอร์เซ็นต์/ต้น/ปี เขาใช้วิธีการผสมพันธุ์ ต้นใหม่ที่ได้ มาจากการเพาะเมล็ดหรือนำผลมะพร้าวไปเพาะ แต่มีแปลงปลูกมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่จำนวนหนึ่ง ที่เขาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คุณ ปริญดา หรูนหีม ผู้รับผิดชอบโครงการภาคสนาม เล่าว่า เมื่อมีการวิจัยจนได้ผลมะพร้าวกะทิ จากพันธุ์ลูกผสมแล้ว ทางทีมงานวิจัยได้นำคัพภะหรือต้นอ่อน จากผลมะพร้าวที่เป็นกะทิมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งผลการเพาะเลี้ยงทำได้ยาก จึงได้ต้นพันธุ์จำนวนไม่มาก ปัจจุบัน ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ที่นำลงปลูกเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผู้วิจัยกำลังคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี โดยดูข้อของลำต้น ใบ และการให้ผลผลิต จากการนำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูก ลักษณะของต้นและผลแตกต่างกันออกไปมาก บางต้นไม่สามารถที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ได้เลย ผลผลิตที่ได้จากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลผลิตไม่ดก ทั้งนี้ เกิดจากการคลุมช่อดอก เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นอื่นมาผสมนั่นเอง คุณ สมชาย บอกว่า การนำต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกเพื่อให้ได้กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ มีทำแล้วที่เกาะกลางเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี แต่หากปลูกโดยทั่วไป ต้องปลูกห่างจากมะพร้าวอื่น 5 กิโลเมตร หรือรอบๆ แปลงมะพร้าวมีไม้ชนิดอื่นขึ้นล้อมรอบอยู่ แต่เปอร์เซ็นต์กะทิอาจจะไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เรื่องราวงานวิจัยมะพร้าวกะทิ มี 2 ประเด็น หรือ 2 แนวทาง ด้วยกัน หนึ่ง...เขา ผสมพันธุ์มะพร้าว โดยใช้เกสรมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ จากเกาะที่เขื่อนเขาแหลม ผสมเข้าไปในมะพร้าวมลายูต้นเตี้ยและมะพร้าวน้ำหอม นำผลที่ได้ไปเพาะ แล้วนำไปปลูก ลูกที่ออกมาจะเป็นกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งปี สอง...นักวิจัย เอาต้นอ่อน จากผลมะพร้าวกะทิเท่านั้น ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำต้นที่ได้ไปปลูก เมื่อมีดอก ต้องคลุมถุง เพื่อไม่ให้เกสรต้นอื่นมาผสม จะได้กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันพบต้นที่มีลักษณะดีแล้วหลายต้น ผลกะทิ ที่นำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไม่จำเป็นต้องนำมาจากลูกผสม 2 สายพันธุ์ แต่นำมาจากที่ไหนก็ได้ ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อวงการเกษตรไทยอย่างยิ่ง ผู้สนใจสอบถามได้ที่ คุณสมชาย วัฒนโยธิน โทร. (02) 940-5484 ต่อ 118 หรือ คุณปริญดา หรูนหีม โทร. (081) 472-2647 และ (086) 657-4517
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 490
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM