เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เบญจมาศกระถาง ในโครงการพัฒนาบ้านโปงตามพระราชดำริ
   
ปัญหา :
 
 
พอ เข้าหน้าหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ภูมิอากาศโดยเฉลี่ยในภาคเหนือจะหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาเอาความหนาวเย็นมาจาก ประเทศจีน ซึ่งต้องผ่านภาคเหนือก่อน อุณหภูมิในภาคเหนือจึงเปลี่ยนแปลงก่อนภาคอื่น ในต่างจังหวัดพื้นที่โล่งประมาณปลายเดือนตุลาคมจะพบเห็นแมลงปอบินโฉบฉวัด เฉวียนไปมาในตอนเช้าๆ ก็จะเป็นสัญลักษณ์ให้เรารู้ว่า ฤดูหนาวจะเริ่มมาเยือนอีกไม่นาน ให้เตรียมตัวเพื่อรับหน้านาว แต่ ในเมืองไม่มีแมลงปอเป็นทูตของฤดูหนาวมาบอก ก็จะรู้ตัวเมื่อฤดูหนาวมาถึงแล้วโดยไม่ได้เตรียมตัว แต่บรรยากาศในเมืองจะมีสีสันเปลี่ยนแปลงไป โดยดูจากร้านค้าจะพบว่าร่มและเสื้อกันฝนที่เคยวางเด่นไว้หน้าร้านจะเปลี่ยน เป็นเสื้อกันหนาวหลากสีสัน โดยเฉพาะเสื้อกันหนาวมือสองจากต่างประเทศแขวนขายกันให้เกลื่อนเมือง เสื้อกันหนาวมือสองที่เอ็กซ์ปอร์ตมาจากต่างประเทศ (ตลาดโรงเกลือ) นับว่าเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของความหนาวในเมืองได้เป็นอย่างดี นอก จากนี้ ของอีกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงฤดูหนาวได้เป็นอย่างดี คือ ดอกไม้นานาพรรณที่เกษตรกรชาวสวนดอกไม้จากภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่หน้าฝนก็จะพร้อมใจกันผลิบานกันในหน้าหนาวอย่างพร้อม เพรียง เราจะเห็นดอกไม้เมืองหนาวต่างๆ วางเรียงรายอยู่ตามร้านต้นไม้ให้เห็นทุกร้าน โดยต้นคริสต์มาสสีแดงสดใสวางเป็นแถวดูเด่นตา นอกจากนี้ ยังมีต้นคริสต์มาสสีเหลือง และชมพูแซมตาให้ดูได้อีก ไม้ดอกกระถางอีกชนิดหนึ่งที่เห็นได้เฉพาะหน้าหนาว ซึ่งมีสีสันฉูดฉาดมากมายให้ได้เลือกซื้อหา ได้แก่ เบญจมาศกระถาง เบญจมาศ (Chrysanthemum Dendranthema grandiflora) เป็นไม้ดอกล้มลุก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น ถ้าแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ก็จะแบ่งได้เป็นเบญจมาศที่ปลูกเพื่อตัดดอก กับเบญจมาศที่ปลูกเพื่อเป็นไม้กระถาง ในปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ของเบญจมาศกระถางกันมากมาย นอกจากความหลากหลายสีสันแล้ว ยังมีความหลากหลายในลักษณะของรูปทรงดอกอีกด้วย และการแตกทรงพุ่มและการเจริญเติบโตของเบญจมาศกระถางก็ยังมีความแตกต่างกัน โครงการ พัฒนาบ้านโปงตามพระราชดำริ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราช ดำเนิน ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ที่บ้านโปง ในปี พ.ศ. 2527 ด้วยทรงทราบว่าราษฎรชาวบ้านโปงมีการอนุรักษ์ป่าและต้นน้ำลำธารเป็นอย่างดี เนื่องจากบริเวณแถบนี้เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยโจ้ ซึ่งจะไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำแม่ปิง ได้มีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดหาพืชพรรณที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยง มาให้ชาวบ้านแม่โปง เพื่อจะได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นฐานโดยไม่ต้องไปรบกวนแหล่งต้นน้ำลำธาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร จึงได้รับสนองพระราชดำริโดยการจัดตั้งเป็นโครงการพัฒนาบ้านโปงตามพระราชดำริ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้การปลูกเลี้ยงเบญจมาศกระถางและเบญจมาศตัดดอก เพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้านบ้านโปงและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ. 2530 อาจารย์ธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ซึ่งจบปริญญาตรี สาขาพืชสวน จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลด้านการผลิตและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง เบญจมาศกระถาง และเบญจมาศตัดดอกของโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และต่อมาได้ไปศึกษาต่อทางด้านการเพาะเนื้อเยื่อ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ บางเขน เพื่อมาพัฒนางานของเบญจมาศทางด้านการขยายพันธุ์ เนื่องจากการขยายพันธุ์ด้วยการเด็ดยอดปักชำไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตให้ ได้มากเพียงพอสำหรับการทำการค้าได้ ต้นพันธุ์เบญจมาศกระถาง มาจากการปั่นตา จาก ที่เคยมีการขยายพันธุ์เบญจมาศด้วยการปักชำยอด ซึ่งได้ในปริมาณน้อย และมีโรครบกวนมาก ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนจากวิธีเดิมเป็นการขยายพันธุ์ต้นเบญจมาศด้วยการนำยอดไป ปั่นเนื้อเยื่อ เนื่องจากโครงการต้องการผลิตต้นพันธุ์จำนวนมากเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไป เป็นต้นกล้าได้พอเพียงกับความต้องการ จึงเป็นที่แน่ใจได้ว่าต้นกล้าเบญจมาศที่ได้จะเป็นต้นกล้าที่มีความสะอาดปลอด เชื้อโรค ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเริ่มแรกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ เมื่อนำต้นพันธุ์เบญจมาศมาลงปลูกในโรงเรือนอนุบาลตามที่เตรียมไว้อย่างดี แล้วประมาณ 1 เดือน จึงนำลงมาชำในกระถาง 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกพร้อม วัสดุปลูกที่ใส่ในกระถาง ต้องเหมาะสม การ เตรียมวัสดุปลูกเป็นสิ่งสำคัญ วัสดุที่ใช้ปลูกจะประกอบด้วย ขุยมะพร้าว 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน ทรายหยาบและปุ๋ยหมักอย่างละ 1 ส่วน นอกจากวัสดุปลูกแล้วยังต้องใช้ปุ๋ยรองพื้น คือปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต สูตร 0-46-0 อีกจำนวน 0.5 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากันกับเครื่องปลูก รดน้ำให้พอชุ่ม แล้วนำวัสดุปลูกใส่กระถางพลาสติคดำ 5 นิ้ว เพียง 2 ใน 3 ส่วน ของกระถางเท่านั้น แล้วใส่ปุ๋ยละลายช้าลงไปในกระถาง ประมาณ 15 กรัม ต่อกระถาง แล้วจึงเติมวัสดุปลูกจนเต็มกระถาง และนำต้นพันธุ์มาปักชำในกระถางให้ครบ 5 ต้น โดยปักเอียงออกนอกขอบกระถาง ประมาณ 45 องศา และชำลงลึกประมาณ 1/3 ของความยาวต้น ปลูกเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนอีกประมาณ 20 วัน จนกว่าจะออกรากและต้นสามารถตั้งตัวได้ จึงนำออกมาปลูกไว้กลางแจ้ง โดยปูพลาสติคดำหรือซาแรนรองบนพื้นป้องกันหญ้าที่จะเกิด ต้องเด็ดยอด เพื่อให้แตกกอ อาจารย์ ธนวัฒน์ บอกว่า "เบญจมาศกระถางจะให้แตกกอดี จะต้องเด็ดยอด เมื่อต้นตั้งตัวได้ดีแล้ว และสูงประมาณ 5-6 เซนติเมตร เมื่อตรวจดูกระถางว่ามีต้นครบหรือไม่ ถ้าไม่ครบต้องปลูกต้นซ่อมให้ครบ แล้วจึงเริ่มเด็ดยอดด้วยมือ ไม่ต้องใช้กรรไกร ก็จะเหลือต้นเบญจมาศเท่ากันทุกต้นในกระถาง เพราะจะทำให้กิ่งแขนงใหม่ที่แตกออกมามีความยาวใกล้เคียงเสมอกันหมด หลังจากเด็ดยอดเบญจมาศแล้วประมาณ 15 วัน กิ่งแขนงก็จะเริ่มแตกออกมายอดละหลายกิ่ง รดน้ำใส่ปุ๋ยตามปกติจากการเริ่มปลูกตอนเดือนกรกฎาคมแล้วต้นเดือนธันวาคม เบญจมาศกระถางก็ผลิดอกพร้อมจำหน่าย โครงการของเราจะพิถีพิถันในการจำหน่าย เราจะคัดเลือกกระถางที่สวยสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งจะต้องมีต้นเบญจมาศครบและออกดอกสมบูรณ์ทั้ง 5 ต้น ตามที่ได้ปลูกไว้" ซึ่งอันนี้ผมได้ไปดูกระถางที่คัดออก ก็เห็นสวยเต็มกระถางดี จึงถามว่า ทำไม ต้องคัดออก จึงได้คำตอบนี้มา แสดงว่าคุณภาพต้นเบญจมาศของโครงการนี้มั่นใจได้ว่าสวยสมบูรณ์แน่นอน มุ่งการถ่ายทอดมากกว่าการทำตลาด สำหรับ การตลาดของเบญจมาศกระถาง โครงการผลิตได้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้มากกว่าการปลูก เลี้ยงทำเป็นการค้า ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะมีผู้ติดต่อจองซื้อไว้ล่วงหน้า นำมาจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ทางภาคอีสาน ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอสำหรับการจำหน่าย (อีกแล้วครับท่าน) เบื่อที่จะต้องเขียนคำนี้เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาแล้วก็พบว่า เบญจมาศกระถาง นี้ถึงเกษตรกรอยากทำก็ไม่ใช่ทำกันได้ทุกภาคของประเทศไทย จะทำได้แค่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัดเท่านั้น เพราะในภาคอื่นความหนาวเย็นของอากาศมีไม่เพียงพอที่จะให้เบญจมาศออกดอกพรั่ง พรูสวยงาม สามารถทำเป็นการค้าได้ และการซื้อหาไปก็เพื่อดูความสวยงามเพียงในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 เดือน เท่านั้น หลังจากนั้น ก็จำเป็นต้องปล่อยให้ตายไป เพราะไม่สามารถนำมาปลูกเลี้ยงได้อีก เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรปีละรอบ ดอกไม้กระถางพวกนี้เป็นต้นไม้ที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เหมาะสำหรับนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งกลางแจ้งหรือในอาคาร สำนักงาน ในช่วงเทศกาล หรือวาระสำคัญ เพิ่มสีสันบรรยากาศให้กับงานได้เป็นอย่างดี ถ้า เกษตรกรกลุ่มใดต้องการไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเบญจมาศกระถาง หรือเบญมาศตัดดอก ในโครงการพัฒนาบ้านโปงตามพระราชดำริ เพื่อนำความรู้นี้ไปปลูกเลี้ยงเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ในชุมชน สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับการดูงานสามารถเสร็จเรียบร้อยในวันเดียว แต่ถ้าต้องการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกเลี้ยงอย่างละเอียด ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน โดยวันแรกจะเป็นการอบรมภาคทฤษฎี ส่วนวันที่สองจะเป็นการลงแปลงเพื่อเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ในการฝึกอบรมแบบ 2 วันนี้ จำเป็นต้องมีงบประมาณสนับสนุน จึงต้องรอวัน เวลา ที่จะประกาศเปิดอบรม จากเวลาที่ผ่านมาของโครงการ 20 กว่าปี มีการเปิดอบรมดูงานไปแล้วเป็นร้อยรุ่นและจำนวนผู้เข้าอบรมและดูงานเป็นหมื่น คน ติดต่อ อาจารย์ธนวัฒน์ รอดขาว เบอร์โทรศัพท์ (081) 950-2011
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 494
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM