เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกมันหวานญี่ปุ่น ในประเทศไทยให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
การปลูกมันเทศพันธุ์ต่างประเทศในประเทศไทยจะให้ประสบความ สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เกษตรกรผู้ปลูกจะต้องมีความรู้ มีการวางแผนและการจัดการที่ดี รวมถึงมีเทคนิคและการดูแลเฉพาะในแต่ละฤดูปลูกอีกด้วย เพื่อให้การปลูกมันเทศบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ “ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด ได้หัวมันที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและมีต้นทุนในการผลิตต่ำ” ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร ได้คลุกคลีกับการปลูกมันเทศมานาน ประมาณ 7 ปี โดยสายพันธุ์ที่นำมาปลูกล้วนแต่เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้ง สิ้น อาทิ มันเทศเนื้อสีส้มประเทศออสเตรเลียและไต้หวัน, มันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่น, มันเทศเนื้อสีเหลืองญี่ปุ่น (มันหวานญี่ปุ่น) และไต้หวัน ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้รวบรวมข้อมูลการปลูกและการบำรุงรักษาการปลูกมันเทศจากประสบการณ์ สรุปได้ดังนี้ วิธีการเตรียมแปลงปลูก ปลูก มันเทศให้ลงหัวได้ดีนั้น ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องโครงสร้างของดิน ถึงแม้ว่ามันเทศจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมที่สุด สภาพดินที่ปลูกมีผลต่อการลงหัวของมัน หรือรูปร่างของหัวมัน พื้นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลวัว มูลไก่ ฯลฯ ในอัตรา 1-2 ตัน หรือใส่ปุ๋ยคอกหลังการเตรียมแปลงเสร็จแล้ว โดยหว่านบนสันร่องแปลง ยกตัวอย่าง พื้นที่แปลงปลูกมันเทศที่เคยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดต่อเนื่องมาหลายปี ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้มีการหว่านเมล็ดปอเทืองลงไปในแปลงก่อน ที่จะเตรียมแปลงปลูกมันเทศ หลังจากต้นปอเทืองเริ่มออกดอกจะไถกลบทันที เป็นปุ๋ยพืชสด ในการเตรียมแปลงปลูก ให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นไถพรวนแปลง 1-2 รอบ หรือใช้โรตารี่ติดรถไถตีดินให้ดินมีความละเอียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้น ให้ยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 70-100 เซนติเมตร สูง 30-50 เซนติเมตร (ความสูงของแปลงยิ่งมีความสูง ยิ่งส่งผลต่อการลงหัวมันดี) ส่วนความยาวของแปลงปลูกขึ้นกับสภาพพื้นที่ ถ้าจะให้เหมาะสมควรจะปลูกแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ โดยมีความกว้างของแปลง 40 เมตร และความยาวของแปลง 80 เมตร เพื่อสะดวกและง่ายต่อการจัดการ การจัดระบบน้ำ ในแปลงปลูกมันเทศ โดย ปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญใน เรื่องของระบบน้ำในแปลงปลูก ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝน อาจจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น ถ้าปลูกในฤดูแล้งอาจจะมีการให้น้ำแบบท่วมแปลงบ้างเท่านั้น แต่การปลูกมันเทศสมัยใหม่ควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดี ในแปลงปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ซึ่งมีรัศมีกระจายน้ำได้ 3-4.5 เมตร ระบบน้ำดังกล่าวมีข้อดีตรงที่ต้นมันเทศได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ส่งผลให้ต้นมันเทศตั้งตัวได้เร็ว พบเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง แต่จะพบข้อเสียตรงวัชพืชจะขึ้นเร็ว ทำให้มีต้นทุนในการกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น สำหรับการให้น้ำแบบอื่นๆ อย่างกรณีของการให้น้ำแบบท่วมร่อง ถ้าสภาพดินปลูกเป็นดินเหนียว เมื่อดินแห้ง ดินจะแข็งและจับตัวกันแน่น มีผลต่อการลงหัวของมันเทศ ทำให้ผลผลิตลดลง วิธีเตรียมท่อนพันธุ์มันเทศ ใน การตัดท่อนพันธุ์ ควรจะตัดให้มีความยาวราว 30 เซนติเมตร จะไม่ลิดใบทิ้งหรือลิดทิ้งก็ได้ เนื่องจากยอดมันเป็นพืชที่แตกยอดออกมาใหม่ได้ง่าย ถ้าลิดใบทิ้งก็จะทำให้เสียเวลา แต่ยอดมันเทศเมื่อลงปลูกจะตั้งตัวได้เร็วกว่าไม่ลิดใบ การตัดยอดใช้ส่วนที่เป็นยอดจะดีที่สุด สำหรับท่อนที่ 2-3 ลงไป สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตเช่นกันแต่การให้หัวจะน้อยลงไปตามลำดับ เมื่อตัดท่อนพันธุ์มาแล้ว ควรจะมัดรวมกันเป็นท่อนหรือเป็นกำ เอาใบตองหรือกระสอบปุ๋ยห่อมัดเอาไว้ ควรนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาฆ่าแมลงในกลุ่ม “คาร์โบซัลแฟน” เช่น ไฟท์ช็อต จุ่มแช่ไว้นานราว 5-10 นาที จะช่วยลดเรื่องแมลงที่จะติดไปกับท่อนพันธุ์ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้น ให้นำมัดท่อนพันธุ์วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ เช้า-เย็น ประมาณ 2-3 วัน ยอดท่อนพันธุ์ก็จะมีรากออกมา แสดงว่าท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้ว ถ้าจะให้ดี ท่อนพันธุ์มันเทศที่จะตัดควรจะตัดจากต้นที่มีอายุไม่เกิน 45 วัน หรือก่อนที่จะมีการฉีดพ่นปุ๋ย หรือสารเคมีเพื่อหยุดยอด ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนมันเทศประมาณ 8,000-16,000 ยอด ปลูกมันเทศ สายพันธุ์ต่างประเทศให้ได้ผลดี ก่อน ที่เกษตรกรจะลงมือปลูกควรจะมีการให้น้ำในแปลงปลูกอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้น ปลูกได้ง่ายและรวดเร็ว วิธีการเตรียมหลุมปลูกแบ่งได้ 3 วิธี คือ ปลูกแบบใช้จอบขุด ปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อน หรือจะปลูกแบบนำท่อนพันธุ์เสียบลงแปลงปลูกเลย จากการทดลองปลูกทั้ง 3 วิธี พบว่า วิธีปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เพราะทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่เสียแรงงานในการขุดดินและท่อนพันธุ์ไม่ช้ำ ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 25-30 เซนติเมตร หากใช้จอบขุดปลูกบนสันร่อง หลุมที่ปลูกควรมีความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ควรจะวางยอดท่อนพันธุ์ทำมุม 45 องศา ฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนพันธุ์มันเทศและให้ข้อโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณ 2-3 ข้อ หลังจากนั้น กลบดินให้แน่นเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์โยกคลอน แต่หากปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำ จะปลูกท่อนพันธุ์มันเทศให้เป็นคู่บนสันร่องโดยใช้ไม้แหลมกระทุ้งนำไปก่อน ทำมุม 45 องศา จากนั้นเสียบท่อนพันธุ์ลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนมันเทศ ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ ทางชมรมจะใช้ท่อนพันธุ์มันเทศ ประมาณ 11,000-12,000 ยอด ซึ่งพบว่าเป็นจำนวนที่ให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง การให้น้ำมันเทศ ใน ช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ปลูกท่อนมันเทศลงดินไปแล้ว จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ 3 วันแรกจะต้องให้ทุกวัน เช้า-เย็น ให้ครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง (กรณีที่ให้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์) หลังจากนั้น จะให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วัน หรือ 5 วัน หรือ 7 วัน ต่อครั้ง ข้อควรระวัง หลังจากที่ปลูกมันเทศไปแล้วประมาณ 7-10 วัน เกษตรกรจะต้องเดินสำรวจในแปลงปลูกว่ามีต้นใดตายบ้าง จะต้องปลูกซ่อมให้เสร็จทันที ด้วงงวงมันเทศ ศัตรูที่สำคัญของการปลูกมันเทศ แมลง ศัตรูมันเทศที่มีความสำคัญที่สุดคือ “ด้วงงวงมันเทศ” หรือ “เสี้ยนดิน” ในพื้นที่การปลูกมันเทศทั่วประเทศและทั่วทุกแห่งในโลกจะพบการระบาดของแมลง ชนิดนี้ ถ้าพบการระบาดมาก ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้มันเทศลงหัวได้น้อยลง หัวมีคุณภาพต่ำ มีกลิ่นเหม็น และรสชาติขม มีคำแนะนำในการป้องกันและกำจัดด้วงงวงมันเทศ อันดับแรก ไม่ควรปลูกมันเทศซ้ำที่เดิมหรือปลูกมันเทศติดต่อกันหลายปี ถ้ามีพื้นที่น้อยและจำเป็นจะต้องปลูกในพื้นที่เดิม ควรจะปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหมุนเวียน กำจัดเก็บ “เศษหัวมันเทศ” ที่ถูกทิ้งอยู่ในแปลงออกให้หมด เพราะจะเป็นแหล่งอาหารให้ด้วงงวงมันเทศอาศัย กำจัดวัชพืชอาหารรอบแปลงปลูกมันเทศ โดยเฉพาะ “ผักบุ้ง” ที่ด้วงงวงมันเทศสามารถที่จะแพร่และขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี สำหรับพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตชลประทานวิธีการปล่อยน้ำท่วมแปลงก่อนลงมือปลูกมี ส่วนช่วยในการทำลายไข่ ตัวอ่อน และตัวแก่ ของด้วงงวงมันเทศได้ส่วนหนึ่งโดยไม่ต้องใช้สารเคมี อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศ ความ จริงแล้วอายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 120-150 วัน หลังจากปลูกท่อนพันธุ์ลงไป ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เช่น ฤดูกาลปลูก ความสมบูรณ์ของต้น สายพันธุ์ที่ปลูก อย่างกรณีของมันเทศเนื้อสีส้ม ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรนำเข้ามาปลูก สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 100 วัน ขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 150 วัน วิธีการสังเกตว่ามันเทศแก่และเก็บเกี่ยวได้ สังเกตสันร่องที่ปลูก ดินจะแตกออกอย่างชัดเจน สังเกตเถามันจะเหี่ยวและออกดอก เกษตรกรควรจะขุดสุ่มตัวอย่างและนำมาทดลองบริโภคหรืออาจจะใช้มีดปาดหัวดูว่า มียางไหลออกมามากหรือน้อย ถ้ายางออกมาน้อยแสดงแก่แล้ว เตรียมขุดขายส่งตลาดได้ ......................................................... ข้อเสนอแนะที่สำคัญ สำหรับผู้ปลูกมันเทศ 1. เกษตรกรไทยจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมจากการปลูกมันเทศในอดีตที่คิดว่าไม่จำเป็น มีการบำรุงรักษา โดยเฉพาะเรื่องของการให้น้ำ น้ำมีผลต่อการลงหัวของมันเทศ ถ้าต้นมันเทศได้น้ำสม่ำเสมอในช่วงระยะเวลาลงหัวจะได้มันที่ได้น้ำหนักและหัว ขนาดใหญ่ 2. ท่อนพันธุ์มันเทศที่ตัดจากต้นมันเทศมาขยายพันธุ์ต่อ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกตัดจากยอดมาเพียง 1 ท่อนเท่านั้น ถ้าตัดยอดที่ 2-3 จากต้นเดียวกันจะมีผลต่อการให้ผลผลิต และยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมว่าเมื่อใช้ยอดมันเทศเป็นท่อนพันธุ์นั้น ควรจะใช้เพียง 3 รุ่น ควรจะเปลี่ยนมาขยายพันธุ์จากหัวเพื่อทำรุ่นต่อไป 3. แมลงและโรคศัตรูมันเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดไม่มากเท่ากับพืชอีกหลายชนิด แต่ที่เห็นว่าเป็นศัตรูที่มีความสำคัญยิ่งก็คือ “ด้วงงวงมันเทศ” เกษตรกรจะต้องเน้นในการป้องกันการระบาด จะดีกว่าพบการระบาดแล้วถึงจะมีการฉีดพ่นสารเคมี เมื่อพบการระบาดแล้วจะควบคุมได้ยากมาก สิ่งที่ต้องพิจารณาและระมัดระวังเป็นพิเศษที่เสี่ยงต่อการระบาดของแมลงชนิด นี้ก็คือ การปลูกมันเทศซ้ำที่เดิม และการป้องกันและกำจัดในช่วงระยะเวลาที่ต้นมันเทศลงหัว 4. การปลูกมันเทศ ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม เมื่อปลูกมันเทศไปแล้ว 1 รุ่น พื้นที่นั้นควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเขียว ปอเทือง ทดแทนหลังจากที่ต้นถั่วเขียวมีอายุต้นได้ 45 วัน หรือระยะที่ออกดอกให้ไถกลบทั้งต้น จะได้ปุ๋ยพืชสดอย่างดี แล้วค่อยปลูกมันเทศต่อไป 5. เทคนิคในการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงสำหรับการปลูกมันเทศโดยเฉพาะ ถ้าฉีดเพื่อป้องกันและกำจัด “ด้วงงวงมันเทศ” จะต้องฉีดน้ำยาให้ชุ่มโชกถึงดิน .................................................................. หนังสือ “การปลูกมันหวานญี่ปุ่นในประเทศไทย” พิมพ์ 4 สี แจกฟรี พร้อมกับ หนังสือ “อาชีพเกษตรกรรม ทำง่าย รายได้งาม เล่มที่ 1- เล่มที่ 6” รวม 7 เล่ม จำนวน 588 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ มูลค่ารวม 250 บาท (พร้อมระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM