เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แม่โจ้วิจัยปลูกเลี้ยง "เอื้องแซะหอม" กล้วยไม้ไทยดอกหอมในชุมชน
   
ปัญหา :
 
 
เอื้อง แซะ หรือ เอื้องซะหอม เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองที่สำคัญของภาคเหนือ ดอกสีขาว ขนาด 2-3 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบหนาเป็นมัน บานได้นาน ออกดอกตามข้อ 1-3 ดอก ต่อช่อ ปากมี 3 แฉก กลีบปากสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอมแสด มักเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ บนภูเขาสูง อากาศหนาวเย็น ชื้น มีเมฆหมอกปกคลุมตลอดปี ดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่ามกลางความหนาวเย็นของหมอกหนา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในประเทศไทยพบมากในพื้นที่ป่าดิบแล้งและป่าสนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและ เชียงใหม่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป แต่จาก สภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งพื้นที่ป่าไม้อันเป็นแหล่งกำเนิดถูกทำลายลงอย่างมาก ตลอดจนปัญหาการลักลอบเก็บต้นออกจากป่าเพื่อจำหน่ายคราวละมากๆ ส่งผลให้จำนวนเอื้องแซะหอมในป่าลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่องทุกปี เอื้อง แซะหอม เป็นกล้วยไม้ไทยที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งเพื่อการผลิตเป็นต้นกล้วยไม้กระถางดอกหอม และการปลูกเลี้ยงเพื่อผลิตดอกสำหรับนำไปสกัดเป็นน้ำหอมหรือเครื่องหอม การส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ป่าแหล่งกำเนิด ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจนได้ปลูกเลี้ยงเป็นการค้า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถอนุรักษ์และพัฒนาเอื้องแซะหอมอย่างยั่งยืนได้ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อศึกษา หารูปแบบการปลูกเลี้ยงที่ง่ายและเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในชุมชน โดยได้เปรียบเทียบชนิดของภาชนะและวัสดุปลูกที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้อง ถิ่น ซึ่งทำให้เอื้องแซะหอมเจริญเติบโตดี มีดอกดก เพื่อการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของคนในชุมชนและประชาชนที่สนใจ ทั้งยังสามารถลดปัญหาการลักลอบเก็บต้นออกมาจากป่าได้อีกทางหนึ่ง การ ปลูกเลี้ยงเอื้องแซะหอมนั้นไม่ยาก โดยควรมีการปฏิบัติดูแลให้สอดคล้องกับอายุต้น และระยะการพัฒนาของต้นในรอบปี การวิจัยเริ่มจากการนำต้นกล้าที่อนุบาลในกระถาง ขนาด 1 นิ้ว (ต้นกล้วยไม้นิ้ว) ซึ่งใช้สแฟกนั่มมอสส์เป็นวัสดุปลูกไปปลูกเลี้ยงภายใต้โรงเรือนพรางแสง หลังคาพลาสติคกันฝนในพื้นที่ชุมชน 4 แห่ง ได้แก่ บ้านน้ำกัด บ้านแม่สุยะ บ้านทุ่งมะส้าน และบ้านนาปลาจาด ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดูแลรักษาโดยรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้า ช่วงฤดูฝนควบคุมความชื้นไม่ให้สูงเกินไป เพราะทำให้ต้นเน่าตายได้ง่าย ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด สูตร 21-21-21 อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 15 วัน ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงสลับกันทุก 15 วัน จนถึงช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งพบว่าต้นกล้าที่ปลูกเลี้ยงมีการเจริญเติบโตทางด้านต้นและใบที่ดี มีการพัฒนาจำนวนและขนาดลำลูกกล้วยได้ไม่แตกต่างกัน ต้นที่ปลูกเลี้ยงที่บ้านทุ่งมะส้านมีจำนวนใบมาก แต่มีอัตราการตายสูงกว่าต้นในชุมชนอื่นๆ การปลูกเลี้ยงระยะต้นกล้วยไม้รุ่น โดยในช่วงต้นฤดูฝนได้ย้ายต้นกล้าที่อายุครบปีลงปลูกในภาชนะและวัสดุที่แตกต่างกัน 4 ชนิด คือ 1. ปลูกลงในกระถางพลาสติค 3.5 นิ้ว โดยใช้ตุ้มกาบมะพร้าว หรือ 2. เปลือกสนเป็นวัสดุปลูก 3. ปลูกลงในกระเช้าพลาสติค 3 นิ้ว โดยไม่เติมวัสดุปลูก และ 4. ปลูกต้นติดท่อนไม้ ดูแลรักษาโดยรดน้ำ เมื่อผิววัสดุปลูกหมาดแห้ง ในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 15 วัน ในเดือนตุลาคมให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง (10- 52-17) และในเดือนพฤศจิกายนให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง (7-17-35) จนกระทั่งต้นทิ้งใบไปประมาณครึ่งหนึ่งจึงงดให้ปุ๋ย โดยฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา แมลงและไรแดง ทุก 15 วัน ซึ่งพบว่า เปลือกสนและตุ้มกาบมะพร้าวเป็นวัสดุปลูกทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี โดยมีจำนวนลำลูกกล้วย และจำนวนใบมาก มีอัตราการตายของต้นน้อยกว่าต้นที่ปลูกโดยไม่เติมวัสดุและต้นที่ปลูกติดท่อน ไม้ การใช้ตุ้มกาบมะพร้าวและไม่เติมวัสดุปลูกทำให้มีจำนวนต้นที่พัฒนาดอก และจำนวนดอกต่อต้นมากที่สุด งานปลูกเลี้ยงระยะต้นเจริญพันธุ์หรือออก ดอก ดูแลรักษาเช่นเดียวกับระยะต้นกล้วยไม้รุ่น ซึ่งพบว่า เปลือกสนและตุ้มกาบมะพร้าวเป็นวัสดุปลูกที่ทำให้ต้นพัฒนาลำลูกกล้วยได้จำนวน มาก แต่ยังคงมีจำนวนลำใหม่ ขนาดความกว้างและสูงลำ รวมถึงจำนวนต้นที่พัฒนาดอกไม่แตกต่างจากวัสดุชนิดอื่น ส่วนการปลูกต้นติดท่อนไม้ทำให้ได้ต้นที่สามารถออกดอกได้น้อยที่สุด ซึ่งต้นที่บ้านทุ่งมะส้านและบ้านนาปลาจาด ซึ่งปลูกโดยใช้ตุ้มกาบมะพร้าว ต้นบ้านน้ำกัดที่ปลูกโดยไม่เติมวัสดุ และต้นบ้านแม่สุยะที่ปลูกโดยใช้เปลือกสนมีจำนวนดอกต่อต้นมากไม่แตกต่างกัน จาก ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า เอื้องแซะหอม เป็นกล้วยไม้ไทยที่สามารถปลูกเลี้ยงให้เจริญเติบโตและออกดอกได้ดีในพื้นที่ ของภาคเหนือ โดยต้องเข้าใจถึงธรรมชาติและนิสัยของกล้วยไม้ชนิดนี้ด้วย ในระยะต้นกล้าซึ่งต้นยังอ่อนแอควรปลูกเลี้ยงภายใต้โรงเรือนที่กันแดดและเม็ด ฝน ส่วนระยะต้นรุ่นและระยะต้นเจริญพันธุ์ควรปลูกเลี้ยงภายใต้สภาพร่มเงาที่พราง แสงลง 60-70% โดยควรฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอในทุกระยะการ เจริญเติบโต ซึ่งทำให้เอื้องแซะหอมสามารถที่จะออกดอกได้ เมื่ออายุเพียง 2 ปี ภาชนะและวัสดุปลูกที่แตกต่างกันทั้ง 4 ชนิด สามารถใช้ปลูกเลี้ยงได้ แต่ชนิดที่เหมาะสมคือ กระถางพลาสติค 3.5 นิ้ว ใช้ตุ้มกาบมะพร้าวหรือเปลือกสนเป็นวัสดุปลูก โดยตุ้มกาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่เกษตรกรชื่นชอบ เนื่องจากปลูกเลี้ยงและดูแลรักษาง่าย เก็บรักษาความชุ่มชื้นได้ดีกว่าเปลือกสน เป็นของเหลือใช้ในครัวเรือน จึงหาได้ง่ายในท้องถิ่น และมีราคาถูก โครงการวิจัยฯ ได้นำผลวิจัยที่ได้ไปถ่ายทอดผ่านโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน ทั้ง 4 แห่ง ให้ปลูกเลี้ยงเอื้องแซะหอมเป็นอาชีพ ทั้งเพื่อการผลิตดอกจำหน่ายให้กับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้นำมาสกัดกลิ่นหอม หรือเพื่อการผลิตเป็นต้นกล้วยไม้กระถางดอกหอมจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและ ผู้ที่สนใจ เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ครอบครัว และช่วยอนุรักษ์พันธุ์ให้คงอยู่ในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง ท่านผู้ อ่านท่านใดสนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสมยศ มีสุข ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 875-115 ในวันและเวลาราชการ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 494
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM