เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
บ่อแก๊สชีวภาพแบบ ถุงหมัก พีวีซี สร้างพลังงานทดแทนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
   
ปัญหา :
 
 
ใน วันนี้ปัญหาเรื่องต้นทุนด้านพลังงานนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะในช่วงเวลานี้ที่มีวิกฤตการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดสึนามิ เหตุการณ์ที่ประเทศลิเบีย ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก สิ่ง ที่เกษตรกรจะสามารถทำได้ในเวลานี้คือ การหาแหล่งพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในฟาร์ม โดยแนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายคือ การสร้างบ่อแก๊สชีวภาพขึ้นมาใช้เอง ด้วย การใช้มูลของสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มเป็นแหล่งวัตถุดิบ แบบไม่ต้องไปซื้อไปหา เก็บจากคอกมาแปรเปลี่ยนให้เป็นพลังงานใช้ทั้งเพื่อหุงต้มและให้แสงสว่าง กอง อาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้มีการนำเสนอและเผยแพร่เทคโนโลยีการสร้างบ่อแก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? ซึ่งนับเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ทั้ง นี้ ในปัจจุบันกองอาหารสัตว์ได้กำหนดแนวคิดในการส่งเสริมรูปแบบการทำปศุสัตว์ที่ น่าสนใจประการหนึ่งคือ ?ปลูกหญ้าสวนครัว เลี้ยงวัวหลังบ้าน ได้พลังงานทดแทน? ทั้งนี้ กองอาหารสัตว์ ได้บูรณาการงานจัดทำแปลงหญ้า ไปสู่การเลี้ยงวัวได้ผลผลิตเป็นลูกวัวและมูลวัว นำมูลวัวไปหมักในบ่อแก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? จะได้แก๊สมาใช้ประโยชน์ในการหุงต้ม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดมลภาวะจากมูลสัตว์ ลดปัญหาโลกร้อน และยังได้น้ำปุ๋ยที่ผ่านการหมักแล้วไปใส่ต้นไม้ด้วย สำหรับแก๊ส ชีวภาพนั้น เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลาย (มูลสัตว์) โดยจุลินทรีย์ ในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้ได้แก๊สต่างๆ เกิดขึ้น ดังนี้ มีเทน 50-70% คาร์บอนไดออกไซด์ 30-50% และแก๊สอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และแอมโมเนีย 2% การใช้แก๊สในครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายแทนแก๊ส LPG ได้เฉลี่ย 300-500 บาท/เดือน/ครัวเรือน และจุดตะเกียงให้แสงสว่างแทนการใช้หลอดไฟฟ้า 20-40 วัตต์ ได้ 2-4 หลอด หรือใช้ทำระบบน้ำอุ่น-น้ำร้อน ในบ้าน หากมีมากก็ใช้ปั่นไฟฟ้าได้ สำหรับ บ่อแก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? ที่กองอาหารสัตว์ได้เผยแพร่ส่งเสริมนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำบ่อแก๊ส ชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยมีข้อเด่นที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำเพียงบ่อละ 3,500-5,000 บาท เท่านั้น โดยองค์ประกอบที่สำคัญของบ่อแก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? ประกอบด้วย 1. บ่อเติมมูลสัตว์ 2. ท่อ พีวีซี 4 นิ้ว 3. ถุงแก๊สชีวภาพ (พลาสติค พีวีซี) 4. ท่อล้น 5. บ่อล้น 6. จุดเชื่อมต่อท่อแก๊ส 7. สาย/ท่อส่งแก๊ส 8. ชุดดักไอน้ำวาล์วนิรภัย 9. ชุดท่อวนแก๊ส 10. ท่อแก๊ส พีอี 11. วาล์วปิด/เปิดแก๊ส 12. ท่อแก๊สเหล็กสีดำ และ 13. หัวแก๊ส สำหรับขั้นตอนการติดตั้งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ 1. การเตรียมถุงผลิตแก๊ส 1.1 นำพลาสติค พีวีซี หนา 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 1.8 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 3 แผ่น ทากาวอีแว้ปด้านยาวต่อกันเป็นผืนแล้วทาต่อกัน เป็นถุงทรงกระบอก 1.2 นำท่อ พีวีซี 4 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร 1 อัน มาใส่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนให้ลึกเข้าไปในถุงแก๊ส 1.3 เจาะถุงแก๊สระหว่างรอยทากาวเพื่อใส่ชุดท่อส่งแก๊ส 1.4 นำชุดท่อส่งแก๊สมาประกอบเข้ากับรูที่เจาะไว้ โดยใช้ท่อ พีวีซี ขนาด 4 หุน และ 6 หุน ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร อย่างละ 1 อัน ข้อลด 6 หุน ลด 4 หุน 1 ตัว และเกลียวนอก-ใน พีวีซี 6 หุน จำนวน 1 ชุด ทากาวประกอบกัน 1.5 นำท่อ พีวีซี 4 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร อีก 1 อัน มาใส่ปลายถุงแก๊ส ทำเช่นเดียวกับ ข้อ 1.2 2. การเตรียมชุดท่อกับดักไอน้ำ 2.1 ตัดท่อ พีอี ขนาด 6 หุน ยาวประมาณ 15-20 เมตร 1 เส้น และ 50-60 เซนติเมตร 2 เส้น เพื่อเป็นท่อส่งแก๊สต่อเข้ากับชุดหัวแก๊ส 2.2 การประกอบชุดระบบวนแก๊ส นำท่อ พีวีซี ขนาด 4 หุน ตัดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร 4 อัน ประมาณ 5 เซนติเมตร 3 อัน และ 20 เซนติเมตร 3 อัน ข้องอ 4 หุน 4 ตัว, สามทาง 4 หุน 3 ตัว และ 4 หุน 2 ตัวนำอุปกรณ์ทั้งหมดมาทากาว ประกอบกันเป็นชุดระบบวนแก๊ส 2.3 เชื่อมหัวแก๊สกับท่อเหล็กสีดำ ขนาด 4 หุน ตัดยาว 50 เซนติเมตร 2 ท่อน โดยทำมุม 90 องศา กับหัวแก๊ส 2.4 ชุดระบบนิรภัย ใช้ขวดน้ำดื่ม ขนาด 0.6 ลิตร เจาะรูตรงกลางขวดสำหรับเติมน้ำ สวมท่อ พีอี ที่ต่อกับท่อส่งแก๊สแล้วจุ่มปลายท่อให้อยู่ใต้ระดับผิวน้ำ 1-2 เซนติเมตร 3. การขุดหลุมและติดตั้งถุงแก๊ส 3.1 ขุดหลุมกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 80 เซนติเมตร 3.2 เติมลมหรือควันเสียรถยนต์ในถุงแก๊สให้พองขึ้น แล้วปิดท่อทางออกทุกด้าน 3.3 ยกถุงแก๊สมาจัดวางในหลุมที่เตรียมไว้ให้พอดี 3.4 ตรวจสอบให้ระดับของบ่อเติมสูงกว่าท่อล้น 10-15 เซนติเมตร 3.5 เทปูนซีเมนต์ยึดท่อ พีวีซี ทั้งท่อเข้าและท่อล้นให้แน่นหนา แข็งแรงเพียงพอ 3.6 เติมน้ำเข้าถุงแก๊สผ่านทางท่อแก๊สให้น้ำท่วมปลายท่อทั้ง 2 ด้าน เล็กน้อย 3.7 รอให้ปูนแห้ง แล้วเริ่มเติมมูลสัตว์ได้ 4. การเติมมูลสัตว์และการใช้แก๊ส 4.1 นำมูลสัตว์สดมาเทลงในวงบ่อทางเข้าเอามูลสัตว์ส่วนหนึ่งปิดปากท่อก่อน แล้วละเลงมูลสัตว์ด้วยน้ำในส่วนที่เหลือ ให้มีลักษณะเหลว แล้วใช้ไม้เปิดปากท่อที่อุดไว้ แล้วไล่มูลสัตว์ให้ลงไปในถุงแก๊สให้หมด เติมทุกวันหรือวันเว้นวันจนกว่าจะมีแก๊สมากเพียงพอสามารถติดไฟได้ 4.2 การใช้แก๊ส เมื่อเติมมูลสัตว์ได้ประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มทดลองจุดไฟ ให้หมั่นเปิดวาล์วเพื่อระบายแก๊สในถุงออก เริ่มทดลองจุดด้วยเปลวไฟ สังเกตถ้าจุดติดแล้วดับ แสดงว่ามีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ปนอยู่ ควรเปิดวาล์วไล่ออกที่ละน้อยจนกว่าเปลวไฟไม่ดับ แต่ทั้งนี้หากพบว่าเกิดปัญหา เช่น กรณี มีรูรั่วจากวัตถุแหลมคมทิ่มตำ ให้ใช้กาวอีแว้ปทาและปิดรูรั่วด้วยพลาสติค พีวีซี ควรติดตั้งในที่โล่งแจ้ง ไม่มีกิ่งไม้ที่อาจหล่นมาใส่ถุงแก๊สทำให้รั่วได้ ดูแลระดับน้ำในขวดดักไอน้ำให้อยู่เหนือปลายท่อแก๊ส 1-2 เซนติเมตร เสมอ บ่อ แก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? นับเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างพลังงานทดแทนเองขึ้นใน ฟาร์มได้ ซึ่งหากสนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ทุกแห่งที่อยู่ใกล้บ้าน นอก จากเรื่องของบ่อแก๊สชีวภาพแบบ ?ถุงหมัก พีวีซี? ที่น่าสนใจของกองอาหารสัตว์แล้ว ในส่วนของงานส่งเสริมเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ ขณะนี้ทางกองอาหารสัตว์กำลังดำเนินโครงการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอด เทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ จำนวน 210 หมู่ ขึ้นทั่วประเทศ โดย นายสัตวแพทย์ธนิตย์ั้เอนกวิทย์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ในปี 2554 นี้ กองอาหารสัตว์ ได้ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ จำนวน 210 หมู่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนด้านอาหารสัตว์ของเกษตรกร เนื่องจาก ข้อมูล ปี 2552 ประเทศไทยมีโคนมและโคเนื้ออยู่ 9,079,327 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 1,387,555 ครัวเรือน ซึ่งจำเป็นต้องใช้พืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์เป็นปริมาณมาก แต่จากการตรวจสอบพื้นที่การเลี้ยงสัตว์กลับพบว่า พื้นที่ปลูกแปลงพืชอาหารสัตว์มีน้อยลง ด้วยเหตุจากเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นมากขึ้น ทำให้พืชอาหารสัตว์ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงสัตว์ จนเกิดปัญหาขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารหยาบที่จำเป็นสำหรับโคนมและโคเนื้อ? รองอธิบดีกรมปศุ สัตว์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เกษตรกรยังเปลี่ยนไปใช้อาหารข้นทำให้มีต้นทุนการผลิตสัตว์สูงขึ้น เป็นปัญหาที่สำคัญต่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อของประเทศไทยั้ ดัง นั้น กรมปศุสัตว์ จึงเห็นว่าการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ด้วยการจัดตั้งเป็นหน่วยงานย่อย จากกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการปศุสัตว์ ด้านอาหารสัตว์ โดยมีเป้าหมายคือ หมู่บ้านที่เกษตรกรมีอาชีพการเลี้ยงโคนม และโคเนื้อจำนวนมาก ให้มีความรู้ด้านการจัดการอาหารสัตว์ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต มีแนวทางการดำเนินการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานด้านอาหารสัตว์ของกรมปศุ สัตว์ เช่น กองอาหารสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ปศุสัตว์จังหวัด หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีฯ ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ จะได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการอาหารสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาหารสัตว์ของเกษตรกร? ซึ่งทั้งหมดนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาวิจัยในศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร สัตว์/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์และหน่วยงานอื่นๆ นำมาประยุกต์ใช้และปรับให้เหมาะสมกับการจัดการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาด้านอาหารสัตว์ ตลอดจนเป็นความมั่นคงทางอาหารสัตว์ (Feed Security) ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต่อไปั้ ทั้งนี้ การส่งเสริมการจัดตั้งหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ ประจำอำเภอ ใน 70 จังหวัด ในจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ เป็นจำนวนมาก (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) รวมจำนวนหมู่บ้านหลักถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ทั้งสิ้น 210 หมู่บ้าน ใน 210 อำเภอ มีการอบรมให้เกษตรกร 2,100 ราย และ จะมีการจัดตั้งให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งคาดว่า จากการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถพัฒนาแปลงพืชอาหารสัตว์ให้มี ประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ได้? รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด ปริมาณแก๊สชีวภาพที่ผลิตได้จากมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ชนิดปศุสัตว์ เป็ด ไก่ 100 ตัว มูลสัตว์ 75 กิโลกรัม 0.28 ลูกบาศก์ฟุต แก๊สที่ผลิตได้ 15-18 ลูกบาศก์ฟุต สุกร 3-8 เดือน มูลสัตว์ 11-15 กิโลกรัม 0.40-0.55 ลูกบาศก์ฟุต แก๊สที่ผลิตได้ 22-37 ลูกบาศก์ฟุต โค กระบือ มูลสัตว์ 14-15 กิโลกรัม 0.52- 0.55ลูกบาศก์ฟุต แก๊สที่ผลิตได้ 14-17 ลูกบาศก์ฟุต
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM